ผลการปรึกษากลุ่มทฤษฎีปัญญานิยมต่อการติดการใช้งานเฟซบุ๊ก ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย

Main Article Content

กุลวดี ตนะทิพย์
เพ็ญนภา กุลนภาดล

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการปรึกษากลุ่มทฤษฎีปัญญานิยมต่อการติดการใช้งานเฟซบุ๊ก ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย จํานวน 10 คน ที่มีคะแนน การติดการใช้งานเฟซบุ๊กสูงกว่าเปอร์เซ็นต์ไทล์ที่ 75 ขึ้นไป และสมัครใจเข้าร่วมการทดลอง โดยประเมินจากแบบ วัดการติดการใช้งานเฟซบุ๊กที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่างได้รับการปรึกษากลุ่มทฤษฎีปัญญานิยมที่ผู้วิจัยพัฒนา ขึ้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบวัดการติดการใช้งานเฟซบุ๊ก และโปรแกรมการให้การปรึกษากลุ่มทฤษฎี ปัญญานิยม จํานวน 12 ครั้ง ครั้งละ 50-90 นาทีสัปดาห์ละ 2 ครั้ง ผู้วิจัยประเมินการติดการใช้งานเฟซบุ๊กในระยะ ก่อนการทดลอง ระยะหลังการทดลอง และระยะติดตามผลการทดลอง

ผลการวิจัย ปรากฏว่า นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายที่ได้รับการปรึกษากลุ่มทฤษฎีปัญญานิยม มีการ ติดการใช้งานเฟซบุ๊กในระยะหลังการทดลองน้อยกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายที่ได้รับการปรึกษากลุ่มทฤษฎีปัญญานิยม มีการติดการใช้งาน เฟซบุ๊กในระยะติดตาม ผลน้อยกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05

 

The Effects of Cognitive Therapy to Facebook System Stickiness of High School Students

Goonlawadee Tanathip and Pennapha Kulnapadol

Faculty of Education, Burapha University, Thailand

The purposes of this research were to study the effects of Cognitive Group Therapy to Facebook system stickiness of high- school students. The sample was the high- school students who had Facebook system stickiness scores upper than 75 percentile, who willing to participate this research project. The research instruments were Facebook system stickiness scale and group counseling program based on Cognitive Group Therapy, which were designed by the researcher. The experimental group received 12 sessions of counseling for six weeks, 50-90 minutes per time, twice a week. The data collection was divided into three phrases; pretest, posttest and follow-up.

The research results shown that the Facebook system stickiness of high- school students who received counseling based on Cognitive Group Therapy in posttest phase was lower than the pretest phase, statistically significant difference at .05 level. Moreover, the Facebook system stickiness of high- school students who received counseling based on Cognitive Group Therapy in follow- up phase was lower than the pretest phase, statistically significant difference at .05 level.

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Articles)