บทบาทของภาคเกษตรในความผันผวนของเศรษฐกิจไทย
คำสำคัญ:
ความผันผวนของสาขาเกษตร, แบบจำลองวัฏจักรธุรกิจที่แท้จริงบทคัดย่อ
จากสัดส่วนผลผลิตสาขาเกษตรต่อผลผลิตมวลรวมอาจกล่าวได้ว่าในปัจจุบันภาคเกษตรไทยแสดงบทบาทน้อยในการส่งเสริมอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตามคุณลักษณะของวัฏจักรธุรกิจที่ได้จากข้อมูลจริง (Stylized fact) บอกเราว่าวัฏจักรธุรกิจสาขาเกษตรนั้นมีความผันผวนมากกว่าสาขาอื่นๆในระบบเศรษฐกิจ ซึ่งนำไปสู่งานวิจัยชิ้นนี้ที่จะค้นหาสาเหตุความผันผวนของวัฏจักรธุรกิจสาขาเกษตร ขั้นตอนการทำงานหลักของการวิจัยประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ได้แก่ การสร้างแบบจำลองวัฏจักรธุรกิจแบบ 2 ภาคเศรษฐกิจ ได้แก่ ภาคเกษตรกรรมและภาคที่ไม่ใช่เกษตรกรรม ซึ่งการที่แบบจำลองกำหนดให้ตัวแทนผู้บริโภค (Representative consumer) บริโภคทั้งสินค้าเกษตร และสินค้าที่ไม่ใช่เกษตรนั้นเป็นการชี้ให้เห็นถึงบทบาทของภาคเกษตรในแบบจำลองความผันผวนของวัฏจักรธุรกิจ หลังจากนั้นผู้วิจัยกำหนดค่าพารามิเตอร์ของแบบจำลองและการทดลองแบบจำลอง จากผลการจำลองสถานการณ์พบว่าเศรษฐกิจที่จำลองขึ้นนั้นค่อนข้างสอดคล้องกับข้อมูลจริงในประเด็นสำคัญๆ ซึ่งสะท้อนว่าการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันทางเทคโนโลยีเป็นสาเหตุให้เกิดความผันผวนดังกล่าว
References
2. จิรวัฒน์ เจริญสถาพรกุล. (2542). วัฎจักรธุรกิจที่แท้จริงระหว่างประเทศ: กรณีศึกษาประเทศไทยและประเทศใหญ่ (อเมริกา, ญี่ปุ่น). เศรษฐศาสตร์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
3. Benhabib, J., R. Rogerson, and R. Wright. (1991). “Homework in Macroeconomics:Household Production and Aggregate Fluctuations” Journal of Political Economy, 99 pp: 1166-1187.
4. Chaleampong Kongcharoen. (2003). Optimal fiscal policy in a business cycles model: a case study of Thailand. Master of Art Thesis in Economics, Thammasat University.
5. Choe, Y. C. (1989). A Survey of Macroeconomics and Agriculture. Master’s Thesis, Faculty of Agricultural Economics, Michigan State university.
6. Da Rocha, J.M. and D.Restuccia. (2006). “The role of agriculture in aggregate business cycles fluctuation”. Review of Economic Dynamics. 9: pp. 455–482.
7. _________. (2002). Aggregate Employment Fluctuations and Agricultural Share. Manuscript, University of Toronto.
8. Hansen, L.P., and Sargent T.J. (1997). Recursive Models of Dynamic Linear Economics. Manuscript.
9. Pawin Siriprapanukul. (2000). Effects of monetary policies in RBC model with banking sector. Master of Art Thesis in Economics, Thammasat University.
10. Tanapong Potipiti. (1999). The dynamic responses to shocks: a comparison of a closed and an open economy. Master of Art Thesis in Economics, Thammasat University.
11. Thitipong Jurapornsiridee. (1995). Real Business Cycle: The Case of Thailand. Master of Art Thesis in Economics, Thammasat University.