การศึกษาผ้าขาวม้าของชุมชนภาคกลาง เพื่อพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ประเภทกระเป๋าสำหรับสุภาพสตรี เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มเชิงพาณิชย์

ผู้แต่ง

  • ประภาศรี จันทร์โอ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

คำสำคัญ:

กระเป๋าสำหรับสุภาพสตรี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมาย  เพื่อศึกษาความเป็นมา ลวดลาย สีสันและรูปแบบผลิตภัณฑ์ของกลุ่มทอผ้าขาวม้าในชุมชนภาคกลาง  เพื่อออกแบบและพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ประเภทกระเป๋าสำหรับสุภาพสตรีเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มเชิงพาณิชย์และ เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ประเภทกระเป๋าสำหรับสุภาพสตรี

วิธีการดำเนินการวิจัย  ศึกษากลุ่มผู้ทอผ้าขาวม้าใน 5 จังหวัด ภาคกลาง คือจังหวัดนครปฐม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดกาญจนบุรี จังหวัดลพบุรี  และจังหวัดราชบุรี โดยสุ่มแบบเจาะจง เลือกศึกษาจังหวัดละ1กลุ่ม  ได้วิเคราะห์ลวดลายผ้าขาวม้าและคัดเลือกวัสดุหนังแท้ เพื่อนำมาออกแบบกระเป๋าสำหรับสุภาพสตรี จำนวน 25 แบบ นำแบบร่างกระเป๋าสำหรับสุภาพสตรีให้ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 ท่าน คัดเลือกแบบและวิเคราะห์ผล โดยคัดเลือกให้เหลือเพียง 10 แบบ แล้วผลิตต้นแบบกระเป๋าสำหรับสุภาพสตรี จำนวน 10 แบบ  เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อกระเป๋าสำหรับสุภาพสตรีจากผู้บริโภค จำนวน 100 คน และจัดฝึกอบรมถ่ายทอดองค์ความรู้ การทำกระเป๋าสำหรับสุภาพสตรีจากผ้าขาวม้า เป็นเวลา 2 วันให้กลุ่มทอผ้าขาวม้า โดยเลือกอบรมถ่ายทอดองค์ความรู้ ให้จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และจังหวัดลพบุรี  โดยส่งตัวแทนกลุ่มละ 5 คนรวมเป็นจำนวน 10 คน

ผลการศึกษาวิจัยพบว่า กลุ่มกี่กระตุกบ้านสะแกราย จังหวัดนครปฐม ผ้าขาวม้าลายแตงโม

กลุ่มหนองเครือบุญ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ผ้าลายน้ำไหล กลุ่มบ้านพวน จังหวัดลพบุรี  ผ้าขาวม้าลายไส้ปลาไหล กลุ่มผ้าทอมือบ้านไร่ จังหวัดราชบุรี ผ้าขาวม้าลายสก็อต กลุ่มผ้าขาวม้าร้อยสีบ้านหนองขาว จังหวัดกาญจนบุรี ผ้าขาวม้าลายตาจัก

กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีอายุต่ำกว่า 25ปี คิดเป็นร้อยละ 30.0 รองลงมา อายุระหว่าง 36-40 ปีขึ้นไป มีการศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี คิดเป็นร้อยละ 53.0 รองลงมาคือระดับต่ำกว่าปริญญาตรี คิดเป็นร้อยละ

27.0 และระดับปริญญาโท คิดเป็นร้อยละ 18.0 มีอาชีพส่วนใหญ่เป็นประกอบอาชีพอิสระมากที่สุด เป็นร้อยละ 26.0 รองลงมาคือรับราชการ คิดเป็นร้อยละ 24.0 ส่วนใหญ่มีรายได้ ต่ำกว่า 15,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 37.0 รองลงมาคือ รายได้ระหว่าง 15,001 – 20,000 บาท

         ผลการศึกษาระดับความพึงพอใจในด้านต่างๆ ที่มีต่อกระเป๋าสำหรับสุภาพสตรีมีคะแนนเฉลี่ยสูงสุด 3 อันดับได้แก่ รูปแบบที่ 1 และ 9 พบว่า ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.62) รองลงมาคือรูปแบบที่ 3  ( = 4.61)  และผลการถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กลุ่มหนองเครือบุญ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และกลุ่มบ้านพวน จังหวัดลพบุรี  ระดับความพึงพอใจในด้านต่างๆภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

References

จรัสพิมพ์ วังเย็น. 2556. การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากผ้าขาวม้าโดยใช้แนวคิดภูมิปัญญาท้องถิ่นกับ

แนวคิด การออกแบบแฟชั่นเพื่อพัฒนาอาชีพและผลิตภัณฑ์ชุมชน อำเภอวานรนิวาส

จังหวัด. รายงานการวิจัย. คณะอุตสาหกรรมสิ่งทอและออกแบบแฟชั่น มหาวิทยาลัย

เทคโนโลยีราช มงคลพระนคร.

ประภาศรี โพธิ์ทอง. 2548. การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์กระเป๋าหนังและบรรจุภัณฑ์ของกลุ่ม

สตรีผลิตกระเป๋าหัตถกรรมหนังแท้ จังหวัดปทุมธานี. รายงานการวิจัย. คณะศิลปกรรม

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ธีระชัย สุขสด. 2544. การออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.

นวลน้อย บุญวงศ์. 2542. หลักการออกแบบ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่ง

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ประสพ ลี้เหมือดภัย. 2544. เครื่องหนังพื้นฐาน. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.

นิรัช สุดสังข์. 2543. การออกแบบอุตสาหกรรม. กรุงเทพฯ : สถาบันเทคโนโลยีพระจอม

เกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-30