การประยุกต์การพิมพ์ภาษาไทยด้วยระบบลูกผสมคลื่นไฟฟ้าสมองและระบบติดตาม ดวงตา สำหรับผู้พิการทางการเคลื่อนไหว
Main Article Content
Abstract
การประยุกต์การพิมพ์ภาษาไทยด้วยระบบลูกผสมคลื่นไฟฟ้าสมองและระบบติดตามดวงตา สำหรับผู้พิการ
ทางการเคลื่อนไหว มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกทางด้านการสื่อสารที่ออกแบบขื้น
สำหรับผู้พิการทางการเคลื่อนไหวหรือผู้ป่วยที่เป็นอัมพาต ไม่สามารถเคลื่อนไหวมือ แขน หรือขา ยกเว้นสมองและ
ดวงตายังคงสามารถทำางานได้เป็นปกติ
ระบบการทำงานหลักประกอบด้วยกล้องถ่ายภาพเคลื่อนไหว และเครื่องบันทึกสัญญาณคลื่นไฟฟ้าสมอง กล้อง
ถ่ายภาพเคลื่อนไหวทำหน้าที่ถ่ายภาพเคลื่อนไหวของดวงตาและส่งต่อไปยังคอมพิวเตอร์เพื่อทำหน้าที่ประมวลผล
ทิศทางการเคลื่อนไหวของดวงตาและแปลผลไปควบคุมทิศทางการเคลื่อนที่ของเมาส์ และเครื่องบันทึกสัญญาณ
คลื่นไฟฟ้าสมองทำหน้าที่บันทึกคลื่นไฟฟ้าสมองและแปลผลไปจำลองการกดปุ่มซ้ายของเมาส์
ระบบติดตามดวงตาที่พัฒนาขึ้นในงานวิจัยนี้มุ่งเน้นไปที่วิธีการใช้กล้องถ่ายภาพเคลื่อนไหวและระบบการสื่อสาร
ระหว่างสมองกับคอมพิวเตอร์ การออกแบบเครื่องต้นแบบและโปรแกรมการพิมพ์ให้สามารถใช้งานง่ายผ่านทาง
สัญลักษณ์หรือภาพ (Graphic user interface) ผ่านแป้นพิมพ์บนจอภาพสำหรับผู้พิการทางการเคลื่อนไหว
ผลการทดสอบปรากฏว่า อาสาสมัครผู้พิการทางการเคลื่อนไหวจำนวน 4 คน มีค่าเฉลี่ยการพิมพ์ (CPM) เท่ากับ
10.09 อักษรต่อนาที อัตราความผิดพลาดในการพิมพ์เฉลี่ยร้อยละ 9.02
ความพึงพอใจในการนำฮาร์ดแวร์และซอร์ฟแวร์ ระบบการสื่อสารระหว่างสมองกับคอมพิวเตอร์ และระบบ
ติดตามดวงตาไปใช้ในการพิมพ์ภาษาไทย สำหรับผู้พิการทางการเคลื่อนไหวปรากฏว่า ความพึงพอใจเฉลี่ยอยู่ใน
ระดับปานกลางถึงมาก
Article Details
References
Cardwell, M. S. (2013). Locked-in syndrome. Texas medicine, 109(2), 213-230.
D’albis, T., Blatt, R., Tedesco, R., Sbattella, L., & Matteucci, M. (2012). A predictive speller controlled by a brain-computer interface based on motor imagery. ACM Trans. Comput.-Hum. Interact., 19(3), 1-25.
Drewes, H. (2010). Eye gaze tracking for human computer interaction. lmu.
Edmonds, W. A., & Kennedy, T. D. (2012). An applied reference guide to research designs: Quantitative, qualitative, and mixed methods: Sage.
Fok, S., Schwartz, R., Wronkiewicz, M., Holmes, C., Zhang, J., Somers, T., & Leuthardt, E. (2011). An EEG-based brain computer interface for rehabilitation and restoration of hand control following stroke using
ipsilateral cortical physiology. Conf Proc IEEE Eng Med Biol Soc, 2011, 6277-6280.
Gneo, M., Severini, G., Conforto, S., Schmid, M., & D’Alessio, T. (2011). Towards a brain-activated and eye-controlled wheel chair. Int. J. Bioeletromagn, 13, 44-45.
ISO 9241-9. (ISO.2000). Ergonomic requirements for office work with visual display terminals (VDTs)-Part 9: Requirements for non-keyboard input devices (FDIS-Final Draft International Standard), สืบค้น
เมื่อ 20 ธันวาคม 2557 จาก http://www.iso.org/iso/catalogue_detail.htm?csnumber=30030
Pannasch, S., Helmert, J. R., Malischke, S., Storch, A., & Velichkovsky, B. M. (2008). Eye typing in application: a comparison of two systems with ALS patients. J. Eye Mov. Res, 2, 1-8.
McFarland, D. J., & Wolpaw, J. R. (2011). Brain-computer interfaces for communication and control. Communications of the ACM, 54(5), 60-66.