เทคนิคการต่อหนังเพื่อพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ตกแต่งประเภท เฟอร์นิเจอร์
คำสำคัญ:
เทคนิคการต่อหนังบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมาย เพื่อศึกษาประเภทของเฟอร์นิเจอร์ ศึกษาเทคนิคการต่อหนัง ออกแบบและพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ตกแต่งประเภทเฟอร์นิเจอร์ สำรวจความพึงพอใจเพื่อประเมินผลการออกแบบ และ ถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการต่อหนังเพื่อพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ วิธีการดำเนินการวิจัย ศึกษาประเภทของเฟอร์นิเจอร์ จำนวน 3 ประเภท ได้แก่ประเภทบิวท์อิน ประเภทลอยตัว ประเภทน๊อคดาวน์ ศึกษาเทคนิคการต่อหนัง จำนวน 3 รูปแบบ ได้แก่แบบริมชนริม แบบทับซ้อน แบบถลกกลับ เพื่อนำมาออกแบบเฟอร์นิเจอร์ จำนวน 15 แบบ ให้ผู้เชี่ยวชาญ คัดเลือกแบบให้เหลือเพียง 6 แบบ ก่อนนำไปสอบถามความพึงพอใจเพื่อประเมินผลการออกแบบ จากกลุ่มตัวอย่างครั้งนี้คือผู้บริโภคผลิตภัณฑ์ใน ตลาดนัดสวนจตุจักร กรุงเทพฯ จำนวน 50 คน โดยคัดเลือกให้ เหลือเพียง1แบบ สร้างต้นแบบเฟอร์นิเจอร์ จำนวน 1 แบบ ผลการศึกษาการต่อหนังผู้วิจัยเลือกวิธีทับซ้อน ข้อดีการต่อหนังแบบทับซ้อน ได้รูปแบบที่อิสระในการต่อหนังหรือกำหนดแบบเองได้ตามต้องการ เลือกวิธีการเย็บได้หลากหลายและแข็งแรง ผลการศึกษาวิจัยจากผู้บริโภคพบว่า เฟอร์นิเจอร์ประเภทลอยตัว รูปแบบที่ 2 ในภาพรวมอยู่ในระดับดีที่สุด ( = 4.66) ทั้งนี้เมื่อพิจารณาค่าเฉลี่ยเรียงลำดับจากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านความสวยงามความน่าสนใจลวดลายและสีสัน ( = 5.00) ด้านรูปทรงเฟอร์นิเจอร์วัสดุทำโครงสร้าง ( = 4.85) ด้านเทคนิคการเย็บประกอบ( = 4.15) ตามลำดับ สุดท้ายผู้วิจัยได้ถ่ายทอดองค์ความรู้เรื่องการต่อหนังเพื่อพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ให้กับนักศึกษาสาขานวัตกรรมการออกแบบผลิตภัณฑ์
References
ธนาสวัสดิ์ ฤทธิรงค์. (2544). โครงการอบรมหลักสูตรพัฒนาการออกแบบกระเป๋า.
กรุงเทพฯ : พิมพ์ที่วิทยาลัยศิลปหัตถกรรมกรุงเทพ.
ธีระชัย สุขสด. (2544). การออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.
นิรัช สุดสังข์. (2543). การออกแบบอุตสาหกรรม. กรุงเทพฯ : สถาบันเทคโนโลยีพระจอม
เกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.
นวลน้อย บุญวงศ์. (2542). หลักการออกแบบ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่ง
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วงศ์ทอง เขียนวงศ์. (2561). การออกแบบเฟอร์นิเจอร์พักผ่อนภายในที่พักอาศัยจากไม้ไผ่ กรณีศึกษา กลุ่ม
ศิลปะไม้ไผ่ จังหวัดสุพรรณบุรี กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
สุนาตรา กาญจนนาภา. (ม.ป.ป.). ความรู้เรื่องเครื่องหนัง. กรุงเทพฯ : ทีพีพริ้นท์ จำกัด.