ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพของวัยรุ่นในเขตพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลเมืองชลบุรี

Main Article Content

สรวงทิพย์ ภู่กฤษณา
กัญญาวีณ์ โมกขาว
สุริยา ฟองเกิด

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพของวัยรุ่นในเขตพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลเมืองชลบุรี โดยการใช้กระบวนการวิจัยสำรวจ ภายใต้แนวคิดทฤษฎีแบบจำลองการส่งเสริมสุขภาพของเพนเดอร์ กลุ่มตัวอย่างเป็นวัยรุ่น จำนวน 145 คน ใช้วิธีการกำหนดกลุ่มตัวอย่างของเครจซี่ และมอร์แกน และเลือกตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น
วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ

ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า ปัจจัยด้านการรับรู้ประโยชน์ของการปฏิบัติพฤติกรรม (PBOA) ปัจจัยด้านการได้รับข้อมูลข่าวสารจากแหล่งต่าง ๆ (OIV) และปัจจัยด้านการได้รับคำแนะนำจากบุคคลอื่น (PSS) ร่วมกันทำนายพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพของวัยรุ่นในเขตพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลเมืองชลบุรี ได้ร้อยละ 37 (R2=.37) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ตัวแปรที่ทำนายได้สูงสุด (b) คือ ปัจจัยด้านการได้รับคำแนะนำจากบุคคลอื่น (PSS) รองลงมาคือ ปัจจัยด้านการรับรู้ประโยชน์ของการปฏิบัติพฤติกรรม (PBOA) และสุดท้ายคือ ปัจจัยด้านการได้รับข้อมูลข่าวสารจากแหล่งต่าง ๆ (OIV)

 

This research aims to study the factors influencing to the adolescents’ health promoting behavior in the area of responsibility of Mueang Chon Buri hospital. Survey research method was used under the concept of Pender’s health promotion model. The 145 adolescents were defined sample size from Krejcie and Morgan’s sample size table and selected by simple random sampling method. The research questionnaire was created by researcher. Data analysis were using frequency, percentage, mean, standard deviation, Pearson correlation, and multiple regression analysis.

The research results were found that factors of perceived benefits of action (PBOA), the factor of obtaining information from various source (OIV), and the factor perception of suggested by someone else (PSS) could predict health promoting behavior of adolescents at 37.00% (R2=.370) significantly statistical level .05. The factor perception of suggested by someone else (PSS) was a maximum prediction variable. The moderate predicting factor was the perceived benefits of action (PBOA) and the minimum predicting factor was the factor of obtaining information from various source (OIV).

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Articles)

References

กมลชนก ทองเอียด. (2548). พฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพและปัจจัยบางประการในผู้ถูกควบคุมชาย ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนภาคใต้. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษา

ศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สงขลา.

กมลภู ถนอมสัตย์ และ รัชนี สรรเสริญ. (2554). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการสูบบุหรี่ในระยะเริ่มต้นของนักเรียนชายชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตราด. วารสารการพยาบาลและการศึกษา, 4(3), 38-47.

จรรยา เศรษฐพงษ์ เกียรติกำจร กุศล สายฝน เอกวรางกูล และปิยธิดา จุลเปีย. (2553). พฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพของวัยรุ่นในจังหวัดนครศรีธรรมราช.วารสารการพยาบาลและ

การศึกษา, 3(3), 51-63.

ชื่นจิตต์ ก๋อยสุวรรณ. (2549). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของนักเรียนโรงเรียนสตรีวัดระฆัง กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ชลลดา ไชยกุลวัฒนา. (2549). พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของนักศึกษาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชธานี: รายงานวิจัยวิทยาลัยเทคโนโลยีราชธานี, อุบลราชธานี.

โรงพยาบาลเมืองชลบุรี. (2557). สรุปรายงานประจำาปี 2557.เอกสารอัดสำเนา. โรงพยาบาลชลบุรี, ชลบุรี.

สกุณา บุญนรากร. (2555). การสร้างเสริมสุขภาพแบบองค์รวมทุกช่วงวัย. พิมพ์ครั้งที่ 4. สงขลา: เทมการพิมพ์.

สุปราณี จุลเดชะ. (2552). พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของนิสิตที่เรียนวิชา พล.101 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สุริยา ฟองเกิด และลักษณา พงษ์ภุมมา. (2558). พฤติกรรมสุขภาพของวัยรุ่นในเขตพื้นที่บริการของโรงพยาบาลเมืองชลบุรี. รายงานวิจัย วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ชลบุรี, ชลบุรี.

สุรีรัตน์ รงเรื่อง และสมเกียรติ สุขนันตพงศ์. (2554). พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของนักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลา นครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. วารสารพฤติกรรมศาสตร์, 17(1), 109-123.

สมสมัย สุธีรศานต์ และวัชรีย์ จงไพบูลย์พัฒนะ. (2554). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพของพยาบาลวิชาชีพ ฝ่ายบริการพยาบาล โรงพยาบาลมหาวิทยาลัย

ของรัฐ. วารสารพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 23(1), 91-107.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2555). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและ สังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 พ.ศ 2555-2559. วันที่ค้น ข้อมูล 1 มีนาคม 2558, เข้าถึงได้จาก http://www.nesdb.go.th/ Default.axpx? tabid395

อริยา ทองกร. (2550). การศึกษาตัวแปรที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพจากการสังเคราะห์งานวิจัยโดยวิธีการวิเคราะห์อภิมาน. ปริญญานิพนธ์วิทยาศาสตร

มหาบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์. กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

อรุณรัตน์ สารวิโรจน์ และ กานดา จันทร์แย้ม. (2557). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของนักศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่. วารสาร

เกษตรศาสตร์ (สังคม), 35(1), 223 – 234.

Becker, M. H., Maiman, L. A., Kirscht, J. P., Haefner, D. P., & Drachman, R. H. (1977). The Health Belief Model and prediction of dietary compliance: a field experiment. Journal of Health and Social

Behavior, 348-366.

Green, L. W., & Kreuter, M. W. (1991). Health promotion planning: An education and environmental approach. Toronto: Mayfield Publishing Company.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Journal of Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Pender, N. J. (1987). Health Promoting in Nursing Practice. Connecticut: Appleton & Lang.

Pender, N. J., Murdaugh, C. L., & Parsons, M. A. (2002).

Health promotion in nursing practice (4th ed.). New Jersey: Pearson Education.

Pender, N. J., Murdaugh, C. L., & Parsons, M. A. (2006). Health promotion in nursing practice(6th ed.). Boston: Pearson.