ปัจจัยแรงจูงใจที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของบุคลากรในเทศบาลนครอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรในเทศบาลนครอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี 2) เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการทำงานของบุคลากรในเทศบาลนครอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี และ 3) เพื่อศึกษาระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของบุคลากรในเทศบาลนครอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี ประชากร คือบุคลากรของเทศบาลนครอุดรธานี จำนวน 1,277 คน กลุ่มตัวอย่าง ใช้สูตรคำนวณของ Krejcie & Morgan ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 295 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน คือ การวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1) แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรในเทศบาลนครอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี ด้านปัจจัยจูงใจ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.71 เรียงลำดับจากมากไปน้อย ดังนี้ ด้านความรับผิดชอบ ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.83 ด้านลักษณะงานที่ปฏิบัติ ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.78 ด้านการได้รับการยอมรับนับถือ ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.70 ด้านความสำเร็จในการทำงาน ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.63 และด้านความก้าวหน้าในอาชีพ ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.62 และผลการศึกษาแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรในเทศบาลนครอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี ด้านปัจจัยค้ำจุน โดยรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.02 เรียงลำดับจากมากไปน้อย ดังนี้ ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในหน่วยงาน ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.79 ด้านความมั่นคงในการปฏิบัติงาน ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.72 ด้านเงินเดือนและค่าจ้าง ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.05 ด้านสภาพแวดล้อมในการทำงาน ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.00 ด้านนโยบายและการบริหารงาน ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.54 2) ประสิทธิผลของการทำงานของบุคลากรในเทศบาลนครอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.73 เรียงลำดับจากมากไปน้อย ดังนี้ ทัศนคติของบุคคล ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.79 ผลิตภาพของแต่ละบุคคล ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.79 ผลการปฏิบัติงาน ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.73 ความเครียด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.73 การตั้งใจจะลาออก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.05 และ การขาดงาน ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.01 และ 3) ระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานมีอิทธิพลมากต่อประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของบุคลากรในเทศบาลนครอุดรธานี จังหวัดอุดรธานีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
โกวิทย์ พวงงาม และ คณะ. (2553). รายงานการประเมินโครงการคัดเลือกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีการบริหารจัดการที่ดีเพื่อรับเงินรางวัลประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2554. กรุงเทพฯ : จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์.
จุฑามาศ อ้วนแก้ว, บุญญาพร แก้วยม และ บุญลดา คณาเวชกิจ. (2564). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานกรณีศึกษา พนักงานบริษัทโมเดริ์นเทรดในจังหวัดพิษณุโลก. วารสารวิทยาการจัดการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม. 3(2), 26-39.
ณรงค์เดช โกรัตนะ. (2563). ปัจจัยแรงจูงใจที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของบุคลากรในเทศบาลเมืองจังหวัดชลบุรี. วารสารรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. 3(2), 78-88.
เทศบาลนครอุดรธานี. (2565). แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2566-2570). สำนักงานเทศบาลนครอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี.
ธานินท์ ศิลป์จารุ. (2557). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSSและAMOS. (พิมพ์ครั้งที่ 15). กรุงเทพฯ:บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.
นิรมล พวงมาลัย และ ปิยะรัตน์ จันทรยุคล. (2564). แรงจูงใจภายในและภายนอกที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพในการทำงานแบบ Remote Working ในช่วงการระบาดของ COVID-19. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. 13(2), 96-118.
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: สุรีวิยาสาสน์.
พีรพงศ์ กนกเลิศวงศ์ และ ธนสุวิทย์ ทับหิรัญรักษ์. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อการบริหารปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดนนทบุรี.วารสารวิชาการ มจร. บุรีรัมย์. 5(1), 109-121.
เพ็ญพักตร์ สว่าง, ชาญเดช เจริญวิริยะกุล และ สุดาวรรณ สมใจ. (2565). ประสิทธิผลในการบริหารงานของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตําบลดอนตูม จังหวัดนครปฐม. วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา. 12(1), 44-56.
สุรเจต ไชยพันธ์พงษ์. (2563) แรงจูงใจที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบล จังหวัดพะเยา. วารสารสิรินธรปริทรรศน์. 21(2), 340-354.
สุเมธ แสงนิ่มนวล. (2557). ต้นแบบการบริหารจัดการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในประเทศไทย. วารสารสังคมศาสตร์วิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย. 7(1), 1-12.
Arnold, H.J. and Feldman, D.C. (1986). Organization Behavior. New York: McGraw-Hill.
Campbell, John P. (1977). On the Nature of Organizational Effectiveness. In New Perspectives on Organizational Effectiveness. San Francisco: Jossey-Bass.
Gibson, J. L. & Others. (1988). Organizational : Behavior, Structure, Process. (3 ed). Dallas; Texas: Business Publications, Inc.
Herzberg, F. (1979). The motivation to work. (2 ed). New York : John Willey & Sons.
Krejcie, R, v. & Morgan, D.W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities, Educational and Psychological Measurement. 30, (3), pp. 607-610.