ยุทธศาสตร์การสร้างพลังชุมชนเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับพื้นที่อุตสาหกรรมใหม่ ตามแนวพื้นที่พัฒนาเศรษฐกิจตอนใต้: กรณีศึกษาชุมชนในบริเวณชายฝั่ง ทะเลภาคตะวันออก Community Empowerment Strategy to Preparation for New Industry Area according to Southern Economic C

Main Article Content

ชูวงศ์ อุบาลี
ชัยยนต์ ประดิษฐศิลป์
จำลอง แสนเสนาะ

Abstract

           การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษายุทธศาสตร์และมาตรการการเตรียมความพร้อมของชุมชนท้องถิ่น   ในการจัดการกับโครงการที่ส่งผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงทางสิ่งแวดล้อมและสุขภาพในเขต 3 จังหวัดชายทะเลภาคตะวันออก ผู้วิจัยใช้วิธีวิทยาการวิจัยเชิงคุณภาพในรูปแบบปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมของกรณีศึกษาในชุมชนพื้นที่ 3 จังหวัดชายทะเลตะวันออก ประกอบด้วย จังหวัดระยอง จันทบุรี และตราด ผลการศึกษาปรากฏว่า จากลักษณะภูมิประเทศของอ่าวไทยในเขตภาคตะวันออกจำเป็นต้องวิเคราะห์ในภาพรวมแบบภูมินิเวศของทั้งอ่าวไทย ไม่สามารถแยกการวิเคราะห์ออกเป็นชุมชนหรือจังหวัดตามการแบ่งเขตการปกครองได้ ดังนั้นยุทธศาสตร์และมาตรการในการจัดการกับโครงการอุตสาหกรรมที่ส่งผลกระทบในเขต 3 จังหวัดชายทะเลตะวันออกโดยภาพรวมสามารถสรุปได้     5 ประเด็น คือ 1) ยุทธศาสตร์การพัฒนาจากรากฐานของท้องถิ่น (Endogenous Development) 2) ยุทธศาสตร์การสร้างเครือข่ายที่เป็นทางการของภาคประชาสังคมในเขตชายฝั่งทะเลตะวันออก 3) ยุทธศาสตร์การอนุรักษ์และพัฒนาป่าชายเลนในเขตชายฝั่งทะเลตะวันออก 4) ยุทธศาสตร์ทางเลือกในการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนในเขตชายฝั่งทะเลตะวันออก และ 5) ยุทธศาสตร์การจัดการผลกระทบจากสถานการณ์ภาวะโลกร้อนในเขตชายฝั่งทะเลตะวันออก

           The purpose of the study was to examine the strategy and the measure on local community preparation in managing the projects affecting considerably to the environment and local people's health in the three provinces in the eastern seaboard of Thailand. The study was a qualitative research with a case study methodology of the three provinces in the eastern seaboard of Thailand; Rayong, Chanthaburi, and Trad. It was found that the strategies and the measures of the community in managing the negative impacts from the factories in the eastern seaboard were as follows: 1) endogenous development 2) civil society networking in the eastern seaboard  3) conservation and development of the mangrove forest in the eastern seaboard 4) community's tourism management in the eastern seaboard, and 5) management in global warming impacts in the eastern seaboard.

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Articles)

References

ชัยยนต์ ประดิษฐศิลป์ และคณะ. (2550). รายงานสถานการณ์มลพิษในเขตมาบตาพุดและ

ศักยภาพในการป้องกันและแก้ไขปัญหา. สนับสนุนโดยกองทุนสร้างเสริมสุขภาพ.

ชัยยนต์ ประดิษฐศิลป์. (2555). วิธีวิทยาการวิจัยทางสังคม. โครงการผลิตตำราและเอกสาร

ประกอบการสอนสาขารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฎรำไพ

พรรณี.

ชัยยนต์ ประดิษฐศิลป์ และชัยณรงค์ เครือนวน. (2555). โครงการวิจัยปฏิบัติการเพื่อการขับ

เคลื่อนนโยบายสาธารณะเรื่องความไม่เป็นธรรมทางด้านสุขภาพกับการปฏิรูประบบ

ทุนนิยม: กรณีศึกษาโครงการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมเหล็ก จังหวัดจันทบุรี. การวิจัย

ภายใต้การสนับสนุนจากสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปรีชา เปี่ยมพงศ์สานต์ และคณะ. (2556). เศรษฐกิจสีเขียวของชุมชนภายใต้การ

เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ: กรณีศึกษาชุมชนในพื้นที่ภาคตะวันออก. การวิจัยภาย

ใต้การสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.