เครื่องแต่งกายเชิงวัฒนธรรม : แฟชั่นไทลื้อร่วมสมัย

ผู้แต่ง

  • ใจภักดิ์ บุรพเจตนา คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

บทคัดย่อ

การวิจัยมีแนวคิดมาจากวัฒนธรรมสร้างสรรค์ โดยเชื่อมโยงความงามของศิลปวัฒนธรรมด้านผ้าทอพื้นถิ่นแบบดั้งเดิมสู่งานออกแบบร่วมสมัย งานวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประเภทและคุณลักษณะ         ของเครื่องแต่งกายผ้าทอไทลื้ออำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงรายเพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการออกแบบ       เครื่องแต่งกายเชิงวัฒนธรรมและเป็นแนวทางในการเพิ่มมูลค่าสิ่งทอเชิงพาณิชย์ การวิจัยใช้เชิงปริมาณและ  เชิงคุณภาพ ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ 1. การประเมินคุณลักษณะของเครื่องแต่งกายผ้าทอไทลื้อ ผลการประเมินพบว่า อัตลักษณ์ของเครื่องแต่งกายผ้าทอไทลื้อ คือ 1) รูปแบบเครื่องแต่งกายชายหญิงของไทลื้อแบบดั้งเดิม 2) เทคนิคการทอและลวดลายได้แก่ ผ้าทอเกาะล้วง ลวดลายเรขาคณิต ผ้าทอจก ลวดลายจากพืชและสัตว์ ผ้าทอขิด ลวดลายสัตว์ตามความเชื่อ 3) สีที่โดดเด่น คือ สีคราม สีแดง และ สีขาว ขั้นตอนที่2            การประเมินความต้องการผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมายที่มีต่อรูปแบบแฟชั่นเครื่องแต่งกาย โดยนำผลการประเมินมาเป็นแนวทางการออกแบบ ขั้นตอนที่3 การออกแบบแฟชั่นเครื่องแต่งกาย ใช้การประยุกต์ลวดลาย             และกระบวนการผลิตจากอัตลักษณ์ผ้าทอและเครื่องแต่งกายไทลื้อร่วมกับนำสไตล์แฟชั่นแนวดีคอนสตรัคชั่น (Deconstruction) จัดทำเป็นคอลเลคชั่นไทลื้อคอนเทมโพลาลี่สำหรับผู้บริโภคเจนเนอเรชั่นวาย ที่มีบุคลิกภาพแบบสร้างสรรค์ (Creative personality) นิยมการแต่งกายที่มีเอกลักษณ์ ประกอบด้วย          เครื่องแต่งกายชุดปาร์ตี้ที่สามารถนำมาผสมผสาน (Mixed and matched) ในการสวมใส่ และเครื่องประกอบตกแต่งงานแฟชั่น (Accessories) ได้แก่ กระเป๋า รองเท้า ผ้าคลุมไหล่ สำหรับเครื่องแต่งกายเชิงวัฒนธรรมตามความนิยมแนวแฟชั่นในปัจจุบัน

References

ทรงศักดิ์ ปรางค์วัฒนากุล. 2551. มรดกวัฒนธรรมผ้าทอไทลื้อ. ภาควิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ทรงศักดิ์ ปรางค์วัฒนากุล. 2559. พิพิธภัณฑ์ลื้อลายคำ สืบสานสายใยผ้าทอไทลื้อ. กรมส่งเสริม

วัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม. นนทบุรี : เอ.พี.กราฟิคดีไซน์และการพิมพ์.

สถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. 2555. อัตลักษณ์ไทย ทุนความคิดทุนสร้างสรรค์.

กรุงเทพมหานคร: กระทรวงอุตสาหกรรม.

ศิวรี อรัญนารถ. 2558. นวัตกรรมตราสินค้าแฟชั่นไลฟ์สตล์ : ทุนวัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร สำหรับ

ผู้บริโภคเจนเนเรชั่นเอเชีย. วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาศิลปกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต คณะ

ศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย. 2552. อุตสาหกรรมวัฒนธรรม/อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ คือ

อะไร. Online.http://www. ocac.go.th. 25 ธันวาคม 2557.

อรัญ วานิชกร. 2557. องค์ความรู้และภูมิปัญญาไทย : การออกแบบและสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ร่วมสมัย.

บทความวารสาร สถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สถาบันส่งเสริมการออกแบบและนวตักรรมเพื่อการค้า. Made for Asia 5 Consumer Trends. [Online].

แหล่งที่มา: www.ditp.com [25 มิถนุายน 2557]

Trend A/W 16-17 [online] แหล่งที่มา https://www.wgsn.com

Throsby David. Economic and Culture. United Kingdom: University Press Cambridge, 2001

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-30