การสร้างอัตลักษณ์แฟชั่นสำหรับยูนิฟอร์มโรงแรมในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • ชไมพร มิตินันท์วงศ์ หน่วยปฏิบัติการวิจัยแฟชั่นและนฤมิตศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • พัดชา อุทิศวรรณกุล หน่วยปฏิบัติการวิจัยแฟชั่นและนฤมิตศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

บทคัดย่อ

การสร้างอัตลักษณ์แฟชั่นสำหรับยูนิฟอร์มโรงแรมในประเทศไทยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างคู่มือสำหรับการสร้างและออกแบบยูนิฟอร์มให้กับโรงแรมขนาดใหญ่ระดับ 4-5 ดาว ในประเทศไทย โดยอาศัยกระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณควบคู่กับการออกแบบเชิงศิลปกรรมศาสตร์ วิธีดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 4 ช่วง คือ ช่วงที่ 1 การสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญเเบบสนทนากลุ่ม (Focus Group) แบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ 1) กลุ่มนักการตลาดด้านสื่อสารข้อมูลโรงแรมระดับบน  2) กลุ่มผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องธุรกิจยูนิฟอร์มโรงแรมขนาดใหญ่ 3) กลุ่มผู้เชี่ยวชาญทางด้านสถาปัตยกรรมและการตกแต่งภายในโรงแรม ช่วงที่ 2 เป็นการเก็บข้อมูลจากแบบสอบถามจากพนักงานโรงแรมเกี่ยวกับรูปแบบการใช้งานชุดยูนิฟอร์มโรงแรมจำนวน 400 ชุด ช่วงที่ 3 การเก็บข้อมูลรูปภาพยูนิฟอร์มพนักงานแผนกส่วนหน้า ช่วงที่ 4 การวิเคราะห์องค์ประกอบและอัตลักษณ์ยูนิฟอร์มแฟชั่น แบ่งเป็น 3 ส่วน ส่วนที่ 1 การวิเคราะห์สไตล์จากสถาปัตยกรรมและการตกแต่งภายในของโรงแรมแต่ละกลุ่ม ส่วนที่ 2 การวิเคราะห์องค์ประกอบและอัตลักษณ์เฉพาะของโรงแรมที่พบในยูนิฟอร์มพนักงาน ส่วนที่ 3 การวิเคราะห์เพิ่มเติมเกี่ยวกับอัตลักษณ์เฉพาะของโรงแรมในกรณีศีกษา โรงแรมศาลารัตนโกสินทร์ กลุ่มคนเมืองหรูหรา (Urban Luxury) ผลการวิจัยพบว่า ยูนิฟอร์มโรงแรมในประเทศไทยสามารถแบ่งสไตล์ยูนิฟอร์มได้จากความเฉพาะทางด้านสถาปัตยกรรมและตกแต่งภายในโรงแรมได้เป็น 6 สไตล์คือ 1.ทันสมัยหรูหรา(Urban Luxury) 2.นักเดินทาง(Leisure) 3.นักธุรกิจ(Business) 4.อนุรักษ์ความเป็นไทย(Thai Culture) 5.ธรรมชาติแบบทะเล(Beach Sea) 6.ธรรมชาติแบบขุนเขา(Nature Tropical) โดยแสดงสัญญะผ่านยูนิฟอร์มเป็นโครงสร้างสี อารมณ์และองค์ประกอบการออกแบบของยูนิฟอร์ม และโรงแรมใช้อัตลักษณ์เฉพาะมาจากวัดซึ่งเป็นสถานที่ท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมบนพื้นที่ตั้งของโรงแรม โดยนำองค์ประกอบและอัตลักษณ์จากที่ได้แต่ละกลุ่มมาใช้ร่วมกับเทรนด์กระแสแฟชั่นเพื่อสร้างต้นแบบยูนิฟอร์มแฟชั่นให้กับโรงแรมในประเทศไทย ทั้งนี้งานวิจัยฉบับนี้ใช้กรณีศึกษาคือโรงแรมศาลารัตนโกสินทร์ กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นโรงแรมในกลุ่มคนเมืองหรูหรา(Urban Luxury) โดยพบว่าอัตลักษณ์เฉพาะของโรงแรมจากวัดสถานที่ท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมคือ วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร จึงได้นำผลสรุปลวดลายเฉพาะที่ได้จากวัดมาใช้ในการออกแบบร่วมกับแนวโน้มกระแสแฟชั่นและสร้างต้นแบบยูนิฟอร์มแฟชั่นของงานวิจัย

References

Anat Rafaeli. (1993). Tailor meanings : on the meaning and impact of organization

dress. 44.

Burgoon, J. K. (1978). The unspoken dialogue: An introduction to nonverbal communication. Houghton Mifflin School.

Chatchavalvong, T. (2018, June 18). The Importance of Uniforms in the Hospitality. (C. Mitinunwong, Interviewer)

Guenther E., Karch and Milk Peters. (2017). The Impact of Employee Uniforms on Job Satisfaction in the Hospitality Industry. Journal of Hotel & Business Managment.

Jettanathummajak, L. (2012). CREATIVE STUDY: A CASE STUDY OF UNIFORM'S IMPACT ON SOCIETY. Bangkok: Srinakharinwirot University.

Kathy Nelson and John Bowen. (2000). The Effect of Employee Uniforms on Employee Satisfaction. Cornell hotel and resterant administration quarterly, 86-95.

Katie Amey. (April 16, 2015). Corset belts, tailored tweed and the little black dress: Hotels where designer uniforms mean that the staff are more glamorous than the guests. Avalilable from Mail Online, Travel news: https://www.dailymail.co.uk/travel/travel_news/article-3031830/The-world-s-stylish- hotel-uniforms.html

Melewar, T. C., Karaosmanoglu, E., & Peterson, D. (2005). Corporate Identity: Concept, Components and Contribution. Journal of General Management. Vol.31 (2005), No. 1, 2005, p. 62.

Narender Suhag. (2015, September). Significance of Uniform in Hotel Operations: A Case Study with Special Emphasis to Food and Beverage Division. ATITHI Journal of Hospitality and Tourism. 2015, Vol.3 (September)

Singh, R. (2013, July). Importance of Uniform. (N. Suhag, Interviewer)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-30