นวัตกรรมสิ่งทอโลหะรีไซเคิล สู่การสร้างสรรค์ตราสินค้าเครื่องแต่งกายสตรี รูปแบบอาวองการ์ด

ผู้แต่ง

  • วีรินทร์ สันติวรรักษ์ สันติวรรักษ์ สาขาวิชาแฟชั่นและสิ่งทอ หน่วยปฏิบัติการวิจัยแฟชั่นและนฤมิตศิลป์ ภาควิชานฤมิตศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์
  • พัดชา อุทิศวรรณกุล สาขาวิชาแฟชั่นและสิ่งทอ หน่วยปฏิบัติการวิจัยแฟชั่นและนฤมิตศิลป์ ภาควิชานฤมิตศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์

คำสำคัญ:

นวัตกรรมสิ่งทอ, โลหะ, รีไซเคิล, อาวองการ์ด

บทคัดย่อ

นวัตกรรมสิ่งทอโลหะรีไซเคิลสู่การสร้างสรรค์ตราสินค้าเครื่องแต่งกายสตรีรูปแบบอาวองการ์ดเป็นการวิจัยเพื่อหาแนวทางพัฒนาสิ่งทอโลหะให้เหมาะสมกับการสวมใส่ มีวัตถุประสงค์เพื่อหาแนวทางการออกแบบจากสิ่งทอโลหะให้เหมาะสมต่อตลาดและกลุ่มเป้าหมายโดยใช้แนวคิดการออกแบบอย่างยั่งยืนด้วยวิธีการทดลองทอร่วมกับวัสดุชนิดอื่นเพื่อให้สามารถสวมใส่ได้จริง ซึ่งกระบวนการวิจัยครั้งนี้ได้ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณควบคู่ไปกับกระบวนการทดลองออกแบบสร้างสรรค์ โดยเริ่มจากการศึกษาปัญหาการรีไซเคิลโลหะจากขยะรถยนต์ซึ่งประกอบไปด้วยทฤษฎีการออกแบบอย่างยั่งยืนโดยใช้แนวคิดรีไซเคิล ประเภทและคุณสมบัติของโลหะที่ใช้ในรถยนต์ ทำให้สามารถกำหนดขอบเขตการใช้โลหะในการวิจัยที่ไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายและสามารถทดลองทอให้เกิดเป็นสิ่งทอได้ ซึ่งได้แก่ โลหะทองแดง และสเตนเลส(เหล็กกล้าไร้สนิม) อีกทั้งจากการศึกษาพบว่ายังเกิดช่องว่างทางการตลาดเกี่ยวกับนวัตกรรมสิ่งทอโลหะสำหรับเครื่องแต่งกายโดยการศึกษาตลาดของสินค้าที่ใกล้เคียงกันและกำหนดขอบเขตจุดยืนของตราสินค้า จึงได้มีการทดลองทอเส้นโลหะร่วมกับเส้นไหมน้อยเพื่อให้มีลักษณะเหมาะสมต่อการสวมใส่มากยิ่งขึ้น โดยจากการทดลองยังพบว่าสิ่งทอเกิดลักษณะพื้นผิวที่เป็นรอยจีบ การหยักและขดตัวโดยธรรมชาติจากวัสดุ ซึ่งเกิดเป็นรูปแบบที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ส่งผลให้ได้ทำการสำรวจกลุ่มผู้เป้าหมายที่คาดว่าจะสวมใส่ด้วยวิธีการสัมภาษณ์และใช้เครื่องมือแบบสอบถาม กับกลุ่มคนที่เกี่ยวข้องกับงานศิลปะหรือความคิดสร้างสรรค์ (Creative Niche) ซึ่งจากลักษณะของการทดลองนวัตกรรมสิ่งทอรวมทั้งจากการศึกษาพฤติกรรมและความต้องการของตลาดกลุ่มผู้บริโภคเป้าหมายสามารถสรุปได้ว่า รูปแบบการแต่งกายจะเป็นรูปแบบอาวองการ์ด (Avant Garde) โดยใช้แนวคิดศิลปะยุคอนาคตนิยม (Futurist) ที่มีแนวความคิดสอดคล้องกับรูปแบบของนวัตกรรมสิ่งทอและความต้องการของกลุ่มผู้บริโภคเป้าหมายเพื่อตอบสนองช่องว่างทางการตลาด อีกทั้งยังเป็นแนวทางในการใช้วัสดุที่แตกต่างโดยใช้แนวคิดการออกแบบอย่างยั่งยืนในการสร้างสรรค์เครื่องแต่งกายในอนาคตให้กับนักออกแบบรุ่นใหม่อีกด้วยอีกด้วย

References

กรมหม่อนไหม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2559). ความรู้เกี่ยวกับเส้นไหม. สืบค้นเมื่อ 27 ตุลาคม 2562.

จาก https://www.qsds.go.th/qsis_nort/inside_page.php?pageid=76

กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่. (2556). ซากรถยนต์. สืบค้นเมื่อ 10 เมษายน 2562. จาก

recycle.dpim.go.th/wastelist/waste-detail.php?id=27

จารุพัชร อาชวะ.อาจารย์ภาควิชาศิลปอุตสาหกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอม

เกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง 2562.สัมภาษณ์. 9 กรกฎาคม

ฉัตรชัย จันทร์เด่นดวง. (2547). “การออกแบบเพื่อสิ่งแวดล้อม(Design for the Environment).” วารสาร

เทคโนโลยีวัสดุ, 35 (เม.ย.), 53-54

ฐิติพร ฌานวังศะ.ผู้อำนวยการด้านนวัตกรรมและบริหารงานวิจัย บริษัท พีคฌาน จำกัด 2563.สัมภาษณ์. 10

กุมภาพันธ์ 2563

ณปภัช พิมพ์ดี. (2560). โลหะ. สืบค้นเมื่อ 15 กรกฎาคม 2562. จาก www.scimath.org/lesson-

chemistry/item/7198-2017-06-09-12-48-14

บัญชา ธนบุญสมบัติ. (2554). “ฟ้าผ่า...เรื่องที่คุณต้องรู้.” วารสารเทคโนโลยีวัสดุ,62 (ม.ค.), 31-36.

ปณิดา มีจินดา.(2553). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพมหานคร : บริษัท ธรรมสาร จำกัด

สรนันท์ ตุลยานนท์. (2540). “เทคโนโลยีวัสดุในการรีไซเคิลรถยนต์.” วารสารเทคโนโลยีวัสดุ,9 (ต.ค.), 22-23

หยาดพิรุณ บุญสด และประสงค์ สีหานาม. (2555). “ไหม: องค์ประกอบและโครงสร้าง คุณสมบัติและการ

ประยุกต์ใช้.” J Sci Technol MSU.31,4 (ก.ค.-ส.ค.), 22-23

อภิชัย จินดารักษ์. (2559). “แนวทางการบริหารจัดการเศษวัสดุโลหะ กรณีศึกษา ผู้ผลิตเครื่องยนต์ดีเซล”.

วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน คณะโลจิสติกส์

มหาวิทยาลัยบูรพา.

อินทิรา พรมพันธุ์. (2559). “การเรียนการสอนโดยใช้แนวคิดการออกแบบอย่างยั่งยืนสำหรับผู้เรียนในระดับ

ปริญญาตรี.” วารสารครุศาสตร์, 4 (ต.ค.), 364-366

Art Term. (2562). MODERNISM. สืบค้นเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2562. จาก https://www.tate.org.uk/art/

art-terms/m/modernism

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-31