การออกแบบผลิตภัณฑ์เชิงนิเวศ กรณีศึกษารองเท้า จากเศษหนังแท้

ผู้แต่ง

  • เสน่ห์ สำเภาเงิน สาขาวิชาออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล กรุงเทพ
  • วรชัช บู่สามสาย สาขาวิชาออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล กรุงเทพ
  • วิไลลักษณ์ แซ่ปั๊ง สาขาวิชาออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล กรุงเทพ

คำสำคัญ:

การออกแบบผลิตภัณฑ์เชิงนิเวศ, รองเท้า, เศษหนังแท้, การนำกลับมาใช้ซ้ำ, การสร้างมูลค่า, การเพิ่มคุณค่า

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลและแนวทางการนำเศษหนังแท้กลับมาใช้ซ้ำ 2) เพื่อออกแบบรองเท้าจากเศษหนังแท้ 3) เพื่อประเมินความพึงพอใจต้นแบบรองเท้าจากเศษหนังแท้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพผสมผสานกับการวิจัยเชิงปริมาณ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ช่างทำรองเท้า จำนวน 3 คน ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบและช่างทำรองเท้า จำนวน 5 คน และกลุ่มตัวอย่าง คือ บุคคลวัยทำงานที่สนใจและนิยมสวมใส่รองเท้าหนังแท้ เขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร เพศชาย 15 คน เพศหญิง 15 คนรวมทั้งหมด 30 คน โดยการสุ่มแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามประเมินรูปแบบรองเท้าจากเศษหนังแท้ และแบบสอบถามประเมินความพึงพอใจ สถิติในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1) เศษหนังแท้ที่นำกลับมาใช้ซ้ำเป็นเศษหนังวัวฟอกสีลักษณะมันเงาขนาดกลางและขนาดเล็ก ที่มีร่องรอยตำหนิและเหลือใช้จากการตัดเย็บมาทำหนังหน้าของรองเท้า ซึ่งใช้เศษหนังแท้โทนสีน้ำเงินสำหรับเพศชายและโทนสีน้ำตาลสำหรับเพศหญิง ด้วยเทคนิคการเย็บแบบโชว์เส้นด้าย 2) ผลการออกแบบรองเท้าจากเศษหนังแท้ จำนวน 3 รูปแบบ พบว่า รูปแบบที่ใช้แรงบันดาลใจจากลักษณะการพันผ้าของชาวอียิปต์โบราณมีผลรวมมากที่สุด โดยมีความเหมาะสมในระดับมาก ( = 4.18, S.D. = 0.80) เป็นรองเท้าสลิปออนซึ่งใช้การตัดทอนลักษณะการพันผ้าแบบสลับกันไปมา เกิดเป็นลวดลายแบบอสมมาตร ใช้หลักความกลมกลืนของโทนสีซึ่งลดหลั่นกัน 3 ระดับ การผลิตใช้จักรเย็บรองเท้าเย็บหนังหน้าแล้วยึดติดกับพื้นรองเท้าสำเร็จรูป เพศชายเบอร์ 42 เพศหญิงเบอร์ 39 และ 3) ผลการประเมินความพึงพอใจต้นแบบรองเท้าจากเศษหนังแท้ พบว่า ผลรวมทุกด้านของกลุ่มตัวอย่างเพศชาย มีความพึงพอใจในระดับมาก ( = 3.73, S.D. = 0.45) และกลุ่มตัวอย่างเพศหญิง มีความพึงพอใจในระดับมาก ( = 3.68, S.D. = 0.38)

References

นันทพันธ์ ดวงแก้ว. (2561). “การใช้ประโยชน์จากเศษหนังสำหรับการออกแบบรองเท้าลำลองเชิงสร้างสรรค์”. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีการออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

ทรงวุฒิ เอกวุฒิวงศา. (2558). การคิดเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. กรุงเทพฯ : หจก. มีน เซอร์วิส ซัพพลาย.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2563). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS. พิมพ์ครั้งที่ 18. กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนสามัญบิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.

พจน์ธรรม ณรงค์วิทย์, ทรงวุฒิ เอกวุฒิวงศา และอุดมศักดิ์ สาริบุตร. (2557). “การศึกษาและพัฒนากระบวนการใช้ประโยชน์จากเศษหนังเหลือทิ้ง กลุ่มวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs)”. วารสารวิชาการ ศิลปะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 5,1 (ม.ค.-มิ.ย.), 72-86.

พิมพ์ใจ พิมพิลา. (2563). เศษหนังใครว่าต้องทิ้ง. สืบค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2563. จาก https://www.smethailandclub.com/entrepreneur-5824-id.html

วัชรินทร์ จรุงจิตสุนทร. (2548). หลักการและแนวคิดการออกแบบผลิตภัณฑ์. กรุงเทพฯ : แอ๊ปป้า พริ้นติ้ง กรุ๊ป จำกัด

สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ. (2563). สถานการณ์อุตสาหกรรมเครื่องหนังและรองเท้า.สืบค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2563. จาก https://www.thaitextile.org/th/insign/detail.1567.1.0.html

สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม. (2555). อุตสาหกรรมรองเท้าและเครื่องหนัง. สืบค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2563. จาก http://www.smi.or.th/index.php/sample-sites-7/category/43-2012-12-07-03-19-07

สิงห์ อินทรชูโต. (2552). Reuse ศิลปะการคืนชีวิตให้ขยะ. สมุทรปราการ : บริษัท พงษ์วรินการพิมพ์ จำกัด

สิงห์ อินทรชูโต. (2556). Upcycling พัฒนาเศษวัสดุอย่างสร้างสรรค์. ปทุมธานี : สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ.

สุธาสินีน์ บุรีพันธุ์ และปราณี อนันทพรชัยกุล. (2561). “การศึกษาแนวทางการใช้ประโยชน์จากเศษหนังแท้เหลือทิ้งเพื่อการออกแบบผลิตภัณฑ์”. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม. 17,3 (ก.ย.-ธ.ค.), 109-117.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-20