หมู่บ้าน ฟ.ฟัน: การสร้างสรรค์ละครเวทีสำหรับเด็ก เพื่อนำเสนอข้อมูลโรคฟันผุ และส่งเสริมพฤติกรรม เชิงบวก ในการดูแลสุขภาพฟันน้ำนม
คำสำคัญ:
ละครประยุกต์, ละครสำหรับเด็ก, โรคฟันผุ, ฟันน้ำนมบทคัดย่อ
บทความอภิปรายกระบวนการสร้างสรรค์และพัฒนาผลงานละครเวทีสำหรับเด็กเรื่อง หมู่บ้าน ฟ.ฟัน เพื่อนำเสนอข้อมูลโรคฟันผุ และส่งเสริมพฤติกรรมเชิงบวกในการดูแลสุขภาพฟันน้ำนม ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาวิธีการสร้างสรรค์ละครสำหรับเด็กเกี่ยวกับประเด็นพฤติกรรมที่ก่อให้เกิดโรคฟันผุ และเพื่อสร้างสรรค์ผลงานละครเวทีสำหรับเด็กเรื่องหมู่บ้าน ฟ.ฟัน ที่สามารถสร้างทัศนคติและส่งเสริมพฤติกรรมที่ดีเกี่ยวกับการดูแลฟันน้ำนม และสุขภาพช่องปากให้กับผู้ชมได้ การดำเนินงานแบ่งเป็น 4 ช่วง ได้แก่ 1. การรวบรวมและศึกษาข้อมูลทางทันตกรรมสำหรับเด็ก 2. การสร้างบทละครและตัวละคร 3. การสร้างสรรค์และพัฒนาผลงานการแสดง 4. การนำเสนอการแสดง ผลการดำเนินงานพบว่า 1. บทละครใช้วิธีการแปลงข้อมูลทางทันตกรรมและข้อเท็จจริงเกี่ยวกับพฤติกรรมที่ก่อให้เกิดโรคฟันผุในเด็ก มาเป็นฐานในการสร้างตัวละครและลำดับเรื่องราวแบบเส้นตรง (linear plot)โดยมีตัวละครฟัน เป็นตัวละครหลักและมีตัวละครสเตร็บโตค็อกคาย(Streptococci) เป็นตัวละครปะทะ ทำให้เรื่องราวมีความเข้าใจได้ง่ายและสื่อสารความคิดไปยังผู้ชมเด็กได้ชัดเจน 2. การนำเสนอละครในรูปแบบแฟนตาซี โดยมุ่งเน้นความสนุกสนานผ่านดนตรีและการเคลื่อนไหว ทำให้ผู้ชมเด็กสามารถจดจำเรื่องราวและร่วมชมการแสดงได้เต็มประสิทธิภาพ 3. ละครสามารถสร้างความตระหนักรู้และทัศนคติในการดูแลฟันแก่ผู้ชมเด็กได้เป็นอย่างดี
References
กองบรรณาธิการ นิตยสาร “ใกล้หมอ”. (2547). Oral Care การดูแลสุขภาพปากและฟัน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ใกล้หมอ.
เข็มพร กิจสหวงศ์. อาจารย์ประจำแขนงวิชาทันตกรรมสำหรับเด็ก คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2563. สัมภาษณ์. 6 สิงหาคม.น้ำตาลมีผลทำให้ฟันผุอย่างไร. (2562). ค้นเมื่อ 9 สิงหาคม 2563, https://www.idolsmiledental.com
อารียา ศตรัศมี. (2552). ฟันสวยด้วยมือแม่. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มายิก
พรรัตน์ ดำรุง. (2547). การละครสำหรับเยาวชน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
__________. (2557). ละครประยุกต์การใช้ละครเพื่อการพัฒนา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เศกสันต์ วิชัยพล. ผู้ประสานงานกิจรรม บ้านชีวาศิลป์มอดินแดง มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2564. สัมภาษณ์. 8 มกราคม. สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย. (2560). รายงานผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากแห่งชาติ ครั้งที่ 8 พ.ศ. 2560. ค้นเมื่อ 31 กรกฎาคม 2563, จาก http://dental2.anamai.moph.go.th
พวงทอง ไกรพิบูลย์. (2556). โรคของช่องปากและฟัน. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน). เอกสารเนื้อหาวิชา ทันตสาธารณสุขสำหรับนักศึกษาสถาบันราชภัฏ. (ม.ป.ป.). บทที่ 1 ความรู้เกี่ยวกับอวัยวะในช่องปาก. ค้นเมื่อ 12 สิงหาคม 2563, จาก https://dental.anamai.moph.go.th/
อชิรวุธ สุพรรณเภสัช.อาจารย์ประจำภาควิชาวินิจฉัยช่องปาก คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น . 2564. สัมภาษณ์. 8 มกราคม.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 วารสารศิลปกรรมศาสตร์วิชาการ วิจัย และงานสร้างสรรค์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.