วันวิวา(ท)ห์: การสร้างสรรค์ละครเวทีเพื่อสร้างการเรียนรู้ แก่ผู้ชมเกี่ยวกับประเด็นการใช้ความรุนแรงในพื้นที่สาธารณะ ผ่านการแสดง ในรูปแบบ Interactive Theatre

ผู้แต่ง

  • วนิดา เดชกัลยา คณะศิลปกรรม ศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • ภัททร์สิริย์ โชติมนต์ชิตา คณะศิลปกรรม ศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • พชญ อัคพราหมณ์ คณะศิลปกรรม ศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

ความรุนแรง, ละครเชิงโต้ตอบ, ละครดีไวซ, ละครประยุกต์

บทคัดย่อ

บทความนี้ได้อภิปรายถึงกระบวนการสร้างสรรค์ผลงานละครเวที เรื่อง วันวิวา(ท)ห์ ซึ่งมีวัตถุประสงค์ คือ 1.ค้นหากลวิธีในการสร้างสรรค์ผลงานละครเวทีในรูปแบบ Interactive Theatre เพื่อนำเสนอและสร้างประสบการณ์เรียนรู้เกี่ยวกับประเด็นความรุนแรงในพื้นที่สาธารณะแก่ผู้ชม 2.เพื่อให้ผู้ชมเกิดความเข้าใจและสามารถประเมินสถานการณ์ความรุนแรงตลอดจนสามารถนำวิธีการรับมือในลักษณะต่าง ๆ จากประสบการณ์ร่วมในพื้นที่การแสดงไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ โดยการดำเนินงานแบ่งเป็น 3 ขั้นตอน ได้แก่ 1.กระบวนการสร้างและพัฒนาบทการแสดง 2.กระบวนการ
สร้างและพัฒนาผลงานละคร 3.กระบวนการจัดแสดงและประเมินคุณค่า ผลงานละคร ผลการดำเนินงานพบว่า 1.การสร้างโครงเรื่องด้วยการใช้สถานการณ์และตัวละครโดยเทียบเคียงจากสถานการณ์จริง การใช้ข้อมูลทางวิชาการผสมผสานกับความคิดที่ต้องการนำเสนอ และการใช้กระบวนการดีไวซ์ในการพัฒนาเรื่องราว ทำให้บทการแสดงสามารถนำเสนอเนื้อหาสาระ และความน่าเชื่อผ่านการแสดงไปสู่ผู้ชมได้พร้อมกัน 2.การเปิดโอกาสให้ผู้ชมเข้ามามีส่วนร่วมกับนักแสดงระหว่างการแสดงด้วยแนวคิด Interactive Theatre ทำให้ผู้ชมสามารถเรียนรู้และเข้าใจประเด็นความรุนแรงผ่าน
สถานการณ์เสมือนจริงในละคร 3.ผู้ชมรู้ถึงวิธีการรับมือหรือเอาตัวรอดเมื่อเผชิญหน้ากับสถานการณ์ความรุนแรงได้เป็นอย่างดี

References

ฐาศุกร์ จันประเสริฐ. (2553). โครงสร้างทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับความรุนแรงที่เด็กและเยาวชนถูกกระทำในโรงเรียน : กรณีศึกษาโรงเรียนแห่งหนึ่งในเขตภาคกลาง. วารสารพฤติกรรมศาสตร์ , 17(1), 98

ธงชัย สันติวงษ์ และ ชัยยศ สันติวงษ์. (2546). พฤติกรรมบุคคลในองค์การ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เจริญพัฒน์

บุศรา เข็มทอง. (2558). การใช้ความรุนแรงในครอบครัว : กฎหมายช่วยได้. สืบค้นเมื่อ 22 พฤษภาคม 2563, จาก https://library2.parliament.go.th/ejournal/content_af/2558/feb2558-3.pdf

พชญ อัคพราหมณ์. [ม.ป.ป.]. เอกสารประกอบการสอนรายวิชา FA423401. ละครประยุกต์ (Applied Theatre). ขอนแก่น: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น. (ไม่ได้ตีพิมพ์)

พรรัตน์ดำรุง. (2557). ละครประยุกต์ การใช้ละครเพื่อการพัฒนา. กรุงเทพฯ:จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เพ็ญประภา สุธรรมมา และ มยุรฉัตร กันยะมี . (2557). ความรุนแรงต่อคู่รักวัยรุ่น : ความท้าทายสำหรับพยาบาลสาธารณสุข.

วารสารพยาบาลตำรวจ, 6(1), 251 - 252. วิวาห์สลาย หนุ่มเลือดร้อนบุกอาละวาด พังถล่มงานแต่งอดีตแฟน. (2561,22 พฤษภาคม). สืบค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2563,จาก http://www.sanook.com/news/6518478/)

สมพร ฟูราจ. (2552). ละครแบบโต้ตอบ Interactive Theatre. สืบค้นเมื่อ 3 ธันวาคม 2563, จาก https://fineart.tu.ac.th/mainfile/journal/4-2552-1/9.pdf

Sidney, Homan (2014). “Introduction: What Have You Learned Today?”. ComparativeDrama. 48 (1&2): 1–11. Retrieved from https://muse.jhu.edu/article/545108/pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-20