ผลกระทบทางด้านจิตวิทยาสังคมที่มีผลต่อพฤติกรรมการเรียนออนไลน์ ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่: ช่วงปลายของการระบาดของ COVID-19

Main Article Content

สิวลี รัตนปัญญา
สามารถ ใจเตี้ย

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบทางด้านจิตวิทยาสังคมจากการระบาดของเชื้อไควิด 19 ที่มีผลต่อพฤติกรรมการเรียนออนไลน์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่างในครั้งนี้ คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรีทุกชั้นปี ใน 5 คณะ 2 วิทยาลัย ได้แก่ คณะครุศาสตร์ คณะเทคโนโลยีการเกษตรคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วิทยาลัยนานาชาติ และวิทยาลัยแม่ฮ่องสอน ที่ผ่านการเรียนรูปแบบออนไลน์มาในปีการศึกษา 2563 - 2564 จำนวน 489 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามออนไลน์ และวิเคราะห์โดยใช้สถิติการถดถอยโลจิสติค ผลการศึกษา พบว่า นักศึกษาหญิงมากกว่านักศึกษาชาย ส่วนใหญ่ใช้สมาร์ทโฟนผ่านระบบอินเตอร์เน็ตของโทรศัพท์มือถือโดยตรงในการเรียน อุปสรรคในการเรียนออนไลน์ 3 อันดับแรก ได้แก่ ความเสถียรของสัญญาณอินเตอร์เน็ต ความไม่พร้อมของอุปกรณ์ในการเรียนออนไลน์ และการรบกวนจากบุคคลที่อยู่ร่วมกันขณะเรียนออนไลน์ ปัจจัยทางด้านจิตวิทยา พบว่า นักศึกษามีความวิตกกังวลในการเรียนออนไลน์รวมเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง มีเจตคติที่มีต่อการเรียนออนไลน์รวมเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง และมีการปรับตัวต่อการเรียนออนไลน์รวมเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ปัจจัยทางด้านสังคม พบว่า อิทธิพลจากคนรอบข้างที่มีต่อการเรียนออนไลน์รวมเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก สภาพแวดล้อมทางกายภาพที่มีต่อการเรียนออนไลน์รวมเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก และการรับรู้บรรทัดฐานทางสังคมที่มีต่อการเรียนออนไลน์รวมเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง และมีพฤติกรรมการเรียนออนไลน์รวมเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ผลกระทบทางด้านจิตวิทยาสังคมจากการระบาดของเชื้อไควิด-19 ที่มีผลต่อพฤติกรรมการเรียนออนไลน์ของนักศึกษา พบว่า เพศ, ปัจจัยทางด้านจิตวิทยาทั้ง 3 หัวข้อย่อย ได้แก่ ความวิตกกังวลในการเรียนออนไลน์ การปรับตัวต่อการเรียน และเจตคติที่มีต่อการเรียนออนไลน์มีผลต่อพฤติกรรมการเรียนออนไลน์ของนักศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value = 0.01, ≤ 0.001, และ 0.05, ตามลำดับ) และปัจจัยทางด้านสังคมทั้ง 3 หัวข้อย่อย ได้แก่ อิทธิพลจากคนรอบข้าง ได้แก่ เพื่อนร่วมชั้น อาจารย์ ครอบครัว สภาพแวดล้อมทางกายภาพ และ การรับรู้บรรทัดฐานทางสังคม มีผลต่อพฤติกรรมการเรียนออนไลน์ของนักศึกษามีผลต่อพฤติกรรมการเรียนออนไลน์ของนักศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value = 0.05, 0.003, และ 0.01 ตามลำดับ)

Article Details

How to Cite
รัตนปัญญา ส. . . . ., & ใจเตี้ย ส. . . (2023). ผลกระทบทางด้านจิตวิทยาสังคมที่มีผลต่อพฤติกรรมการเรียนออนไลน์ ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่: ช่วงปลายของการระบาดของ COVID-19. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก, 12(1), 126–138. สืบค้น จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/SocialJournal2rmutto/article/view/264540
บท
บทความวิจัย
Author Biographies

