ศิลปกรรมภาพฉลุสะท้อนสัมพันธภาพระหว่างบุคคล

ผู้แต่ง

  • อรัญญา บูรณะศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  • ปานฉัตท์ อินทร์คง คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

คำสำคัญ:

การสร้างสรรค์, การฉลุ, ลวดลาย, สัมพันธภาพ

บทคัดย่อ

การวิจัยสร้างสรรค์ในหัวข้อ ศิลปกรรมภาพฉลุสะท้อนสัมพันธภาพระหว่างบุคคล เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพที่มีจุดประสงค์เพื่อศึกษา ลวดลาย เทคนิค ขั้นตอน วิธีการสร้างสรรค์ ฉลุลวดลาย เพื่อสร้างองค์ความรู้ในการสร้างสรรค์ผลงานศิลปกรรมภาพฉลุสะท้อนสัมพันธภาพระหว่างบุคคล และเพื่อสร้างสรรค์ผลงานศิลปกรรมภาพฉลุสะท้อนสัมพันธภาพระหว่างบุคคลเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการศึกษาข้อมูลจากหนังสือ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ งานวิจัยและงานสร้างสรรค์ที่เกี่ยวข้องมารวบรวมวิเคราะห์เป็นองค์ความรู้เพื่อนําไปใช้ในการสร้างสรรค์ผลงานศิลปกรรมภาพฉลุ เป็นผลงานทดลองจำนวน 4 ชุด และลงภาคสนามเพื่อสำรวจผลงานสร้างสรรค์เทคนิคฉลุลายด้วยแบบสัมภาษณ์กลุ่มประชากร ได้แก่ ครูช่างชำนาญการ 1 คน ช่างปฏิบัติงาน 3 คน และผลงานฉลุลาย 3 ลาย 


ผลวิจัยพบว่า การศึกษาลวดลาย เทคนิค ขั้นตอนและวิธีการสร้างสรรค์ฉลุลวดลาย ใช้เทคนิคการฉลุหนังใหญ่ด้วยเทคนิคการตอก การฉลุ การตัด การสร้างองค์ความรู้ในการสร้างสรรค์ผลงานศิลปกรรมภาพฉลุสะท้อนสัมพันธภาพระหว่างบุคคล ใช้ความรู้ด้านสัมพันธภาพระหว่างบุคคล ความรู้ด้านการฉลุลาย ความรู้ด้านทัศนธาตุ ความรู้ด้านองค์ประกอบศิลป์ และความรู้ด้านทฤษฎีศิลปะ ส่วนการสร้างสรรค์ผลงานศิลปกรรมภาพฉลุสะท้อนสัมพันธภาพระหว่างบุคคล ควรพิจารณาจากความสวยงามด้านความสัมพันธ์
ของวัสดุ ความสัมพันธ์ขององค์ประกอบด้านความสัมพันธ์ของเนื้อหา และเทคนิคกรรมวิธีในการสร้างสรรค์เพื่อให้สื่อถึงเนื้อหาเรื่องราวที่สะท้อนสัมพันธภาพระหว่างบุคคลผ่านการแสดงความรัก ความผูกพันบนพื้นฐานของสังคมครอบครัว

References

กฤษณวงศ์ ศิวะพราหมณ์สกุล. (2553). อนิจจัง. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร)

ชูศักดิ์ ศรีขวัญ. (2552). หนังตะลุง – ธรรมะ. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร)

ทองถนิม - เครื่องประดับทองโบราณ. (2560). การฉลุโลหะ. สืบค้นจาก https://www.facebook.com/tongthanim

ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2557). ภาพเขียนสบายตาดูแล้วสบายใจ. สืบค้นจาก https://www.bot.or.th/Thai/Phrasiam/Documents/Phrasiam_4_2557/No.04_5.pdf

นฤทธิ์ วัฒนภู. (2554). ลวดลายฉลุ. กรุงเทพ : วาดศิลป์

ปานฉัตท์ อินทร์คง. (2561). เอกลักษณ์พื้นถิ่นในงานจิตรกรรมฝาผนังวัดภูมินทร์ จังหวัดน่าน : การสร้างสรรค์สู่ผลิตภัณฑ์วัฒนธรรม. กรุงเทพฯ : วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ปีที่ 38 ฉบับที่ 2

พัฒนทิพย์ กิจไกรลาศ. (2557). 534 42140 27 พัฒนทิพย์ กิจไกรลาศ. สืบค้นจากhttps://www.facebook.com/supervise.arted.42

วัชระ กว้างไชย์. (2557). รัศมีเรืองรองแห่งวิมาน. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร)

สิทธิพงศ์ ปานสมทรง. (2557). รูปทรงสามมิติของหนังตะลุงร่วมสมัย. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-18