ความเสี่ยงของอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศไทย
คำสำคัญ:
Growth at risk, economic growth, downside riskบทคัดย่อ
ค่าความเสี่ยงของอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (Growth at Risk) เป็นเครื่องมือวัดค่าคาดการณ์ขนาดของความสูญเสียอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในช่วงภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่ประเทศมีโอกาสประสบ ณ ระดับความเชื่อมั่นหนึ่ง ซึ่งประยุกต์มาจากเครื่องมือวัดความเสี่ยงทางการเงิน Value at Risk ทั้งนี้จากข้อมูลค่าความเสี่ยงของอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่คำนวนได้ระหว่างปี ค.ศ. 1980-2009 พบว่า ประเทศไทยมีค่าความเสี่ยงของอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในช่วงภาวะวิกฤตเศรษฐกิจถดถอยรุนแรงที่สุดโดยเฉลี่ยสูงถึง 7.88 เปอร์เซ็นต์ อย่างไรก็ตามค่าความเสี่ยงนี้ได้เพิ่มสูงขึ้นถึงกว่า 14 เปอร์เซ็นต์ในช่วงภายหลังวิกฤตเศรษฐกิจในปี ค.ศ. 1997สำหรับภาวะเศรษฐกิจถดถอยเล็กน้อยที่อาจเกิดขึ้นในรอบสี่ปีพบว่า ค่าความเสี่ยงของอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจมีค่าต่ำเพียง 1.19 เปอร์เซ็นต์ จากการประเมินปัจจัยที่อาจส่งผลให้ค่าความเสี่ยงของอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศไทยเพิ่มสูงขึ้นได้แก่ อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศ OECD อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ไม่คาดคิดของกลุ่มประเทศ OECD และสภาพคล่องทางการเงินโลก ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงจากภายนอกประเทศ สำหรับปัจจัยเสี่ยงภายในประเทศที่มีผลต่อค่าความสูญเสียของการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศไทย ได้แก่ สัดส่วนหนี้ต่างประเทศต่อ GDP การขาดดุลบัญชีเดินสะพัด และสัดส่วนสินเชื่อภาคธุรกิจต่อ GDP
References
2.Barro, R. & Ursua, J. (2008) Macroeconomic Crises since 1870, NBER Working Paper no. 13940 (National Bureau of Economic Research: Cambridge, MA).
3.Bernanke, B. & Gertler, M. (1995) Inside the Black Box: The Credit Channel of Monetary PolicyTransmission, Journal of Economic Perspectives, Vol. 9, pp. 27–48.
4.Bernanke, B., Gertler, M. & Gilchrist, S. (1996) The Financial Accelerator and the Flight to Quality, Review of Economics and Statistics, Vol.78, pp. 1–15.
5.Blanchard, O., J. Das, M., & Faruqee, H. (2010) The Initial Impact of the Crisis on Emerging Market Countries, Brookings Papers on Economic Activity, pp. 263-307.
6.Easterly, W. (2001) The Lost Decades: Developing Countries’ Stagnation in Spite of Policy Reform1980, Journal of Economic Growth, Vol. 6, pp. 135-157.
7.Easterly, W., Islam, R., & Stiglitz, J. E. (2000) Explaining Growth Volatility, World Bank Working Paper 04/13/00 (World Bank).
8.Eichengreen, B., Park, D., & Shin, K. (2011) When Fast Growing Economies Slow Down: International Evidence and Implications for China, NBER Working Paper no. 16919 (National Bureau of Economic Research: Cambridge, MA).
9.Evan, G., Honkapohja, S. & Romer, P. (1996) Growth Cycle, American Economic Review, Vol. 88, pp. 495-515.
10.Hall, J. (2009) Options, Futures, and Other Derivatives (New Jersey: Pearson Prentice Hall).
11.Hansen, L. P. (1982) Large Sample Properties of Generalized Method of Moments Estimators, Econometrica, Vol. 56, pp. 1029–1054.
12.Hausmann, R., Pritchett, L., & Rodrik, D. (2005) Growth Accelerations, Journal of Economic Growth, Vol. 10, pp. 303-329.
13.Jorion, P. (2007) Value at Risk (New York: McGraw Hill).
14.Wang, Y. & Yao, Y. (2007) Measuring Downside Risk and Severity for Global Output, Journal of Forecasting, Vol. 26, pp. 23-32.
15.Wang, Y. &Yao, Y. (2001) Measuring Economic Downside Risk and Severity: Growth at Risk, World Bank Policy Paper 2674 (World Bank).