ถอดรหัสงานศิลป์ของศิลปินไทยเพื่อสร้างสรรค์สภาพแวดล้อมภายในโรงแรมบูติค

ผู้แต่ง

  • กรวรรณ งามวรธรรม คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
  • ลลิตา นุ่มไทย คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการถอดรหัสงานศิลป์ของศิลปินไทยเพื่อการสร้างสรรค์สภาพแวดล้อมภายในโรงแรมบูติค 2) พัฒนาการสร้างสรรค์สภาพแวดล้อมภายในโรงแรมบูติคโดยใช้รหัสงานศิลป์ของศิลปินไทยอย่างเหมาะสม โดยทำการสร้างสรรค์สภาพแวดล้อมภายในอาคารเก่าอนุรักษ์ย่านราชดำเนิน เน้นกระบวนการพัฒนาสร้างสรรค์บนหลักการออกแบบสภาพแวดล้อมภายในผสานแนวคิดจากความต้องการความสวยงามแปลกตาและความร่วมสมัยของสถานที่โดยได้รับแรงบันดาลใจจากงานศิลป์ 14 ชุด ซึ่งในงานวิจัยนี้ใช้วิธีการเชิงคุณภาพในขั้นตอนการศึกษาและพัฒนา โดยมีประชากรและแหล่งข้อมูลคือ ผู้แทนเจ้าของ 2 คน และกรณีศึกษา 4 แห่ง เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสังเกต และแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง มีการประเมินคุณลักษณะของงานสร้างสรรค์ด้วยวิธีการเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพร่วมกันโดยผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบ 5 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบประมาณค่า 5 ระดับ และให้แสดงความคิดเห็น ผลวิจัยพบว่าสภาพแวดล้อมภายในที่สร้างสรรค์โดยประยุกต์รหัสงานศิลป์ของศิลปินไทยมาผสานร่วม มีคุณภาพของคุณลักษณะสภาพแวดล้อมในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.6 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ที่ 0.21 จากคุณลักษณะ 5 ด้าน คือ ความสวยงามแปลกตา บ่งบอกอัตลักษณ์งานศิลป์ของศิลปินไทย มีเอกลักษณ์เฉพาะ สร้างความน่าสนใจให้กับสถานที่ และมีความลงตัวในการผสานความงามร่วมกับประโยชน์ใช้สอย ในระดับมากที่สุด และผลการประเมินเชิงคุณภาพยืนยันว่าการพัฒนางานสร้างสรรค์สภาพแวดล้อมภายในโรงแรมบูติคโดยใช้รหัสงานศิลป์ของศิลปินไทยมีความเหมาะสมมาก

References

สันต์ สุวัจฉราภินันท์ ทวีศักดิ์ เกียรติวีระศักดิ์ และรัฎฐา ฤทธิศร. (2555). “สัญวิทยา: การถอดรหัสและการประยุกต์อัตลักษณ์ไทยเพื่อเป็นแนวทางการออกแบบ” ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ภีมณัช ภัทธภาสิทธิ์. (2555). การศึกษาเครื่องประดับทองสมัยกรุงศรีอยธุยา สู่การออกแบบตกแต่งภายใน เดอะทิพยาภรณ์ บูติคโฮเทล. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ระชานนท์ ทวีผล. (2560). แนวคิดและการดาเนินธุรกิจของโรงแรมบูติค ในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 1-17.

ทิพย์สุคนธ์ อิทธิประทีป. (2560). ศิลปะป๊อปในงานตกแต่งงภายในโรงแรมบูติค กรณีศึกษาโรงแรมมิสติค เพลส รูมส์ อินบางกอก. Veridian E-Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ. 10, 2 (พ.ค.-ส.ค.), 1-15.

Berlyne, D. (1960). Conflict, arousal, and curiosity. New York, NY, US: McGraw-Hill Book Company.

Craik, K. H. (1971). “The assessment of places” In P. McReynolds (ed.), Advances in Psychological Assessment. (Vol. 2, pp. 40-62). Palo Alto, CA: Science and Behavior Books.

Harrison, K. T. (2019). What are Boutique Hotels? Retrieved 04 January 2020. from Tripsavvy.com: https://www.tripsavvy.com/what-is-a-boutique-hotel-definition-and-examples-4172980/

Innvision Hospitality. (2019). What is Boutique Hotel Design? Retrieved 04 January 2020. from innvision.net: https://innvision.net/boutique-hotel-design/

Ngamvoratham, K. (2019). “Interior environment design for a leisure learning area in the National Gallery of Thailand” Mediteranean Journal of Social Sciences 10, 2 March, pp. 99-111.

PJ. (2019). Variety & Lifestyle. Retrieved 01 February 2020. from www.brandbuffet.in.th: https://www.brandbuffet.in.th/2019/09/tat-artists-influencers-pop-culture-to-travel-to-muang-rong-in-asean/

Renjel, R. J. (2016). Interior Plan: Concepts and Exercise. (2nd ed.). New York: Fairchild Books

Wanglabcharoen, N. (2020). Hotel Growth 2020-2022. Retrieved 24 January 2020. from theboutiqueking.com: https://theboutiqueking.com/blogs/news/hotel-growth-2020-2022

Zumthor, P. (2006). Atmosphere: Architectural environments, Surrounding object. Basel: Birkhauser.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-30