การสร้างตราสินค้าเครื่องแต่งกายบุรุษและสตรีกลุ่มวีแกนเจนเนอเรชั่นซีโดยใช้นวัตกรรมเซลลูโลสของข้าว

ผู้แต่ง

  • กิตติ์ พันธุ์ชัยเพชร หน่วยปฏิบัติการวิจัยแฟชั่นและนฤมิตศิลป์ ภาควิชานฤมิตศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • อรรถพนธ์ พงษ์เลาหพันธุ์ หน่วยปฏิบัติการวิจัยแฟชั่นและนฤมิตศิลป์ ภาควิชานฤมิตศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

วีแกน เจเนอเรชั่นซี, พาราเมทริคดีไซน์, นวัตกรรมเซลลูโลสของข้าว

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มุ่งหาแนวทางการสร้างตราสินค้าบุรุษและสตรีกลุ่มวีแกน เจเนอเรชั่นซี (Vegan Generation Z) จากการประยุกต์ใช้นวัตกรรมเซลลูโลสของข้าว (Bio-Cellulose) ด้วยแนวคิดการออกแบบพาราเมทริคดีไซน์ (Parametric Design) โดยใช้วัสดุหลักจากนวัตกรรมเซลลูโลสของข้าวจากข้าวเล็บนกของไทยมาเพิ่มมูลค่า ผู้วิจัยศึกษาและทดลองนำนวัตกรรมเซลลูโลสของข้าวซึ่งใช้ข้าวเล็บนกมาผ่านกระบวนการทางวิทยาศาสตร์กับแบคทีเรียเพื่อให้ได้วัสดุที่มีแนวคิดการออกแบบใหม่ รวมทั้งศึกษาแนวคิดการออกแบบที่เหมาะสมกับการพัฒนาวัสดุจากนวัตกรรมเซลลูโลสของข้าวสู่การสร้างสรรค์เสื้อผ้าและเครื่องแต่งกาย

          จากการวิจัยพบว่า (1) กลุ่มเป้าหมายวีแกน เจเนอเรชั่นซี (Vegan Generation Z) เป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่สนใจผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ไม่ใช้ผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากสิ่งมีชีวิต มีแนวคิดการใช้ชีวิตที่เปิดรับสิ่งใหม่ตามกระแสรักสิ่งแวดล้อมและสนใจการแต่งกายรูปแบบสตรีท-โกธิค (Street-Gothic)  (2) แนวคิดการออกแบบพาราเมทริคดีไซน์ (Parametric Design) รูปแบบออแกนิคฟอร์ม (Organic Form) ที่เน้นการสร้างรายละเอียดตกแต่งเป็นเส้นเชื่อมต่อบนพื้นผิว ซึ่งเป็นแนวคิดการออกแบบที่มีความเหมาะสมสำหรับใช้พัฒนาการออกแบบสร้างสรรค์วัสดุจากนวัตกรรมเซลลูโลสของข้าว

References

กฤษณ์ เย็นสุดใจ. (2556). “การออกแบบเครื่องแต่งกายโดยใช้แบคที้รียเซลลูโลสชีวภาพที่ได้จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อข้าว.” วิทยานิพนธ์หลักสูตรดุษฎีบัณฑิต คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

กำจร แซ่เจียง. อาจารย์ประจำภาควิชาแฟชั่นและสิ่งทอมหาวิทยาลัยรังสิต 2562. สัมภาษณ์ 8 สิงหาคม

ไลฟ์สไตล์. (2560). วีแกนทางเลือกใหม่ของคนรักสุขภาพ. สืบค้นเมื่อ 12 สิงหาคม 2562. จาก

http://www.thaiticketmajor.com

สมบัติรุ่งศิลป์. บริษัทไทยนาโนเซลลูโลส 2562. สัมภาษณ์ 20 สิงหาคม

สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ. (2559) นวัตกรรมสิ่งทอสีเขียว.

สืบค้นเมื่อ 25 กันยายน 2562. จาก www.dip.go.th/files/Cluster/7.pdf

Greenpeace Thailand. (2561). ผลกระทบของภาวะโลกร้อน. สืบค้นเมื่อ 10 สิงหาคม 2562. จาก

www.greenpeace.org

louiselea1995. (2561). The Sustainability Effect 2019. สืบค้นเมื่อ 10 สิงหาคม 2562. จาก

issuu.com/louiselea1995/docs/vp_m_report_test

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-31