สิวลี รัตนปัญญา, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

ภาควิชาสาธารณสุขศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

สามารถ ใจเตี้ย, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

ภาควิชาสาธารณสุขศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 

 

References

กรรณิการ์ แสนสุภา, เอื้อทิพย์ คงกระพันธ์, อุมาภรณ์ สุขารมณ์, และ ผกาวรรณ นันทะเสน. (2563). การปรับตัวของนักศึกษาในสถานการณ์โควิด-19. วารสาร มจร. มนุษยศาสตร์ปริทรรศน์ 6(2) : 79-92.

เกศริน วงษ์มั่น. (2553). ผลการใช้โปรแกรมการกำกับตนเองที่มีต่อการมีวินัยในการเรียนของนักเรียนช่วงชั้นที่ 3 โรงเรียนศรีนภเขตวิทยา สังกัดสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ จังหวัดนครสวรรค์.ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิตสาขาวิชาจิตวิทยาการแนะแนว. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

กองนโยบายและแผน มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. (2564). จำนวนนักศึกษา ประจำไตรมาส 3/2563 ข้อมูล ณ วันที่ 1 สิงหาคม 2563. http://www.plan.cmru.ac.th/dataset/ std.php. สืบค้น วันที่ 18 มกราคม 2565.

ชฎาภา ประเสริฐทรง, จรินวรรณ แสงหิรัญรัตนา, และพรชนา กลัดแก้ว. (2564). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเครียดในการเรียนออนไลน์ จากสถานการณ์โควิด-19 ของนักศึกษาพยาบาล. วารสารสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา 15(1) : 14-28.

ณัฐปคัลภ์ แซ่เอี้ย. (2564). พฤติกรรมการตั้งใจเรียนออนไลน์ในสถานการณ์โควิด-19 ของนักศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากร พระราชวังสนามจันทร์. (การวิจัยรายบุคคลปริญญาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร. วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์. นครปฐม.

ณิชกานต์ ทรงไทย, วราภรณ์ ยศทวี, และปฐพร แสงเขียว. (2564) . ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการเรียนออนไลน์ของนักศึกษาพยาบาล: ภาคเหนือตอนล่าง. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์ 13(1) : 198-209.

ธนพรรณ ทรัพย์ธนาดล. (2554). ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการจัดการเรียนการสอนบทเรียนออนไลน์ของมหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา. Veridian E-Journal SU 4(1) : 652-666.

เปรมฤดี แสงดำ, มารีหย๊ะห์ หมัดโส๊ะ, ทัศนีย์ เล็บกะเต็บ, และอาฟีฟี ลาเต๊ะ. (2557). การวิเคราะห์องค์ประกอบทัศนคติต่อการจัดการเรียนการสอนผ่านห้องเรียนเสมือนของนักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. วารสารวิทยบริการมหาวิทยาลัยสงขลา นครินทร์ 25(1) : 71-77.

ผ่องใส เพ็ชรรักษ์, อาทร จิตสุนทรชัยกุล และ ศิรัตน์ แจ้งรักษ์สกุล. (2555). รายงานวิจัยการศึกษาถึงการศึกษาพฤติกรรมการเรียนที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษา สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรม คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

มาลีวัล เลิศสาครศิริ, จุรีย์ นฤมิตเลิศ, และกิติยา สมุทรประดิษฐ. (2564). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการเรียนผ่านระบบออนไลน์ของนักศึกษา วิทยาลัยเซนต์หลุยส์ จากสถานการณ์โควิด-19. วารสารสุขภาพกับการจัดการสุขภาพ 7(1) : 13-27.

