การสร้างสรรค์รำเดี่ยว ชุด ลิเกแต่งตัว
คำสำคัญ:
ลิเกแต่งตัว, ลิเกเครื่องเพชร, การสร้างสรรค์บทคัดย่อ
การสร้างสรรค์รำเดี่ยวชุดลิเกแต่งตัว เป็นการสร้างชุดรำอวดฝีมืออย่างละครให้กับวงการลิเกมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างสรรค์การแสดงรำเดี่ยว ชุด ลิเกแต่งตัว จากแนวคิดการรำลงสรงในละครรำ มาออกแบบองค์ประกอบและวิธีการรำอย่างลิเกเครื่องเพชร โดยการศึกษาเอกสาร การสัมภาษณ์ สังเกตการณ์จากการแสดงจริงและวีดีทัศน์การแสดงลิเกย้อนหลังไม่ต่ำกว่า 10 ปี วิเคราะห์ข้อมูลนำมาออกแบบสร้างสรรค์การแสดงรำเดี่ยว ผลการวิจัยพบว่า การสร้างสรรค์การแสดงชุดลิเกแต่งตัวเป็นการรำเดี่ยวแสดงถึงการแต่งตัวอย่างลิเก โดยการออกแบบองค์ประกอบการแสดง ได้แก่ การประพันธ์บทร้องและเพลงดนตรีในช่วงเปิดตัวในทำนองเพลงมอญจิ๊กกี๋ต่อด้วยการเกริ่นเพื่อแนะนำตัว ผู้แสดงใช้เพลงราชิเกลิงเป็นหลักและบรรยาย เครื่องแต่งกายเริ่มจากศีรษะลงมาถึงเท้าอย่างการแต่งกายจริงของผู้แสดงลิเกด้วยเพลงปทุมบันเทิง จบด้วยเพลงพม่าทุงเล ผู้แสดงแต่งกายในชุดลิเกเครื่องเพชร ตัวพระ ใช้อุปกรณ์ เตียง หมอน ดาบ ประกอบการแสดง ออกแบบท่ารำโดยใช้หลักทางนาฏศิลป์ไทยและขนบนิยมอย่างลิเก เป็นการผสมผสานท่ารำนาฏศิลป์ไทยกับการรำอย่างลิเก มีการใช้ลักษณะมือแบบต่าง ๆ ได้แก่ มือชี้ มือแบ มือกำหลวม ท่าทางธรรมชาติ ผสมผสานการรำอย่างลิเกและนาฏศิลป์ไทย สอดแทรกเสน่ห์ลิเกที่เป็นท่าทางร่วมอยู่ในการออกแบบท่ารำคือ การยักคิ้ว พยักหน้า อาย หลบสายตา ส่งและทอดสายตาไปทางผู้ชม ออกแบบท่ารำการรำลงสรงอย่างละครและ การรำอย่างลิเกในอัตราส่วน 20 : 80 ในด้านวิธีการแสดงกำหนดให้ผู้แสดงเป็นผู้ร้องและ รำด้วยตนเองตลอดการแสดง แบ่งออกเป็น 3 ช่วง คือ ช่วงแรก เปิดตัวผู้แสดงและร้องแนะนำตัว ช่วงกลางบรรยายลักษณะและตำแหน่งของเครื่องแต่งกายช่วงท้ายเป็นการรำลาด้วย การรำอาวุธดาบเพื่อเข้าฉาก การแสดงชุดนี้สามารถนำไปใช้ในวงการลิเกในลักษณะการรำอวดฝีมือของตัวเอกของเรื่อง หรือศิลปินลิเกสามารถนำไปประยุกต์ใช้และเป็นแนวสร้างสรรค์การแสดงชุดใหม่ ๆ ให้กับวงการศิลปะการแสดงต่อไป
References
คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ, สำนักงาน. (2539). ลิเก. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
ชมนาด กิจขันธ์. (2547). นาฏยลักษณ์ตัวพระละครแบบหลวง. วิทยานิพนธ์ศิลปกรรมศาสตร
ดุษฎีบัณฑิต นาฏยศิลป์ไทย, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ตวงพร มีทรัพย์. (2558). การศึกษานาฏศิลป์ไทยร่วมสมัย ชุดแต่งองค์ทรงเครื่อง.
วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต นาฏยศิลป์ไทย, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นภาวรรณ นาคอุไร. (2554). นาฏศิลป์ไทยร่วมสมัยในรูปแบบวีดีทัศน์ เรื่องเงาะป่า.
วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต นาฏยศิลป์ไทย, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พจน์มานย์ สมรรคบุตร. (2538). แนวคิดการประดิษฐ์ท่ารำเซิ้ง. อุดรธานี: สำนักงาน
ส่งเสริมวิชาการสถาบันราชภัฏอุดรธานี.
พันธ์ศักดิ์ วรรณคดี. (2546). สุนทรียภาพของชีวิต (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: คณะศิลปกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
วรรณพินี สุขสม. (2545). ลงสรงโทน : กระบวนท่ารำในการแสดงละครในเรื่องอิเหนา. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต นาฏยศิลป์ไทย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุรพล วิรุฬห์รักษ์. (2547). หลักการแสดงนาฏยศิลป์ปริทรรศน์ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์
แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อนุกูล โรจนสุขสมบูรณ์. (2559). ลิเก : การแสดงและการฝึกหัด. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์
แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.