นาฏยลักษณ์ระบำสร้างสรรค์โดยใช้วงมังคละของมหาวิทยาลัยนเรศวร

ผู้แต่ง

  • ณัฏฐ์ธยาน์ มงคะสิงห์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดและกระบวนการสร้างสรรค์การแสดงระบำสร้างสรรค์
โดยใช้วงมังคละของมหาวิทยาลัยนเรศวร และเพื่อศึกษานาฏยลักษณ์การแสดงระบำสร้างสรรค์โดยใช้วงมังคละของมหาวิทยาลัยนเรศวร เป็นการวิจัยเชิงเอกสารและการวิจัยเชิงคุณภาพ สัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 2 กลุ่ม คือ กลุ่มคณาจารย์และกลุ่มนิสิตซึ่งเป็นผู้สร้างสรรค์การแสดง ผลการวิจัยพบว่า 1. แนวคิดของการสร้างสรรค์ระหว่างของกลุ่มคณาจารย์และกลุ่มนิสิตมีความแตกต่าง เนื่องจากว่ากลุ่มคณาจารย์ได้นำเสนอแนวคิดการสร้างสรรค์ภายใต้กรอบตามนโยบายของมหาวิทยาลัยนเรศวร ส่วนกลุ่มนิสิตนำเสนอภายใต้กรอบของโครงการสร้างงานทางด้านนาฏยประดิษฐ์ ของภาควิชาศิลปะการแสดง สาขาวิชานาฏศิลป์ไทย ในหลักสูตรการเรียน 2. กระบวนการสร้างสรรค์การแสดงระบำสร้างสรรค์
โดยใช้วงมังคละของมหาวิทยาลัยนเรศวร มีกระบวนการสร้างสรรค์ 7 ขั้นตอน คือ 2.1 ศึกษาค้นคว้า
2.2 เลือกเพลง 2.3 กำหนดรูปแบบเนื้อหาและขอบเขต 2.4 ออกแบบท่ารำ 2.5 คัดเลือกนักแสดง
2.6 ออกแบบองค์ประกอบการแสดงอื่น และ 2.7 การปรับแก้ไขการแสดง และ 3. นาฏยลักษณ์การแสดงระบำสร้างสรรค์โดยใช้วงมังคละของมหาวิทยาลัยนเรศวร ทั้ง 4 ส่วนหลัก คือ 3.1 ดนตรี 3.2 เครื่องแต่งกาย 3.3 อุปกรณ์การแสดง และ 3.4 การแสดง รวมถึงการจัดวงดนตรี และรูปแบบการแสดงมีความแตกต่างกัน ทำให้นาฏยลักษณ์ระบำมังคละของมหาวิทยาลัยนเรศวรไม่ชัดเจนในเรื่องนาฏยลักษณ์มากนัก ซึ่งเป็นผลมาจากกรอบแนวคิดในการสร้างสรรค์ที่แตกต่างกัน โดยผลงานของคณาจารย์เกิดจากสิ่งที่อยู่ในจังหวัดพิษณุโลกเท่านั้น แต่ผลงานของนิสิตเกิดจากแรงบันดาลใจในท้องถิ่นอื่น เพื่อนำมาสร้างสรรค์ผลงาน

References

ณัฐชยา นัจจนาวากุล, อัจฉรา ศรีพันธ์, รุ่งนภา ฉิมพุฒ, วราภรณ์ เชิดชู. (2559). กระบวนการเรียนรู้เพื่อการอนุรักษ์และพัฒนารูปแบบการแสดงมังคละในเขตภาคเหนือตอนล่าง, ม.ป.ท.

นุชนาฎ ดีเจริญ. (2544). รำมังคละในจังหวัดพิษณุโลก สุโขทัย และอุตรดิตถ์ (รายงานวิจัย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์). มหาวิทยาลัยนเรศวร.

มาลินี ดิลกวณิช. (2543). ระบำและละครในอาเชีย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

มาลินี อาชายุทธการ. (2547). พื้นฐานนาฏยประดิษฐ์. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มนต์เสน่ห์แห่งวัฒนธรรมไทย. (2557). มังคละ. วารสารมีชีวิต STYLE นิสิต มน. , 10(144), 13.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2554). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. กรุงเทพฯ: อักษรเจริญทัศน์.

สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์. (2444). จดหมายระยะทางไปพิษณุโลก. พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในการฉลองวันประสูติ ครบ 100 ปี วันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2506, ม.ป.ท.

สุรพล วิรุฬห์รักษ์. (2543). นาฏยศิลป์ปริทรรศน์. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

. (2547). หลักการแสดงนาฏยศิลปปริทรรศน์. พิมพ์ครั้งที่ 1. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อุทาน บุญเมือง. (2562). มังคละพิษณุโลก : การประสมวง พิธีกรรม และความเชื่อ. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์ , 11(3), 158-159.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-28