ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยแรงจูงใจของครูในการปฏิบัติงานและปัจจัยค้ำจุนในการปฏิบัติงาน ของครูผู้สอนกับบทบาทหน้าที่ของครูในการทำงานของครูในโรงเรียนใน สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 2

Main Article Content

พรหมพิริยะ พนาสนธิ์
กรปภา เจริญชันษา

บทคัดย่อ

         การวิจัยนี้มีเป้าหมายคือต้องการตรวจสอบทฤษฎีสองปัจจัยของ เฮอร์ซเบอร์ก (Herzberg’s two-factors theory) ว่าสามารถนำมาอธิบายแรงจูงใจของครูผู้สอนในการปฏิบัติหน้าที่ตามบทบาทของครูในปัจจุบันในบริบทของระบบการศึกษาไทยในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานได้หรือไม่โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูผู้สอน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 2 2) ศึกษาปัจจัยค้ำจุนในการปฏิบัติงานของครูผู้สอน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 2 3)ศึกษาบทบาทของครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 2ในปัจจุบัน 4) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูผู้สอน และปัจจัยค้ำจุนในการปฏิบัติงานของครูผู้สอนกับบทบาทภาระหน้าที่ขอครูในการทำงาน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 2


            รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยแบบตัดขวาง ประชากรคือครูผู้สอนที่ปฏิบัติราชการในโรงเรียนที่สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 2 จำนวน 112 โรงเรียนซึ่งมีทั้งโรงเรียนขนาดเล็ก ขนาดกลางและขนาดใหญ่ จำนวน 1,812 คน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยการใช้ตารางของ Krejcie and Morgan และดำเนินการสุ่มด้วยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multistage Random Sampling) โดยในขั้นแรกสุ่มโรงเรียนตามวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) แล้วสุ่มครูผู้สอนด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 320 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถามแบบมาตรส่วนประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์และนำเสนอข้อมูลประกอบด้วย ค่าร้อยละ(%) ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Person’s product Moment Correlation Coefficient) 


            ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับความคิดเห็นของครูเกี่ยวกับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูผู้สอน ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 2 ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก 2)ระดับความคิดเห็นของครูเกี่ยวกับปัจจัยค้ำจุนในการปฏิบัติงานของครูผู้สอน ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 2 ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก 3)ระดับความคิดเห็นของครูต่อบทบาทหน้าที่ของครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 2ในปัจจุบันมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก 4) เมื่อทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยแรงจูงใจและปัจจัยค้ำจุนกับการทำงานตามบทบาทของครูของครูผู้สอนของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 2 ในภาพรวม มีความสัมพันธ์กันทางบวกในระดับสูง 5) ผลการศึกษาเป็นไปตามวัตถุประสงค์และสมมติฐานที่ผู้วิจัยตั้งไว้ สามารถกล่าวได้ว่าทฤษฎีสองปัจจัยของ เฮอร์ซเบอร์ก (Herzberg’s two-factors theory) ซึ่งเป็นทฤษฎีที่ถูกสร้างขึ้นในบริบทของสังคมตะวันตกเป็นเวลามากกว่า 50 ปีมาแล้วยังคงสามารถใช้อธิบายองค์กรในวงการศึกษาไทยในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานได้

Article Details

How to Cite
พนาสนธิ์ พ. ., & เจริญชันษา ก. . . (2020). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยแรงจูงใจของครูในการปฏิบัติงานและปัจจัยค้ำจุนในการปฏิบัติงาน ของครูผู้สอนกับบทบาทหน้าที่ของครูในการทำงานของครูในโรงเรียนใน สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 2. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก, 9(2), 60–69. สืบค้น จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/SocialJournal2rmutto/article/view/248516
บท
บทความวิจัย
Author Biographies

พรหมพิริยะ พนาสนธิ์, มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี

คณะศึกษาศาสตร์  มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี

กรปภา เจริญชันษา, มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี

คณะศึกษาศาสตร์  มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี

References

[1]กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). เส้นทางสู่ความสำเร็จของการปฏิรูปการศึกษาไทย: แนวทางการดำเนินงานการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ. กรุงเทพฯ. คุรุสภาลาดพร้าว.
[2]กล้า ทองขาว. (2523). ปัจจัยที่ส่งผลต่อขวัญของอาจารย์โรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. (จิตวิทยาการศึกษา). ชลบุรี. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ บางแสน. ถ่ายเอกสาร.
[3]กิติมา ปรีดีดิลก. (2539). ทฤษฎีการบริหารองค์การ. กรุงเทพฯ. ภาควิชาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.
[4]ขัตติยา ด้วงสำราญ . (2543). แรงจูงใจในการทำงานที่ส่งผลต่อความผูกพันของครูโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดนนทบุรี. กรุงเทพมหานคร . ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย.
[5]จิราภรณ์ ไทยกิ่ง. (2541. ตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูกระทรวงศึกษาธิการ. สารนิพนธ์ กศ.ม. (จิตวิทยาการศึกษา).กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ถ่ายเอกสาร.
[6]ถวิล เกื้อกูลวงศ์. (2528). ความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะส่วนตัวและแรงจูงใจเนื่องจากความคาดหวังในงานกับความพึงพอใจในงาน กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ถ่ายเอกสาร.
[7]ปัญญา เก้าพรพงศ์. (2537). การศึกษาแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน ที่มีต่อลักษณะงาน และสิ่งแวดล้อมในการทำงานของนักสังคมสงเคราะห์ในศูนย์เยาวชนในสังกัดกรุงเทพมหานคร. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม.(การอุดมศึกษา). กรุงเทพฯ. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร. ถ่ายเอกสาร.
[8]พลอยปภัส ธนกิตติ์กรณ์แก้ว. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการทำงานของครูกับประสิทธิผลของโรงเรียนประถมศึกษา อำเภอสนามชัยเขต สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 2. งานนิพนธ์สารนิพนธ์ศึกษามหาบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย.มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.
[9]วิโรจน์ สารรัตนะ.(2542). การบริหาร หลักการ ทฤษฎีและประเด็นทางการศึกษา. กรุงเทพฯ.ทิพยวิสุทธิ์.
[10]สมยศ นาวีการ. (2540).การบริหารและพฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพฯ: กรุงสยามการพิมพ์.
[11]สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ 2542.กรุงเทพมหานคร: สำนักนายกรัฐมนตรี
[12]สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545). พระราชบัญบัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2553 (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2562 .กรุงเทพมหานคร: สำนักนายกรัฐมนตรี.
[13]อุทัย ปัญญาโกญ.( 2539). ปัจจัยจูงใจที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของครูประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ. วิทยานิพนธ์ ศษ.ม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
[14]Clements, Evelyn. (1983). “A Study of the Relationship between lntrinsic And Extrinsic Variables and Job Satisfaction among Student Personal Workers in Community Colleges,” Dissertation Abstracts lnternation. 43 (8): 2567 – A
[15]Herzberg, Frederick and others.(1959).The Motivation to work. New York : John Wiley and SonsHill,
[16]Eral Augests. (1984). The Impact of Selt-Role Congruence Length of Service, Job Satisfaction and Organization Commitment on Propensity to Live: A Study of Community College Instructors of Developmental/Remedial Courses.
[17]Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), pp. 607-610.
[18]Steers, R.M. (1977). Organization Effectiveness. California: Goodyear Publishers Inc.