การใช้เทคนิคการจัดการเรียนรู้แบบ Jigsaw Listening ควบคู่กับการใช้กลยุทธ์อภิปัญญา ผ่านระบบออนไลน์เพื่อแก้ปัญหาการฟังภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ: กรณีศึกษานักเรียนนายเรืออากาศ ชั้นปีที่ ๒ โรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช

Main Article Content

กัญญาเลข ฟูตระกูล

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้แบบ Jigsaw Listening ควบคู่กับการใช้กลยุทธ์อภิปัญญา เพื่อศึกษาค่าดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดการเรียนรู้แบบ Jigsaw Listening ควบคู่กับการใช้กลยุทธ์อภิปัญญา เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ในการการฟังภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจด้วยแผนการจัดการเรียนรู้ปกติและด้วยแบบ Jigsaw Listening ควบคู่กับการใช้กลยุทธ์อภิปัญญา และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนนายเรืออากาศ (นนอ.) ที่มีต่อกิจกรรมและการจัดการเรียนรู้แบบ Jigsaw Listening ควบคู่กับการใช้กลยุทธ์อภิปัญญา โดยกลุ่มตัวอย่าง คือนนอ.โรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช ชั้นปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 โดยคัดเลือกจากผู้เรียนที่มีผลคะแนนการฟังภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจน้อยกว่าร้อยละ 70 ในวิชา มศ 201 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 40 คน จัดเป็นกลุ่มทดลองกลุ่มที่ 1 และ กลุ่มควบคุมกลุ่มที่ 2 โดยคละความสามารถเทียบเคียงจากผลคะแนนสอบการฟังอย่างละเท่า ๆ กัน โดยให้กลุ่มทดลองกลุ่มที่ 1 จำนวน 20 คน ได้รับการสอนด้วยวิธีการสอนด้วยเทคนิคการจัดการเรียนรู้แบบ Jigsaw Listening ควบคู่กับการใช้กลยุทธ์อภิปัญญา และกลุ่มควบคุมกลุ่มที่ 2 จำนวน 20 คนได้รับการสอนแบบวิธีปกติในการฟังเพื่อความเข้าใจวิชาภาษาอังกฤษ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการสอนเทคนิคจิ๊กซอว์ในทักษะการฟังเพื่อความเข้าใจ จำนวน 15 แผน ทำการทดลอง 15 สัปดาห์ แบบทดสอบทักษะการฟังเพื่อความเข้าใจ TOEIC Listening Mock Test ก่อนและหลังเรียนจำนวน 100 ข้อ แบบสอบถามความพึงพอใจที่กลุ่มตัวอย่างมีต่อแผนการสอนด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์ในทักษะการฟังเพื่อความเข้าใจภาษาอังกฤษ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติทดสอบ t-test independent และ t-test dependent เปรียบเทียบการเรียนด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์และการเรียนปกติ ค่าประสิทธิภาพ E1/E2 ผลวิจัยพบว่า (1) แผนการจัดการเรียนรู้การฟังภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบ Jigsaw Listening ควบคู่กับกลยุทธ์อภิปัญญา ผ่านระบบออนไลน์      มีประสิทธิภาพเท่ากับ 90.30/84.10 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด 70/70 (2) ค่าดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดการเรียนรู้การฟังภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบ Jigsaw Listening ควบคู่กับกลยุทธ์อภิปัญญา ผ่านระบบออนไลน์ โดยใช้สูตรคำนวณหาดัชนีประสิทธิผล (Effectiveness Index: E.I) มีค่าเท่ากับ 0.6154 หมายความว่าผู้เรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียนรู้ ด้านการฟังคิดเป็นร้อยละ 60.54 3. ทักษะการฟังภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนนอ.ชั้นปี 2 ที่มีคะแนนทักษะการฟังในวิชา มศ 201 น้อยกว่าร้อยละ 70 หลังได้รับการจัดการเรียนรู้การฟังเพื่อความเข้าใจโดยใช้เทคนิคการจัดการเรียนรู้แบบ Jigsaw Listening ควบคู่กับกลยุทธ์อภิปัญญา ผ่านระบบออนไลน์ มีคะแนนทักษะการฟังภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ มากกว่าร้อยละ 70 ทั้ง 20 คน (3) นนอ. ที่ได้รับการจัดการเรียรู้ด้วยแผนการจัดการเรียนรู้การฟังภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบ Jigsaw Listening ควบคู่กับกลยุทธ์อภิปัญญา ผ่านระบบออนไลน์ มีความสามารถในการฟังเพื่อความเข้าใจภาษาอังกฤษสูงกว่านนอ. ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้การฟังภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยใช้วิธีการปกติ ผ่านระบบออนไลน์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ (4) นนอ. ที่ได้รับการจัดการเรียรู้ด้วยแผนการจัดการเรียนรู้การฟังภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบ Jigsaw Listening ควบคู่กับกลยุทธ์อภิปัญญา ผ่านระบบออนไลน์ มีความพึงพอใจอยู่ในระดับ ดีมาก มีค่าเฉลี่ย 4.43 เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า นอกจากทักษะการฟังเพื่อความเข้าใจจะพัฒนาแล้ว การเรียนเทคนิค Jigsaw Listening ควบคู่กับกลยุทธิ์อภิปัญญายังทำให้ นนอ. มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และร่วมกันอภิปรายในการนำเสนองาน และมีโอกาสแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกันกับเพื่อนในกลุ่มอีกด้วย

