นวัตกรรมแฟชั่นไลฟ์สไตล์จากฐานการผลิตจังหวัดน่านสู่ตลาดเมืองหลวงพระบาง
คำสำคัญ:
นวัตกรรมสิ่งทอ, แฟชั่นไลฟ์สไตล์, การเพิ่มมูลค่าบทคัดย่อ
“นวัตกรรมแฟชั่นไลฟ์สไตล์จากฐานการผลิตจังหวัดน่านสู่ตลาดเมืองหลวงพระบาง” เป็นการพัฒนาสร้างสรรค์นวัตกรรมสิ่งทอแฟชั่น ควบคู่กับการออกแบบ เพื่อสร้างตราสินค้าและผลิตภัณฑ์แฟชั่นไลฟ์สไตล์ โดยใช้กระบวนการเชื่อมโยงสร้างคลัสเตอร์ด้านวัตถุดิบ กระบวนการผลิตและการจัดจำหน่ายระหว่างเมืองคู่แฝด โดยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ ควบคู่กับการสร้างนวัตกรรมสิ่งทอ และการสรรค์ผลงานทางศิลปกรรมศาสตร์ เชื่อมโยงการวิจัยสู่ชุมชน
จากการวิจัยพบว่า 1. การสร้างตราสินค้าที่สอดคล้องกับแนวโน้มกระแสนิยมที่กลุ่มตัวอย่างผู้บริโภคให้ความสนใจคือเรื่องความยั่งยืน สินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม อาทิการย้อมสีธรรมชาติ การใช้เส้นใยธรรมชาติ ซึ่งเป็นข้อสรุปแนวทางไปสู่การสร้างและออกแบบตราสินค้าซีโร่เวส (ZERO WASTE) เพื่อพัฒนาและเพิ่มมูลค่าให้กับนวัตกรรมสิ่งทอ โดยจากการสำรวจวิเคราะห์สิ่งทอย้อมสีธรรมชาติของจังหวัดน่านซึ่งเป็นฐานการผลิต พบว่าจุดเด่นคือการย้อมสีจากกากเมล็ดโกโก้ ร่วมกับสีธรรมชาติจากพืชในท้องถิ่นชนิดอื่นๆ เพื่อตอบสนองกับความต้องการของตลาดสินค้าแฟชั่นไลฟ์สไตล์ในระดับบน ณ จุดจำหน่ายเมืองหลวงพระบาง 2. รูปแบบสไตล์ของผลิตภัณฑ์ต้องมีรูปแบบคอนเทมโพรารี่ชิค (Contemporary Chic) เพราะผู้บริโภคชื่นชอบในวัฒนธรรมอย่างร่วมสมัย มีรูปแบบการดำรงชีวิตแบบคนเมืองจึงนิยมสินค้าที่มีการออกแบบสร้างสรรค์ให้เหมาะกับไลฟ์สไตล์
ทั้งนี้ในการเพิ่มมูลค่านวัตกรรมสิ่งทอแฟชั่นไลฟ์สไตล์ จากฐานการผลิตจังหวัดน่านสู่ตลาดเมืองหลวงพระบาง สอดคล้องกับแนวคิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน(Sustainable Development) โดยเป็นการคิดเชิงระบบ (systems thinking) ซึ่งอาศัยความเข้าใจในความเชื่อมโยงและสมดุลระหว่างสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคมทั้งนี้การใช้แนวคิดการทำงานตามระบบอุตสาหกรรมแฟชั่นในการสร้างตราสินค้าแฟชั่นไลฟ์สไตล์ เพื่อสร้างตราสินค้า การออกแบบสินค้าภายใต้แนวคิดของความยั่งยืน และการสร้างคลัสเตอร์ที่ทำงานร่วมกันระหว่างสองประเทศ นำมาซึ่งโมเดลต้นแบบของการเพิ่มมูลค่าให้กับนวัตกรรมสิ่งทออย่างยั่งยืน
References
ชัยอนันต์ สมุทวณิช, (2540). วัฒนธรรมคือทุน. กรุงเทพฯ: พี.เพรส. 2540.
พัดชา อุทิศวรรณกุล, (2557). การจัดการสินค้าแฟชั่น. กรุงเทพมหานคร: คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (อัดสำเนา)
พัดชา อุทิศวรรณกุล, ศิวรี อรัญนารถ, สิรีรัตน์ จารุจินดา และกาวี ศรีกูลกิจ, (2562). รายงานฉบับสมบูรณ์ การเพิ่มมูลค่านวัตกรรมสิ่งทอผลิตภัณฑ์แฟชั่นไลฟ์สไตล์จากฐานการผลิตจังหวัดน่านสู่ตลาดเมือง หลวงพระบาง. สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. (อัดสำเนา)
ภทร ภานุไชยเชียงของ และนภวรรณ ตันติเวชกุล, (2558). กลยุทธ์การสร้างและการสื่อสารตราสินค้า รูปแบบ. สืบค้นเมื่อง 20 มิถุนายน 2558 จาก http://facstaff.swu.ac.th
สำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน. (2562). เปิดเส้นทางเมืองคู่แฝดจังหวัดน่านสู่ เมืองหลวงพระบาง. สืบค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2560 จากhttps://gnews.apps.go.th
อรรถพนธ์ พงษ์เลาหพันธุ์ และพัดชา อุทิศวรรณกุล, (2561). นวัตกรรมอัตลักษณ์ตราสินค้าสิ่งทอแฟชั่นไลฟ์ สไตล์สำหรับสตรีสูงวัย. วารสารศิลปกรรมศาสตร์วิชาการ วิจัย และงานสร้างสรรค์. มหาวิทยาลัย ราชมงคลธัญบุรี, 5(2), 2-26.
Eiwlee Industrial Zappapy. (2557). Environmentally Friendly. สืบค้นเมื่อ 10 มิถุนายน 2557 จาก http://www.zappaya.com
Leslie Davis Burns, Kathy K. Mullet, Nancy O. Bryant, The Business of Fashion Designing, Manufacturing, and Marketing, The Fourth Edition