ผลการปรึกษาทฤษฎีเล่าเรื่องต่อการแสดงออกทางอารมณ์ของวัยรุ่นชายที่มาจากครอบครัวแม่เลี้ยงเดี่ยว
Main Article Content
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการปรึกษารายบุคคลด้วยทฤษฎีเล่าเรื่องต่อการแสดงออกทาง อารมณ์ของวัยรุ่นที่มาจากครอบครัวแม่เลี้ยงเดี่ยว กลุ่มตัวอย่างเป็น นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ปีการศึกษา 2556 วิทยาลัยเทคโนโลยีไออาร์พีซี ที่มีคะแนนจากแบบวัดการแสดงออกทางอารมณ์ต่ำที่สุดขึ้นไป 20 คน โดยประเมินจากแบบวัดการแสดงออกทางอารมณ์ แบ่งกลุ่มด้วยการจับคู่คะแนนเข้ากลุ่มทดลอง 10 คน และกลุ่มควบคุม 10 คน โดยที่กลุ่มทดลองจะได้รับการปรึกษารายบุคคลทฤษฎีเล่าเรื่อง จำนวน 8 ครั้ง สัปดาห์ละ 2 ครั้ง ครั้งละ 45–60 นาที เป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์ ส่วนกลุ่มควบคุมไม่ได้รับการปรึกษา กลุ่มตัวอย่างจะได้รับ การวัดการแสดงออกทางอารมณ์ 3 ระยะ ได้แก่ ในระยะก่อนการทดลอง ระยะหลังการทดลอง และระยะติดตาม ผลการทดลอง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดประเภทหนึ่งตัวแปรระหว่างกลุ่มและหนึ่ง ตัวแปรภายในกลุ่ม
ผลการวิจัยปรากฏว่า วัยรุ่นชายที่มาจากครอบครัวแม่เลี้ยงเดี่ยว ที่ได้รับการปรึกษาด้วยทฤษฎีเล่าเรื่อง มีการแสดงออกทางอารมณ์เหมาะสมกว่าวัยรุ่นชายที่มาจากครอบครัวแม่เลี้ยงเดี่ยวที่ไม่ได้รับการปรึกษาด้วย ทฤษฎีเล่าเรื่อง และภายหลังจากการได้รับการปรึกษาแล้ว (3 สัปดาห์) นั้น พบว่า วัยรุ่นชายยังคงมีการแสดงออก ทางอารมณ์ที่เหมาะสมอย่างต่อเนื่อง
The Effects of Narrative Counseling Theory on Emotional Expression of Male Adolescents from Single Mother Families
Chaninat Wattana and Pennapha Koolnaphadol
Faculty of Education, Burapha University, Thailand
The purposes of this research were to study the effects of narrative counseling theory on emotional expression of male adolescents from single mother families. The sample used in this research were adolescents of Vocational Certificate IRPC Technological College who had emotional expression scores are lowest 20 cases and matched-pair score into two groups of ten; experimental group and controlled group. The experimental group received 8 sessions of counseling 45 to 60 minutes twice a week for 4 weeks while the controlled group did not. The data collection was divided into three phrases; pre-test, post-test and follow up. The data were analyzed by repeated measures analysis of variance: one between–subjects variable and one within–subjects variable.
The results revealed that male adolescents from single mother families who had been consulted with narrative theory express more appropriate emotion than male adolescents from single mother families who had not been consulted with narrative theory. After receiving counseling (3 weeks), male adolescents express the appropriate emotion continually.