กลวิธีการบรรเลงระนาดเอกเพลงรัวลาเดียว กรณีศึกษาทางครูประสิทธิ์ ถาวร

ผู้แต่ง

  • ถาวร ศรีผ่อง คณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
  • ปราโมทย์ ด่านประดิษฐ์ คณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลวิธีการบรรเลงและกลอนระนาดเอกเพลงรัวลาเดียว ในเพลงหน้าพาทย์ไหว้ครูกรณีศึกษาทางครูประสิทธิ์ ถาวร เจาะจงศึกษาจากแถบบันทึกเสียงการบรรเลงระนาดเอกโดยนายนัฐพงศ์ โสวัตร ในพิธีไหว้ครูเมื่อปี พ.ศ.2531 โดยถอดความบันทึกโน้ตเฉพาะทางระนาดเอกเพลงรัวต่อท้ายสาธุการกลอง ใช้การสัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการจากผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องกับครูประสิทธิ์ ถาวร จำนวน 5 ท่าน โดย ระหว่างปี 2561-2563

          ผลการวิจัยพบว่า เพลงรัวลาเดียวมีโครงสร้างเป็นเพลงท่อนเดียว แบ่งเป็น 6 จังหวะ วรรคหลังจะเปิดเป็นจังหวะลอยบรรเลงยืนเสียง ท ม ล ซ ล และ ซ ตามลำดับ ทำให้เครื่องดำเนินทำนองสามารถประดิษฐ์ทางเพิ่มเติมได้โดยเฉพาะระนาดเอก จากการวิเคราะห์กลวิธีการบรรเลงระนาดเอก แบ่งเป็นกลุ่มกลวิธี การรัว 2 รูปแบบ ได้แก่ การรัวเสียงเดียวและการรัวขึ้น การตีกรอคู่ 8 และกรอคู่ 5 กลุ่มการสะบัด-สะเดาะแบ่งเป็น 3 รูปแบบ ได้แก่ สะบัดตัดคอ สะบัดผสมมือและสะเดาะคู่ 4 และกลุ่มการตีขยี้พบ 2 รูปแบบ ได้แก่ ขยี้นอนวันและขยี้คู่ 8 ด้านกลอนระนาดเอกเพลงรัวลาเดียวพบ กลอนสับ ถูกนำมาใช้บรรเลงมากที่สุด

References

จิติกานต์ จินารักษ์. (2551). “กระบวนการถ่ายทอดการบรรเลงระนาดเอกของครูประสิทธิ์ ถาวร

กรณีศึกษาชุดเพลินเพลงพาทย์ระนาดเอก”. วิทยานิพนธ์ปริญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล.

ฉลาก โพธิ์สามต้น. ผู้เชี่ยวชาญดนตรีไทย 2561. สัมภาษณ์. 21 เมษายน

นัฐพงศ์ โสวัตร. ผู้เชี่ยวชาญดนตรีไทย สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ 2561. สัมภาษณ์. 25 มีนาคม

นัฐพงศ โสวัตร. (2538) “บทบาทและหนาที่ของเพลงตระไหวครูในพิธีไหวครูดนตรีไทย”.

วิทยานิพนธศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (วัฒนธรรมศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.

ถาวร ศรีผอง. (2530). “การวิเคราะหและเปรียบเทียบการแปรทางระนาดเอกเพลงสาธุการ”.

ปริญญานิพนธศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ประสิทธิ์ ถาวร. (2532). กลอนระนาด ที่ระลึกในโอกาสแสดงมุฑิตาจิต. กรุงเทพมหานคร: รักษ์สิปป์.

ปราโมทย์ ด่านประดิษฐ์ จุฑาศิริ ยอดวิเศษ และ พรรณระพี บุญเปลี่ยน. (2562). “การพัฒนาแบบฝึกทักษะ

ทางเดี่ยวฆ้องวงใหญ่เพลงแป๊ะสามชั้น”. วารสารศิลปกรรมศาสตร์วิชาการ วิจัย และงาน

สร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. 6,1(มกราคม – มิถุนายน), 267-291

ปัญญา รุ่งเรือง. (2556). ประวัติดนตรีไทย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช จำกัด.

พงษ์ศิลป์ อรุณรัตน์. (2546). การบรรเลงดนตรีประกอบพิธีและประเพณีชีวิต. การประชุมทางวิชาการเรื่อง

ดนตรีพิธีกรรม เนื่องในโอกาสครบรอบ 75 ปี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการจัดงาน

ดนตรีไทยอุดมศึกษา ครั้งที่ 37. กรุงเทพมหานคร : บริษัท เท็คโปรโมชั่น แอนด์ แอดเวอร์ไทซิ่ง จำกัด.

พิษณุ บุญศรีอนันต์. (2551). “การศึกษากลอนระนาดเอกและเทคนิคการบรรเลงระนาดเอกเพลงตระ

ในพิธีไหว้ครูดนตรีไทยบรรเลงโดยครูนัฐพงศ์ โสวัตร”. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต

บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ,

ศักดิ์ชัย ลัดดาอ่อน. ผู้เชี่ยวชาญดนตรีไทย สำนักการสังคีต กรมศิลปากร 2562.สัมภาษณ์. 20 ธันวาคม

สวง ศรีผ่อง. (2546). คุณอาประสิทธิ์ ถาวรเป็นเพชรล้ำค่าของประเทศไทย. อนุสรณ์งานพระราชทาน

เพลิงศพนายประสิทธิ์ ถาวร ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีไทย). ณ ฌาปนสถาน

วัดมกุฎกษัตริยาราม วันอาทิตย์ที่ 9 มีนาคม 2546. กรมศิลปากร สำนักงานคณะกรรมการ

วัฒนธรรมแห่งชาติ. กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัด ไอเดียสแควร์.

________. ผู้เชี่ยวชาญดนตรีไทย บ้านศรีผ่อง 2562. สัมภาษณ์. 8 กุมภาพันธ์, 5 มิถุนายน, 23 ตุลาคม,

เสนาะ หลวงสุนทร. ศิลปินแห่งชาติ (สาขาการแสดง) 2562.สัมภาษณ์. 15 มิถุนายน, 25 ตุลาคม

อุทัย ศาสตรา. (2553). “การศึกษากระบวนการถ่ายทอดการบรรเลงระนาดเอกของครูประสิทธิ์ ถาวร

ศิลปินแห่งชาติ”. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Sumrongthong, Bussakorn. (1997). “Melodic Organization and Improvisation In Thai Music, With Special Reference To The Thaang Ranaat Eek”. Thesis submitted for the

Degree of Doctor of Philosophy University of York.

Wong, Deborah. (2000). Ethnomusicology in Thailand The cultural politics of redefinition

and reclamation. University of California, Riverside.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-30