โรจกร ลือมงคล. (2565). ความเครียดในการเรียนออนไลน์ ช่วงการระบาดของโรคโควิด-19 : กรณีศึกษาในนักเรียนมัธยมศึกษาของโรงเรียนคอนสวรรค์ อำเภอคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 16(3) : 772-783.

วรินทร์ พูลผล และ ธันย์พัทธ์ ใคร้วานิช. (2564). ความรู้ความเข้าใจการปฏิบัติการข้อมูลข่าวสารกับการคาดคะเนผลกระทบเชิงเศรษฐกิจในยุคดิจิทัลของประชาชนในจังหวัดกรุงเทพมหานคร. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง 10(2) : 93-103.

สุขนิษฐ์ สังขสูตร และจอมเดช ตรีเมฆ. (2564). การศึกษาความพึงพอใจต่อรูปแบบการเรียนการสอนออนไลน์ในสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 ของมหาวิทยาลัยรังสิต. ในเอกสารสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยรังสิต ประจําปี 2564. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยรังสิต.

สุภาภรณ์ หนูเมือง, ศุภราภรณ์ ทองสุขแก้ว, สมุทร สีอุ่น, ทิวาพร เพ็ชรน่วม, และศุภกร ทองสุขแก้ว. (2565). พฤติกรรมการเรียนและปัจจัยความสำเร็จในการเรียนระบบออนไลน์บนแอปพลิเคชั่นไมโครซอฟต์ทีม ในช่วงสถานการณ์โควิด-19. วารสารสหวิทยาการเพื่อการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ 12(1) : 1-14.

อานันท์ สีห์พิทักษ์เกียรต, ศิริพร เพียรสุขมณี, พจนา พิชิตปัจจา และชัยวุฒิ ตั้งสมชัย. (2564). โครงการวิจัยถอดบทเรียนการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบออนไลน์ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดไวรัส COVID-19 ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เชียงใหม่: ศูนยนวัตกรรมการสอนและการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

Daniel, W.W. (2010). Biostatistics: Basic Concepts and Methodology for the Health Sciences (9thed.). New York: John Wiley & Sons.

Hyseni, D. Z., and Hoxha, L. (2020). The impact of covid-19 on higher education: a study of interaction among students' mental health, attitudes toward online learning, study skills, and changes in students' life. https://www. researchgate.net/ publication /3415 99684. Accessed 18 Jan. 2022.

Lynn, M. R. (1986). Determination and quantification of content validity. Nursing Research 35(6) : 382-385.

Nishimura, Y., Ochi, K., Tokumasu, K., Obika, M., Hagiya, H., Kataoka, H., and Otsuka, F. (2021). Impact of the COVID-19 Pandemic on the Psychological Distress of Medical Students in Japan: Cross-sectional Survey Study. J Med Internet Res 23(2) : e25232. https://doi. org/10.2196/25232.

Puthran, R., Zhang, M.W.B., Tam, W.W., and Ho, R.C. (2016). Prevalence of depression amongst medical students: A meta-analysis. Med Educ 50(4): 456-468. https://doi.org/10.1111/ medu.12962.

Quek, T.T.C., Tam, W.W.S., Tran, B.X., Zhang, Z., Ho, C.S.H., and Ho, R.C.M. (2019). The global prevalence of anxiety among medical students: A meta-analysis. Int J Environ Res Public Health 16(15) : 2735. https://doi.org/10.3390/ijerph16152735.

Worldometer. (2021, December 12). Covid – 19 Coronavirus Pandemics. https:// www.worldo meters.info/ coronavirus/. Accessed 12 Dec. 2021.

Xiong, J., Lipsitz, O., Nasri, F., Lui, L.M.W., Gill, H., Phan, L., Chen-Li, D., Iacobucci, M., Ho, R., Majeed, A., and McIntyre, R.S. (2020). Impact of COVID-19 pandemic on mental health in the general population: A systematic review. J Affect Disord 277 : 55–64. https://doi.org/ 10.10 16/j. jad.2020.08.001.