การศึกษารูปแบบการเรียนรู้ภาษาอังกฤษของนักศึกษามหาวิทยาลัยไทย: การวิจัยแบบผสมผสานวิธีการ A Study of English Language Learning Styles of Thai Undergraduates: A Mixed Method Research

Main Article Content

อาทิตย์ อินต๊ะแก้ว
องอาจ นัยพัฒน์
อัญชลี จันทร์เสม

Abstract

              การวิจัยแบบผสมผสานวิธีการประเภท Exploratory Sequential Design นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ        ทำความเข้าใจรูปแบบการเรียนรู้ภาษาอังกฤษของนักศึกษามหาวิทยาลัยไทย วิเคราะห์โครงสร้างรูปแบบการเรียนรู้ภาษาอังกฤษของนักศึกษา พัฒนาแบบวัดรูปแบบการเรียนรู้ภาษาอังกฤษของนักศึกษา ทำการสอนภาษาอังกฤษด้วยวิธีการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร โดยวัดรูปแบบการเรียนรู้ภาษาอังกฤษของนักศึกษากลุ่มตัวอย่างทั้งก่อน หลังและเมื่อไม่ได้รับการสอนเป็นเวลา 1 เดือน เพื่อศึกษาการปรับเปลี่ยนและความคงทนของรูปแบบการเรียนรู้ภาษาอังกฤษของนักศึกษากลุ่มทดลอง ผลการศึกษาปรากฏว่า

              1. นักศึกษากลุ่มตัวอย่างมีรูปแบบการเรียนรู้ภาษาอังกฤษที่เป็นลักษณะเฉพาะ 2 รูปแบบ ได้แก่ รูปแบบการเรียนรู้ภาษาอังกฤษแบบวิเคราะห์ไวยากรณ์ และรูปแบบการเรียนรู้ภาษาอังกฤษผ่านสิ่งที่เป็นรูปธรรม

              2. โครงสร้างองค์ประกอบของรูปแบบการเรียนรู้ภาษาอังกฤษของนักศึกษามหาวิทยาลัยประกอบด้วย   2 โครงสร้างหรือ 2 รูปแบบการเรียนรู้ โดยมีความแปรปรวนรวมเท่ากับร้อยละ 51.80 แบบวัดรูปแบบการเรียนรู้ภาษาอังกฤษของนักศึกษามีค่าความเชื่อมั่นด้านมิติการวัดรูปแบบการเรียนรู้ภาษาอังกฤษแบบวิเคราะห์ไวยากรณ์เท่ากับ 0.96 และมิติด้านรูปแบบการเรียนรู้ภาษาอังกฤษผ่านสิ่งที่เป็นรูปธรรมเท่ากับ 0.82 โดยมีค่าความเชื่อมั่นของแบบวัดทั้งฉบับเท่ากับ 0.95 ซึ่งเป็นแบบวัดรูปแบบการเรียนรู้ภาษาอังกฤษของนักศึกษาที่มีค่าความเชื่อมั่นสูง และโมเดลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่หนึ่งของรูปแบบการเรียนรู้ภาษาอังกฤษมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (c2= 166.30, df = 171, p = 0.58, RMSEA = 0.00)

              3. นักศึกษามหาวิทยาลัยกลุ่มทดลองจำนวน 17 คน มีค่าเฉลี่ยส่วนใหญ่ของรูปแบบการเรียนรู้ภาษาอังกฤษแบบวิเคราะห์ไวยากรณ์ก่อนเรียนและสามารถปรับเปลี่ยนไปสู่รูปแบบการเรียนรู้ภาษาอังกฤษผ่านสิ่งที่เป็นรูปธรรมได้หลังเรียน แต่เมื่อไม่ได้รับการจัดการเรียนการสอนเป็นเวลา 1 เดือนพบว่า นักศึกษาส่วนใหญ่กลับแปรเปลี่ยนรูปแบบการเรียนรู้ภาษาอังกฤษของตนเองไปสู่รูปแบบเดิมคือ รูปแบบการเรียนรู้ภาษาอังกฤษแบบวิเคราะห์ไวยากรณ์

            This mixed method research aimed to study English language learning styles of Thai undergraduate students, to explore the constructs of English Language Learning Styles, to develop an English Language Learning Styles Questionnaire (ELLSQ), and to study the change and retention of English language learning styles of Thai undergraduate students.

            The results were as follows:

1. There were two English language learning styles of Thai undergraduate students: Grammar- Based English Learning Style and Concrete English Learning Style.

2. There were two constructs of English Language Learning Styles. The total variance explained of English learning style constructs was 51.80 %. In term of the development of English Language Learning Styles Questionnaire (ELLSQ), the reliabilities of Grammar-Based English Learning Style and Concrete English Learning Style constructs were 0.96 and 0.82 respectively. The reliability of an overall ELLSQ was 0.95. The measurement model was valid and well fitted to empirical data (c2 = 166.30, df = 171, p = .58, RMSEA = 0.00).