Article Details

How to Cite
ฟูตระกูล ก. . (2022). การใช้เทคนิคการจัดการเรียนรู้แบบ Jigsaw Listening ควบคู่กับการใช้กลยุทธ์อภิปัญญา ผ่านระบบออนไลน์เพื่อแก้ปัญหาการฟังภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ: กรณีศึกษานักเรียนนายเรืออากาศ ชั้นปีที่ ๒ โรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช . วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก, 11(1), 49–61. สืบค้น จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/SocialJournal2rmutto/article/view/256860
บท
บทความวิจัย
Author Biography

กัญญาเลข ฟูตระกูล, โรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช

ภาควิชามนุษยศาสตร์ กองวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

References

กุสุมา ล่านุ้ย. (2538). การสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารระดับมัธยมศึกษา. โรงเรียนสาธิตคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

คณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2559). ประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่อง นโยบายการยกระดับมาตรฐาน ภาษาอังกฤษในสถาบันอุดมศึกษา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชายุดา จันทะปิดตา. (2555). การพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะการฟังภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบัวหลวงวิทยาคม จังหวัดบุรีรัมย์. วิทยานิพนธ์ ศศ.ม. มหาวิทยาลัยศิลปากร กรุงเทพฯ, ถ่ายเอกสาร.

ทัศนีย์ องค์สรณะคมกุล. (2546). การพัฒนาแบบฝึกทักษะการฟังภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม. มหาวิทยาลัยศิลปากร/กรุงเทพฯ. DOI:https://doi.nrct.go.th/ListDoi/listDetail?Resolve_DOI=10. 14457/SU.the.2003.91

บัญชา อึ๋งสกุล. (2541). การเสริมสร้างการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในโรงเรียน. วารสารวิชาการ 1 (กุมภาพันธ์ 2541), น.63. .

มณีรัตน์ กรรณิกา และ อภิราดี จันทร์แสง. (2560). การพัฒนาทักษะการฟังโดยใช้รายการโทรทัศน์ของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด. ปีที่ 11(2).

สุมณฑา พรหมบุญ. (2540). ทฤษฎีการเรียนรูแบบมีส่วนร่วม. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ กรุงเทพมหานคร : พริกหวานกราฟฟิค.

สุมิตรา อังวัฒนกุล. (2540). วิธีสอนภาษาอังกฤษ. กรุงเทพมหานคร : สํานักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. พิมพ์ครั้งที่ 4

Adams, F. H. (2013). Using jigsaw technique as an effective way of promoting co-operative learning among primary six pupils in Fijai. International Journal of Education and Practice, 1(6), pp.64-74.

Alfaruqy, D., (2021). The implementation of the jigsaw technique to increase students’ listening achievement and Motivation Aspects. ELE Reviews: English Language Education Reviews, 1(1), pp.22-40.

Bankole-Minaflinou, E. (2018). Using Authentic Materials in EFL Classes in Benin for Communicative Competence. International Journal on Studies in English Language and Literature. pp. 8-19.

Citra Dewi, R. (2018). Utilizing Authentic Materials on Students’ Listening Comprehension: Does it have Any Influence. Advances in Language and Literary Studies. Vol 9 (1).

Djudin, Tomo. (2017). Using Metacognitive Strategies to Improve Reading Comprehension and Solve a Word Problem. JETL (Journal Of Education, Teaching and Learning). 2. 124. DOI: 10.26737/ jetl.v2i1.151.

Goh, C. & Taib, Y. (2006). Metacognitive instruction in listening for young learners. ELT Journal, 60, pp. 222-232.

Graham, S., & Macaro, E. (2008). Strategy instruction in listening for lower-intermediate learners of French. Language Learning, 58, pp. 747-783.

Hinkel, E., (2011). Handbook of Research in Second language teaching and learning 1st Edition. New York: Routledge.

Im, G. H., & Cheng, L. (2019). The test of English for international communication (TOEIC®). Language Testing, 36(2), pp. 315-324.

Kim, H.-S. (2015). Using authentic videos to improve EFL students’ listening comprehension. International Journal of Contents, 11(4), pp.15-24.

Nunan, D. (1999). Second Language Teaching and Learning. Boston.

O’Malley, J. M., & Chamot, A. U. (1990). Learning strategies in second language acquisition. Cambridge, UK: Cambridge University Press.

Richards, J. C., & Schmidt, R. W. (2013). Longman dictionary of language teaching and applied linguistics. Routledge.

Rost, M. (1994). Introducing Listening. London: Penguin books.

Vandergrift, L. (2003), Orchestrating Strategy Use: Toward a Model of the Skilled Second Language Listener. Language Learning, 53. pp.463-496. https://doi.org/10.1111/1467-9922.00232

Vandergrift, L. (2011). Second language listening. Handbook of research in second language teaching and learning, 2, pp. 455-471.