การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์ที่สะท้อนถึงคุณสมบัติของกรรมการในอุดมคติที่ใช้พิจารณาผลงานด้านนาฏยศิลป์

ผู้แต่ง

  • จินตนา อนุวัฒน์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์, คุณสมบัติของกรรมการในอุดมคติ, ผลงานด้านนาฏยศิลป์

บทคัดย่อ

  1. งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบและหาแนวคิดที่ได้จากการสร้างสรรค์นาฏยศิลป์ที่สะท้อนถึงคุณสมบัติของกรรมการในอุดมคติที่ใช้พิจารณาผลงานด้านนาฏยศิลป์ โดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงสร้างสรรค์ ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการสร้างสรรค์นาฏยศิลป์นำข้อมูลจากคุณสมบัติของกรรมการที่จัดหมวดหมู่โดยคำนึงถึงจริยธรรมเป็นสำคัญ 6 ประการ คือ 1) ทัศนคติและเจตนาที่บริสุทธิ์ 2) ภาวะผู้นำ 3) อำนาจและอิสระในการตัดสินใจ 4) ความเสมอภาค 5) ความซื่อสัตย์สุจริต และ 6) ความยุติธรรม นำเสนอในรูปแบบของนาฏยศิลป์หลังสมัยใหม่ ตามองค์ประกอบทั้ง 8 ประการ คือ 1) บทการแสดง แบ่งเป็น 7 องก์ ได้แก่ องก์ 1 ถกเถียงเพื่อเอาชนะ องก์ 2 ผู้นำและผู้ตาม องก์ 3 กดดันด้วยอำนาจ องก์ 4 ปิดหูปิดตาด้วยอคติ องก์ 5 ทุจริต (ใต้โต๊ะ) องก์ 6 อยุติธรรม และองก์ 7 หายนะจากการกระทำผิดคำสาบาน 2) นักแสดง คัดเลือกจากผู้ที่มีประสบการณ์ด้านนาฏศิลป์ไทยและตะวันตก 3) ลีลานาฏยศิลป์ ใช้กระบวนการของนาฏยศิลป์หลังสมัยใหม่ 4) ออกแบบอุปกรณ์ประกอบการแสดงจากเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน ได้แก่ เก้าสำนักงาน โต๊ะ แท่นรับรางวัลกีฬา และคานหาบ 5) เสียงและดนตรีประกอบการแสดง ใช้วงดนตรีบรรเลงแบบด้นสดในลักษณะ “เวิลด์มิวสิค” ที่ผสมผสานเครื่องประกอบจังหวะและดนตรีพื้นเมืองทั้งจากวัฒนธรรมไทย แอฟริกันและละตินเข้าด้วยกัน 6) เครื่องแต่งกาย ใช้ชุดสูทแบบสากลนิยม ชุดที่มีโครงสร้างแบบไม่สมมาตร สีขาว-ดำ และชุดโนราแบบประยุกต์ 7) พื้นที่แสดง ใช้พื้นที่ในโรงละครที่มีลักษณะสี่เหลี่ยมสีดำ และ 8) แสง ใช้ทฤษฎีของสีในการนำเสนออารมณ์และบรรยากาศการแสดง นอกจากนี้ ยังค้นพบแนวคิดที่ได้หลังจากการสร้างสรรค์ผลงานด้านนาฏยศิลป์ที่ควรคำนึงถึง 7 ประการ ได้แก่ 1) คุณสมบัติของกรรมการพิจารณาผลงานด้านนาฏยศิลป์ 2) การสะท้อนสภาพสังคมโดยใช้นาฏยศิลป์ 3) การสื่อสารกับกลุ่มผู้ชม 4) ความคิดสร้างสรรค์ในผลงานนาฏยศิลป์ 5) ความหลากหลายในผลงานนาฏยศิลป์ 6) การใช้สัญลักษณ์ในผลงานนาฏยศิลป์ และ 7) ทฤษฎีทางด้านศิลปกรรมศาสตร์ การวิจัยครั้งนี้จึงเป็นการรวบรวมองค์ความรู้ เชื่อมโยงประสบการณ์และพัฒนากระบวนการสร้างสรรค์ให้เกิดประโยชน์ต่อวงวิชาการ และเป็นแนวทางในการสร้างสรรค์ผลงานด้านนาฏยศิลป์ต่อไปในอนาคต

References

กชกร ชิตท้วม. (31 ตุลาคม 2564). อาจารย์ประจำสาขาวิชานาฏยศิลป์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา, สัมภาษณ์ [ออนไลน์].

กิตติชัย ไทยแท้. (10 กุมภาพันธ์ 2565).หัวหน้าคณะไทเกอร์(Tiger Club Performing Arts), สัมภาษณ์.

ณัฏฐ์พัฒน์ ผลพิกุล. (26 ตุลาคม 2564). นักวิชาการและศิลปินอิสระ(นาฏยศิลป์), สัมภาษณ์ [ออนไลน์].

ธรากร จันทนะสาโร. (29 ตุลาคม 2564). อาจารย์ประจำสาขาวิชานาฏศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, สัมภาษณ์ [ออนไลน์].

ธำมรงค์ บุญราช. (10 พฤศจิกายน 2564). นักวิชาการละครและดนตรีปฏิบัติการ สำนักการสังคีต กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม. สัมภาษณ์.

นราพงษ์ จรัสศรี. (13 พฤศจิกายน 2564) อาจารย์ประจำหลักสูตรศิลปกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สัมภาษณ์.

นราพงษ์ จรัสศรี. (6 พฤศจิกายน 2564) อาจารย์ประจำหลักสูตรศิลปกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สัมภาษณ์.

ลักขณา แสงแดง. 2561. การสร้างสรรค์งานนาฏยศิลป์ที่สะท้อนถึงจริธรรมทางการวิจัยนาฏยศิลป์. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาศิลปกรรมศาสตร์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิชชุตา วุธาทิตย์. (6 พฤศจิกายน 2564). ข้าราชการบำนาญ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สัมภาษณ์.

สุเมธ ป้อมป้องภัย. (10 พฤศจิกายน 2564). อาจารย์ประจำภาควิชาศิลปะการแสดง คณะนิเทศศาสตร์ และผู้อำนวยการแสดงคณะละครมหาวิทยาลัยกรุงเทพ, สัมภาษณ์.

สุระเกียรติ รัตนอำนวยศิริ. (1 พฤศจิกายน 2564). นักออกแบบอิสระ อาจารย์พิเศษและนักวิจัย หน่วยปฏิบัติการวิจัยแฟชั่นและนฤมิตศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สัมภาษณ์ [ออนไลน์].

McGregor, D. (1960). The Human Side of Enterprise. New York: Mcgraw-Hill. (204-208)

Strauss, C,L (1978). Myth and Meaning. London: Routledge & Kegan Paul.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-28