การสร้างสรรค์ตราสินค้าแฟชั่นจากนวัตกรรมการนำกลับมาใช้ใหม่เพื่อเพิ่มมูลค่า สำหรับกลุ่มแอนโดรจีนัสเมล (Androgynous male)

ผู้แต่ง

  • ราวิน รุ่งสว่าง หน่วยปฏิบัติการวิจัยแฟชั่นและนฤมิตศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ศิวรี อรัญนารถ หน่วยปฏิบัติการวิจัยแฟชั่นและนฤมิตศิลป์ ภาควิชานฤมิตศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

แอนโดรจีนัสเมล, การนำกลับมาใช้ใหม่เพื่อเพิ่มมูลค่า, ตราสินค้าแฟชั่น, นวัตกรรม

บทคัดย่อ

ปัจจุบันปัญหาขยะเป็นปัญหาใหญ่ระดับโลก ด้วยการเจริญเติบโตของประชากรที่เพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็วและแนวโน้มการใช้สอยสินค้าที่มีระยะเวลาสั้นลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุตสาหกรรมแฟชั่นและสิ่งทอที่สร้างขยะอย่างมหาศาล บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของการวิจัยเพื่อหาแนวทางในการสร้างสรรค์ตราสินค้าจากนวัตกรรมการนำกลับมาใช้ใหม่เพื่อเพิ่มมูลค่า โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแนวทางในการนำขยะสินค้าแฟชั่น หรือสิ่งของที่ไม่ใช้เเล้ว เพื่อให้เกิดเป็นสินค้าชิ้นใหม่ที่สามารถยืดอายุและชะลอวงจรพฤติกรรมการบริโภคให้ช้าลง โดยเป็นการสร้างสรรค์ตราสินค้าเพื่อตอบสนองกลุ่มแอนโดรจีนัสเมล (Androgynous male)  ซึ่งมีแนวโน้มการเพิ่มขึ้นในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง

          ผลจากการศึกษาพบว่า 1. การสร้างตราสินค้าสำหรับกลุ่มแอนโดรจีนัสเมลที่มีแนวคิดในการแต่งตัวแบบต่อต้านกระแสนิยม (Anti-fashion) ใช้แนวคิดการนำกลับมาใช้ใหม่ในการกำหนดอัตลักษณ์ตราสินค้า ในโอกาสการสวมใส่งานเลี้ยงสังสรรค์ ในลักษณะของตราสินค้าจากนักออกแบบ(Designer brand) 2. ในการออกแบบคอลเลคชั่นเสื้อผ้าต้องประกอบด้วย การคัดเลือกวัตถุดิบเก่า, การเก็บรายละเอียดชิ้นงาน(Detail Fininshing)ที่เรียบร้อย, การผสมผสาน(Mix and Match) ระหว่างไอเทมที่แสดงให้เห็นถึงวัตถุเก่าร่วมกับการสร้างสรรค์ไอเทมใหม่ โดยใช้องค์ประกอบในการออกแบบเครื่องแต่งกายกลุ่มแอนโดรจีเนียสประกอบด้วย สไตล์ 90s, สตรีทสปอร์ต(Street Sport), แคชชวลพังก์(Casual Punk) และการผสมผสานข้ามเพศ(Cross Gender) มีโครงร่างเงาเข้ารูป (Slim fit) แบบไม่สมมาตร (Asymetry)

References

ฉัตรรวี เสนธนิสศักดิ์. (2560). 100ปีแห่งความข้ามเพศ. สืบค้นเมื่อ 6 เมษายน 2561 จาก https://thematter.co/life/androgynous/32687

ฐานเศรษฐกิจ. (2563). ส่องวงการแฟชั่นสเปนเมื่อเทรนด์ธุรกิจแฟชั่นเพื่อความยั่งยืนมาแรง. สืบค้นเมื่อ 1 เมษายน 2562 จาก https://www.thansettakij.com/content/world/419719

ปรีดา ศรีสุวรรณ์. (2561). นวัตกรรมแฟชั่นยั่งยืน. ศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต. คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักข่าวผู้จัดการออนไลน์. (2562). พาณิชย์เผย Upcycle มาเเรงในแคนาดาแนะผู้ส่งออกไทยเร่งศึกษา. สืบค้นเมื่อ 6 เมษายน 2561 จาก https://mgronline.com/smes/detail/9620000014559

Cammila Collar. (2561). The future is androgynous. สืบค้นเมื่อ 1 เมษายน 2561 จาก https://medium.com/s/pop-feminism/the-future-is-androgynous

Sarah Marsh. (2559). The gender-fluid generation. สืบค้นเมื่อ 31 มีนาคม 2561 จาก https://www.theguardian.com/commentisfree/2016/mar/23/gender-fluid-generation- young-people-male-female-trans

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-21