การวิเคราะห์ทัศนศิลป์ของฤกษ์ฤทธิ์ ตีระวนิช สุธี คุณาวิชยานนท์ และสาครินทร์ เครืออ่อน ภายใต้บริบทสุนทรียศาสตร์เชิงสัมพันธ์

ผู้แต่ง

  • สุริยะ ฉายะเจริญ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • สุชาติ เถาทอง คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • ภานุ สรวยสุวรรณ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

คำสำคัญ:

การวิเคราะห์, ทัศนศิลป์, สุนทรียศาสตร์เชิงสัมพันธ์, ศิลปะร่วมสมัย

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาแนวคิดสุนทรียศาสตร์เชิงสัมพันธ์ของนิโกลาส์ บูริโยต์ อันนำไปสู่การวิเคราะห์กรณีศึกษางานทัศนศิลป์ของฤกษ์ฤทธิ์ ตีระวนิช สุธี คุณาวิชยานนท์ และสาครินทร์ เครืออ่อน และเพื่อสร้างองค์ความรู้ด้านทัศนศิลป์ร่วมสมัยด้วยวิธีการศึกษาจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง บทความ งานวิจัย ผลงานศิลปะ และการสัมภาษณ์ อันนำไปสู่การวิเคราะห์และสังเคราะห์

ผู้วิจัยได้ข้อสรุปว่า ผลงานของศิลปินไทยทั้ง 3 ท่าน มีปัจจัยร่วม 4 ประเด็น คือ (1) การครอบคลุม ซึ่งก็คือการสร้างขอบเขตในเชิงความคิด ปฏิบัติการ และกิจกรรมที่เกิดขึ้นในพื้นที่ทางศิลปะ (2) การมีส่วนร่วม ถือเป็นหัวใจสำคัญที่ศิลปินมีหน้าที่เชิญชวนและกระตุ้นให้สาธารณชนสนใจเข้ามามีปฏิสัมพันธ์ในพื้นที่หรือปรากฏการณ์ทางศิลปะนั้น ๆ (3) อาณาบริเวณ อันหมายถึง ลักษณะทางกายภาพของพื้นที่ในปฏิบัติการทางศิลปะที่อาจเป็นพื้นที่ปิดที่มีขอบเขตชัดเจนหรือเป็นพื้นที่เปิดหรือพื้นที่สาธารณะ ซึ่งศิลปินต้องศึกษาและวางแผนการจัดการอย่างคร่าว ๆ ก่อนสถานการณ์จริง และ (4) ร่องรอยและหลักฐาน หมายถึง วิธีการในการบันทึกและเก็บข้อมูลของปรากฏการณ์ทางศิลปะนั้นในรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งปัจจัยร่วมเหล่านี้ ศิลปินแต่ละท่านย่อมจำเป็นต้องทำการออกแบบและจัดการให้สัมพันธ์กับแนวความคิดและแนวทางปฏิบัติการเพื่อสอดรับกับเป้าหมายในการนำเสนอประสบการณ์ทางสุนทรียะนั้น

References

เจตนา นาควัชระ. (2546). ศิลป์ส่องทาง. กรุงเทพฯ: คมบาง.

ถนอม ชาภักดี. (2557). “การสร้างสรรค์สื่อเรื่อง กระบวนการวิจารณ์ทัศนศิลป์ในประเทศไทยช่วงปี พ.ศ.2530-2550: ภายใต้บริบทของโลกกาภิวัฒน์และโลกศิลปะ”. วิทยานิพนธ์หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธนาวิ โชติประดิษฐ์. (2549). “อะไรก็เป็นศิลปะ (หรือเปล่า...?)”. ดำรงวิชาการ. 2, 5, 210-235.

