ปัญหาขาดแคลนแรงงานในภาคอุตสาหกรรมไทย: ผลจากปัจจัยทางด้านอุปสงค์หรือปัจจัยทางด้านอุปทาน?

ผู้แต่ง

  • Chayanee Chawanote คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • Naphon Phumma คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • Tiraphap Fakthong คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คำสำคัญ:

Labor shortages, demand and supply, Thai manufacturing

บทคัดย่อ

ในปัจจุบัน ภาคอุตสาหกรรมของประเทศไทยกำลังเผชิญกับปัญหาการขาดแคลนแรงงานที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งอาจจะมีสาเหตุมาจากปัจจัยด้านอุปสงค์ นั่นคือ กลุ่มผู้มีอุปสงค์แรงงาน (กลุ่มนายจ้าง) ไม่สามารถหรือไม่ต้องการที่จะเพิ่มค่าแรงให้สูงขึ้น ทำให้ไม่สามารถดึงดูดแรงงานให้เข้าสู่ภาคอุตสาหกรรมได้ อีกปัจจัยหนึ่งคือปัจจัยด้านอุปทาน (กลุ่มแรงงาน) กล่าวคือ แรงงานแสดงทัศนคติ (preference) ว่าพอใจกับการทำงานในภาคการผลิตอื่นๆ โดยเฉพาะภาคบริการมากกว่าการทำงานในภาคอุตสาหกรรม ทำให้ภาคอุตสาหกรรมประสบกับปัญหาการขาดแคลนแรงงานหรือการไหลออกของแรงงานในภาคนี้ การศึกษาในครั้งนี้จัดทำขึ้นเพื่อทำความเข้าใจว่าปัญหาการขาดแคลนแรงงานในภาคอุตสาหกรรมของประเทศไทยนั้นมีสาเหตุจากปัจจัยด้านอุปสงค์หรือด้านอุปทาน และเพื่อตอบคำถามดังกล่าว คณะผู้วิจัยได้สัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มแรงงานที่มีศักยภาพที่จะให้ภาพเชิงเปรียบเทียบการทำงานในภาคอุตสาหกรรมเทียบกับภาคบริการ จำนวนทั้งสิ้น 185 คน  โดยครอบคลุมพื้นที่เขตอุตสาหกรรมและบริการรอบ ๆ กรุงเทพและปริมณฑล และบางจังหวัดในภาคตะวันตกและตะวันออก ในปี พ.ศ. 2559 ผลการวิจัยพบว่าการขาดแคลนแรงงานในภาคอุตสาหกรรมที่เกิดขึ้นในปัจจุบันนั้นเป็นผลมาจากปัจจัยด้านอุปทานหรือเหตุผลส่วนบุคคลของแรงงานมากกว่าปัจจัยทางด้านอุปสงค์ เรื่องดังกล่าวชัดเจนมากสำหรับแรงงานรุ่นใหม่ๆ ที่ยังมีอายุไม่มาก ที่ส่วนใหญ่แสดงความพึงพอใจในการทำงานในภาคบริการมากกว่าการทำงานในภาคอุตสาหกรรม ในขณะที่แรงงานเหล่านี้ไม่ได้มีอุปสรรคมากนักในการย้ายงาน และอัตราค่าตอบแทนในภาคบริการและอุตสาหกรรมก็มิได้ต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ

References

กรวิทย์ ตันศรี และ สิรีธร จารุธัญลักษณ์. (ม.ป.ป.). ความไม่สมดุลของตลาดแรงงานไทย นัยของการขาดแคลนแรงงาน. ม.ป.ท.: ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนเศรษฐกิจภาค.

กองวิจัยตลาดแรงงาน. (2557). แนวโน้มอาชีพอิสระในอนาคต 3 ปีข้างหน้า (พ.ศ. 2558 – 2560). ม.ป.ท.: กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน.

ดวงพร รอดเพ็งสังคหะ, ศิริพร ศิริปัญญวัฒน์, และกมลทิพย์ ละออกิจ. (2556). การเคลื่อนย้ายแรงงานไทย: สภาพปัญหา สาเหตุ และแนวทางแก้ไข. ใน ตลาดแรงงานไทยและบทบาทในการสร้างความแข็งแกร่งให้เศรษฐกิจไทย ธนาคารแห่งประเทศไทย. ม.ป.ท.: ม.ป.พ.

ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2556). ใน ตลาดแรงงานไทยและบทบาทในการสร้างความแข็งแกร่งให้เศรษฐกิจไทย. ม.ป.ท.,ม.ป.พ.

ยงยุทธ์ แฉล้มวงษ์ และคณะ. (2550). โครงการศึกษาความต้องการแรงงานที่แท้จริงและการบริหารจัดการแรงงานต่างด้าวในภาคเกษตร ประมง กิจการต่อเนื่องจากประมง และก่อสร้าง. ม.ป.ท.: สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย.

ยงยุทธ์ แฉล้มวงษ์ และคณะ. (2555). การจัดทำยุทธศาสตร์การผลิตและพัฒนากำลังคนให้สอดคล้องกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรม. ม.ป.ท.: สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย.

สมชัย จิตสุชน และคณะ. (2552). โครงการศึกษาวิจัยการลงทุนด้านสังคมภายใต้เงื่อนไขการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและการปรับตัวสู่สังคม - เศรษฐกิจฐานความรู้. ม.ป.ท.: สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย.

เสาวณี จันทะพงษ์ และ กรวิทย์ ตันศรี. (2556). การขาดแคลนแรงงานไทย: สภาพปัญหา สาเหตุ และแนวทางแก้ไข. ใน ตลาดแรงงานไทยและบทบาทในการสร้างความแข็งแกร่งให้เศรษฐกิจไทย ธนาคารแห่งประเทศไทย. ม.ป.ท.: ม.ป.พ.

Blau, D. (1985). “Self-Employment and Self-Selection in Developing Country Labor Markets.” Southern Economic Journal 52(2): 351-363.

Bonin, H., Dohmen, T., Falk, A., Huffman, D., Sunde, U. (2007). “Cross-sectional earnings risk and occupational sorting: The role of risk attitudes.” Labour Economics 14: 926-937.

Brown, C. (1980). “Equalizing differences in the labor market.” Quarterly Journal of Economics 94(1): 113-134.

Brown, S., Dietrich, M., Ortiz-Nunez, A., Taylor, K. (2011). “Self-employment and attitudes towards risk: Timing and unobserved heterogeneity.” Journal of Economic Psychology 32: 425-433.

Corroll, R., Holtz-Eakin, D., Rider, M., Rosen, H. (2001). “Personal income taxes and growth of small firms.” NBER Working Paper No. 7980.

DeLeire, T., Levy, H. (2004). “Worker Sorting and the Risk of Death on the Job.” Journal of Labor Economics 22: 210–217.

Dilaka Lathapipat and Thitima Chucherd. (2013). Labor Market Functioning and Thailand’s Competitiveness. Proceeding Paper in the BOTSymposium 2013.

Ekelunh, J., Johansson, E., Jarvelin, MR., Lichtermann, D. (2005). “Self-employment and risk aversion – evidence from psychological test data.” Labour Economics 12: 649-659.

Falco, P. (2014). “Does risk matter for occupational choices? Experimental evidence from and African labor market.” Labour Economics 28: 96-109.

Fourage, D., Kriechel, B., Dohmen, T. (2014). “Occupational sorting of school graduates: The role of economic preferences.” Journal of Economic Behavior and Organization 106: 335-351.

Glazer, S., Sloane, P.J. (2008). “Accident risk, gender, family status and occupational choice in the UK.” Labour Economics 15: 938-957.

Günther, I., Launov, A. (2012). “Informal employment in developing countries: Opportunity or last resort?” Journal of Development Economics 97(1): 88-98.

Hamilton, B. (2000). “Does extrepreneurship pay? An empirical analysis of the returns to self-employment.” Journal of Political Economy 108: 604-631.

Taiwo, O. (2013). “Employment choice and mobility in multi-sector labour markets: Theoretical model and evidence from Ghana.” International Labour Review 152: 469–492.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2016-08-19

How to Cite

Chawanote, C., Phumma, N., & Fakthong, T. (2016). ปัญหาขาดแคลนแรงงานในภาคอุตสาหกรรมไทย: ผลจากปัจจัยทางด้านอุปสงค์หรือปัจจัยทางด้านอุปทาน?. Thailand and The World Economy, 34(2), 53–71. สืบค้น จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/TER/article/view/137804