3. Before conducting an experiment, 17 undergraduate students had a greater average mean score of the Grammar - Based English Learning Style, but they were able to change their English learning styles into the Concrete English Learning Style after an experiment. Without getting a treatment for a month, they changed their Concrete English Learning Styles to the Grammar - Based English Learning Style again.

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Articles)

References

กนกพร ศรีญาณลักษณ์. (2551). รูปแบบการเรียนภาษาจีนของนิสิตคณะมนุษยศาสตร์

และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัย

บูรพา, 19(3), 15-26.

คู่บุญ ศกุนตนาค. (2552). ผลของความสอดคล้องระหว่างแบบการเรียนกับแบบการสอน

ที่มีต่อความสุขในการเรียนรู้ของนักเรียน. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต

บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จินตนา เดชะประทุมวัน. (2548). การสอนอ่านที่ยึดรูปแบบการเรียนรู้ของนักเรียนเพื่อ

เพิ่มพูนความเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษและเจตคติต่อการอ่านของนักเรียน

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

เฉลิมลาภ ทองอาจ. (2555). ก้าวสู่ประชาคมอาเซียน: การจัดการศึกษาบนบริบทแห่ง

ความท้าทาย.วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 14(3), 107-118.

ทิศนา แขมมณี. (2551). ลีลาการเรียนรู้-ลีลาการสอน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่ง

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วรพงศ์ ไชยฤกษ์. (2549). ลักษณะการเรียนรู้และกลวิธีการเรียนรู้ของชาวต่างประเทศที่

เรียนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต

บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21 . กรุงเทพฯ:

บริษัท ตถาตา พับลิเคชั่น จำกัด.

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. (2557). ออนไลน์:

http://www.niets.or.th. เข้าถึงเมื่อ 26 ตุลาคม 2557.

สยามรัฐ, หนังสือพิมพ์. ประกาศปฏิรูปการสอนภาษาอังกฤษ. หน้า 13 และ

ฉบับวันที่ 11 ธันวาคม 2557.

สุนทรพจน์ ดำรงค์พานิช และอวยพร เรืองตระกูล. (2556). อิทธิพลของสไตล์การเรียน

สังกัดของโรงเรียน และขนาดโรงเรียนที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของ

นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารวิธีวิทยาการ

วิจัย, 26(1), 21-42.

อรุณี วิริยะจิตรา และคณะ. (2555). เหลียวหน้าแลหลังการสอนภาษาอังกฤษ.

กรุงเทพฯ: บริษัท ส.เอเชียเพรส จำกัด.

อนันต์ แก้วตาติ๊บ. (2548). ปัจจัยด้านคุณลักษณะในตนเองที่ส่งผลต่อรูปแบบการเรียน

ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหา

บัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

Celce-Murcia, M. (2001). Teaching English as a Second or Foreign

Language. 3rd edition. USA: Dewey Publishing Services.

Costello, B, & Osborne, W. (2005). Best Practices in Exploratory

Factor Analysis: Four Recommendations for Getting the Most

from Your Analysis. A Peer Reviewed Electronic Journal. 10(7),

-9.

Creswell, J. & Plano Clark, V. (2011). Designing and Conducting Mixed

Methods Research. 2nd Edition. USA: SAGE Publications.

Hedge, T. (2008). Teaching and Learning in the Language Classroom.

Oxford University Press: China.

Kolb, D.A. (1976). Learning Style Inventory: Technical Manual.

Englewood Cliffs. New Jersey: Prentice Hall.

Kolb, D.A. (1984). Experiential Learning: Experience as a Source of

Learning and Development. Englewood Cliffs. New Jersey:

Prentice Hall.

Moenikia, M. & Zahed-Babelan, A. (2010). The role of learning styles

in second language learning among distance education

students. Social and Behavioral Sciences 2(2), 1169–1173

Phantharakphong, P. (2012). English learning styles of high and low

performance students of the faculty of education, Khon Kaen

University. Procedia-Social and Behavioral Sciences, 46,

-3394.

Riding, R. & Rayner, S. (1998). Cognitive Styles and learning

Strategies: Understanding Style Differences in Learning and

Behavior. London: Cromwell Press Limited.

Seidlhofer, B. (2005). English as a lingua franca. ELT Journal. Volume

/4 October 2005. Oxford University Press.

Spratt, M., Pulverness, A. & Williams, M. (2007). The TKT Teaching

Knowledge Test Course. London: Cambridge University Press.

Sternberg, R. J. (1999). Thinking styles. Cambridge University Press.

The Association of Southeast Asian Nations. (2009). ASEAN

SOCIO-CULTURAL COMMUNITY BLUEPRINT. Jakarta. ASEAN

secretariat.

Tulbure, C. (2012). Learning styles, teaching strategies and academic

achievement in higher education: A cross-sectional

investigation. Procedia-Social and Behavioral Sciences, 33,

-402.

Willing, K. (1998). Learning Styles in Adult Migrant Education.

Adelaide: National Curriculum Resource Centre.

Zhang, L., Sternberg, R., & Rayner, S. (2012) Handbook of

Intellectual Styles: Preferences in Cognition, Learning, and

Thinking. New York: Springer Publishing.