ภาณุ บุญพิพัฒนาพงศ์. (2560). ศิลปะที่คุณแดกได้: ประวัติศาสตร์ของอาหารในฐานะงานศิลปะ. สืบค้นเมื่อ 30 สิงหาคม 2562. จาก https://thematter.co/thinkers/art-you-can-eat/37406

มานิต ศรีวานิชภูมิ. (2544). สูจิบัตรนิทรรศการประวัติศาสตร์และความทรงจำ โดย มานิต ศรีวานิชภูมิ, สุธี คุณาวิชยานนท์ และ อิ๋ง กาญจนะวณิชย์ จัดแสดง ณ หอศิลปวิทยนิทรรศน์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 15 สิงหาคม - 1 กันยายน 2544. กรุงเทพฯ: หอศิลป์วิทยนิทรรศน์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มานิต ศรีวานิชภูมิ. (2548). นีโอ-ชาตินิยม : นิทรรศการศิลปการเมืองร่วมสมัย โดย มานิต ศรีวานิชภูมิ, สุธี คุณาวิชยานนท์, อิ๋ง กาญจนะวณิชย์, วสันต์ สิทธิเขตต์, ชาติชาย ปุยเปีย, นพไชย อังควัฒนะพงษ์, สาครินทร์ เครืออ่อน และสันติ ทองสุข. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วรเทพ อรรคบุตร. (2548). เข้านอก/ออกใน: รวมบทสัมภาษณ์และบทความศิลปะร่วมสมัย (พ.ศ.2546-48). กรุงเทพฯ: สเกล.

วรเทพ อรรคบุตร. (2561). และแล้วความรู้สึก 'ร่วมสมัย' ก็ปรากฏ. กรุงเทพฯ: คอมม่อนบุ๊คส.

วิจิตร อภิชาตเกรียงไกร. (2560). “การสร้างสรรค์ผลงานโครงการสาธารณศิลป์เพื่อนิเวศสุนทรีย์ในวิถีวัฒนธรรมข้าวไทย”. Veridian E-Journa. 10, 1. 2054-2076.

สาครินทร์ เครืออ่อน. 2562. สัมภาษณ์ 30 เมษายน 2562.

สำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว กรุงเทพมหานคร และหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร. (2555). ศิลปะสมัยรัชกาลที่ 9: นิทรรศการศิลปะไทยเท่ จากท้องถิ่นสู่อินเตอร์. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

สุชาติ เถาทอง. (2559). ศิลปะวิจัย สร้างวิชาการแบบการปฏิบัติสร้างศิลปะ. ชลบุรี: คณะศิลปกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา.

สุธี คุณาวิชยานนท์. (2546). จากสยามเก่าสู่ไทยใหม่: ว่าด้วยความพลิกผันของศิลปะจากประเพณีสู่สมัยใหม่. กรุงเทพฯ: บ้านหัวแหลม.

สุธี คุณาวิชยานนท์. (2561). ศิลปะสมัยใหม่และร่วมสมัย: ตะวันตกและไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ทวีวัฒน์การพิมพ์ จำกัด.

อุทิศ อติมานะ. (2554). ศิลปะและสุนทรียภาพหลังสมัยใหม่: ในบริบทสื่อศิลปะ. สืบค้นเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2561 จาก https://donuttonline.wordpress.com/2011/01/25/

Bourriaud, Nicolas. (2002). Relational Aesthetics Dijon: Les presses du réel.

Kurimanzutto. (2017). Rirkrit Tiravanija. Retrieved 24 June 2019 from http://www.kurimanzutto.com/en/artists/rirkrit-tiravanija

Mallouk, Elyse. (2013). The Generous Object: The Relational and the Aesthetic in Contemporary Art. Retrieved 9 May 2019 from https://www.scribd.com/document/146904665/Mallouk-the-Generous-Object-the-Relational-and-the-Aesthetic-in-Contemporary-Art

Public Delivery. (2007). Thai artist Sakarin Krue-On failed kmiserably, or did he not? Retrieved 28 June 2019 from https://publicdelivery.org/sakarin-krue-on-terraced-rice-fields/

The Solomon R. Guggenheim Foundation. (2019). Rirkrit Tiravanija. Retrieved 30 July 2019 from https://www.guggenheim.org/artwork/artist/rirkrit-tiravanija

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-21