ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วนทางการเงินกับอันดับเครดิต ของบริษัทจดทะเบียน
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้ศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วนทางการเงินกับอันดับเครดิตของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ที่ถูกจัดโดยบริษัททริสเรทติ้ง (TRIS) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547-2551 โดยใช้แบบจาลอง Ordered Probit ในการพยากรณ์อันดับเครดิต
ผลการวิจัยพบว่า อัตราส่วนทางการเงินที่มีความสัมพันธ์กับอันดับเครดิต ได้แก่ อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์รวม (Return On Assets), อัตราส่วนหนี้สินต่อทุน (Debt to Equity Ratio), อัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียนต่อสินทรัพย์รวม (Net Working Capital to Total Assets Ratio) ส่วนปัจจัยอื่นที่ไม่ใช่อัตราส่วนทางการเงินและมีความสัมพันธ์กับอันดับเครดิต ได้แก่ ขนาดของบริษัท (Company’s Size)
แบบจาลอง (model) ที่ใช้ศึกษามีความถูกต้องในการพยากรณ์อันดับเครดิตสูงถึง 79.2 เปอร์เซ็นต์ โดยแบ่งเป็นการพยากรณ์อันดับเครดิตในกลุ่ม Low-investment grade (rating BBB+, BBB, BBB-) ถูกต้อง 78.9 เปอร์เซ็นต์ ในกลุ่ม Moderate investment grade (rating A+,A, A-) ถูกต้อง 82.7 เปอร์เซ็นต์ และในกลุ่ม High investment grade (rating AAA, AA+, AA, AA-) ถูกต้อง 68.2 เปอร์เซ็นต์
References
2. Belkaoui, A. (1980). "Industrial bond ratings: A new look." Financial management (9): 44-51.
3. Horrigan, J. O. (1966). "The determination of long-term credit standing with financial ratios."
Journal of accounting research (Supplement 4): 44-62.
4. Kamstra, M., P. Kennedy, et al. (2001). "Combining bond rating forecasts using logit." The
financial review: 75-96.
5. Pinches, G. E. and K. A. Mingo (1973). "A multivariate analysis of industrial bond rating." The journal of finance(1): 1-18.
6. Pinches , G. E. and K. A. Mingo (1975). "The role of subordination and industrial bond ratings." The journal of finance(1): 201-206.
7. West, R. R. (1970). "An alternative approach to predicting corporate bond ratings." Journal of
accounting research: 27-188.
8. ชุติกาญจน์ ชานาญพฤกษา (2004). “ความสัมพันธ์ของดัชนีชี้วัดทางการเงินกับการจัดอันดับเครดิตของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย.” วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต (บช.ม.) คณะพาณิชย์ศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.