การพัฒนาบรรจุภัณฑ์และตราสัญลักษณ์กลุ่ม วิสาหกิจชุมชนผ้าทอบ้านพรสวรรค์จังหวัดสระแก้ว
คำสำคัญ:
ตราสัญลักษณ์, บรรจุภัณฑ์, วิสาหกิจชุมชนบทคัดย่อ
งานวิจัยเรื่อง การพัฒนาบรรจุภัณฑ์และตราสัญลักษณ์กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผ้าทอบ้านพรสวรรค์ จังหวัดสระแก้ว มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาบรรจุภัณฑ์ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผ้าทอบ้านพรสวรรค์จังหวัดสระแก้ว ผู้วิจัยได้นำประเด็นปัญหาที่เกิดกับบรรจุภัณฑ์เดิมมาทำการวิเคราะห์ และกำหนดเป็นแนวทางในการพัฒนา ไว้ดังนี้ โครงสร้างของบรรจุภัณฑ์ต้องมีขนาดที่เหมาะสม ง่ายต่อการใช้งาน สะดวกต่อการขนส่ง และง่ายต่อการเก็บรักษา และได้นำแนวทางดังกล่าวมาใช้ในการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ จำนวน 3 รูปแบบ จากนั้นจึงนำบรรจุภัณฑ์ไปประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิด้านการออกแบบโดยเครื่องมือที่ใช้ในการประเมินได้แก่แบบสอบความคิดเห็น เพื่อให้ได้บรรจุภัณฑ์ที่มีความเหมาะสมมากที่สุด 2) เพื่อพัฒนา ตราสัญลักษณ์ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผ้าทอบ้านพรสวรรค์ จังหวัดสระแก้ว ผู้วิจัยได้นำประเด็นปัญหาที่เกิดกับตราสัญลักษณ์เดิมมาทำการวิเคราะห์ เพื่อกำหนดเป็นแนวทางในการพัฒนาไว้ดังนี้ รูปทรงของตราสัญญาลักษณ์ต้องสามารถนำไปใช้ทั้งบนตัวบรรจุภัณฑ์ และบนสื่อประชาสัมพันธ์ จดจำง่าย แสดงถึงเอกลักษณ์ สวยงาม และเรียบง่าย และได้นำแนวทางดังกล่าวมาใช้ในการพัฒนาตราสัญลักษณ์ จำนวน 3 รูปแบบ จากนั้นจึงนำตราสัญลักษณ์ไปประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิด้านการออกแบบ โดยเครื่องมือที่ใช้ประเมินได้แก่แบบสอบความคิดเห็น เพื่อให้ได้ตราสัญลักษณ์ที่มีความเหมาะสมมากที่สุด 3) เพื่อประเมินรูปแบบบรรจุภัณฑ์และตราสัญลักษณ์ที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมาใหม่ จากกลุ่มผู้ที่เดินทางเข้ามาศึกษาดูงานในพื้นที่จังหวัดสระแก้ว จำนวน 100 คน โดยเครื่องมือที่ใช้ในการทำงานวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ แบบประเมินความพึงพอใจ เพื่อใช้ในการวิเคราะห์หาค่าสถิติ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตราฐาน
References
เกษม พิพัฒน์เสรีธรรม. 2554. การตลาดเหนือชั้นกลยุทธ์พร้อมรบ, กรุงเทพฯ : พีเพิลมีเดีย
เกษม พิพัฒน์เสรีธรรม. (2547) OTOP นักสู้ชาวบ้านนักการตลาดชุมชน, กรุงเทพฯ : เอ อาร์ บิซิเนส เพรส.
ชลธิศ ดาราวงษ์. 2558. การจัดการผลิตภัณฑ์และการพัฒนาผลิตภัณ์ใหม่, กรุงเทพฯ : ธนาเพลส.
ชัยรัตน์ อัศวางกูร. 2550. ออกแบบให้โดนใจ, เชียงใหม่ : วินอิรดีไซน์.
ธารทิพย์ เสรินทวัฒน์. 2550. ทัศนศิลป์ : การออกแบบพาณิชยศิลป์, กรุงเทพฯ : หลักไทช่างพิมพ์.
ปานฉัตรท์ อินทร์คง. 2557. การพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ระลึกชนเผ่าภาคเหนือ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเศรษฐกิจ สร้างสรรค์ กรณีชนเผ่าเย้า,วารสารศิปลกรรมวิชาการ วิจัย และงานสร้างสรรค์, ปีที่ 1 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม-ธันวามคม 2557),หน้า 28.
ปาพจน์ หนุนภักดี. 2555. Graphic Design Principles, นนบุรี : ไอดีซีพรีเมียร์.
พบพร เอี่ยมใส ธนกิจ โคกทอง และธัญลักษณ์ ศุภพลธณ. 2561. การออกแบบตราสัญลักษณ์มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชรเพื่อใช้สำหรับของที่ระลึก, วารสารวิชาการศิลปะสถาปัตยศาสตร มหาวิทยาลัยนเรศวร, ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 (มกราคม – มิถุนายน 2561),หน้า 185.
ศุรีพร คำชมภู. 2561. การออกแบบบรรจุภัณฑ์ของฝากเชิงท่องเที่ยวในประเทศญี่ปุ่น,วารสารวิชาการศิลปะสถาปัตยศาสตร มหาวิทยาลัยนเรศวร, ปีที่ 9 ฉบับที่ 1 (มกราคม – มิถุนายน 2561),หน้า 185.
ศิริพรณ์ ปีเอตร์. 2549. ออกแบบกราฟิก, กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.
สมพงษ์ เฟื่องอารมย์. 2550. บรรจุภัณฑ์กับการส่งออก, กรุงเทพฯ : จามจุรีโปรดักท์.
สำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม. 2562. แผนยุทธศาสตร์กระทรวงอุตสาหกรรม พ.ศ. 2560 – 2564 (ฉบับทบทวน สำหรับปีงบประมาณ 2563), กรุงเทพ : กลุ่มยุทธศาสตร์กองยุทธศาสตร์ และแผนงานสำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม.
อารยะ ศรีกัลยาณบุตร. 2541. การออกตราสัญลักษณ์, กรุงเทพฯ : ภาควิชานฤมิตศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เฮเลน ลีวิส, จอห์ เกอร์ทาแซคเก็ต, ทิม แกรน, นิคโคลัส มอแรลี่, และแอนดริว สวีทแมน, (2552) การออกแบบสิ่งแวดล้อม, (ศูนย์ความเป็นเลิศเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม, แปล) กรุงเทพฯ : ศูนย์ความเป็นเลิศเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 วารสารศิลปกรรมศาสตร์วิชาการ วิจัย และงานสร้างสรรค์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.