ศึกษาและออกแบบตัวการ์ตูนสัญลักษณ์ เพื่อประชาสัมพันธ์ สวนเหรียญทอง จังหวัดปราจีนบุรี

ผู้แต่ง

  • จุฑามาศ เถียรเวช คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

คำสำคัญ:

คำสำคัญ : ตัวการ์ตูนสัญลักษณ์, ประชาสัมพันธ์, สวนผลไม้

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลของสวนเหรียญทอง จังหวัดปราจีนบุรี 2) เพื่อออกแบบตัวการ์ตูนสัญลักษณ์ เพื่อประชาสัมพันธ์ สวนเหรียญทอง จังหวัดปราจีนบุรี และ3) เพื่อประเมินความพึงพอใจที่มีต่อการออกแบบตัวการ์ตูนสัญลักษณ์ เพื่อประชาสัมพันธ์ สวนเหรียญทอง จังหวัดปราจีนบุรี เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบสัมภาษณ์เจ้าของสวนเหรียญทอง จังหวัดปราจีนบุรี 2) แบบประเมินความคิดเห็นด้านการออกแบบตัวการ์ตูนสัญลักษณ์ 3) แบบประเมินความพึงพอใจที่มีต่อการออกแบบตัวการ์ตูนสัญลักษณ์ 4) แบบประเมินความพึงพอใจที่มีต่อการออกแบบสื่อประชาสัมพันธ์ออนไลน์

ผลการวิจัยพบว่า ผู้วิจัยสามารถเขียนเป็นขั้นตอน ได้ดังนี้ 1) เจ้าของสวนหรียญทอง ให้โจทย์ในการออกแบบตัวการ์ตูนสัญลักษณ์ โดยให้ใช้แรงบันดาลใจจาก ทุเรียน กระท้อน และมังคุด เพื่อนำมาออกแบบ เพราะเป็นผลไม้ที่ขายดีที่สุดของสวนเหรียญทอง 2) ผู้วิจัยได้ออกแบบตัวการ์ตูนสัญลักษณ์มา 3 รูปแบบ และนำไปประเมินความคิดเห็นด้านการออกแบบตัวการ์ตูนสัญลักษณ์ ตามความคิดเห็นของเจ้าของสวนเหรียญทอง จังหวัดปราจีนบุรี จำนวน 3 ท่าน และผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบ จำนวน 2 ท่าน พบว่า รูปแบบที่ 2 มีผลคะแนนสูงที่สุด อยู่ในระดับเหมาะสมมาก มีค่าอยู่ที่ ( =4.44, S.D.=0.48) 3) ผู้วิจัยได้นำตัวการ์ตูนสัญลักษณ์ น้องทุเรียน ไปประเมินความพึงพอใจ ตามความคิดเห็นจากนักท่องเที่ยว จำนวน 100 คน พบว่า มีผลคะแนนอยู่ในระดับเหมาะสมมาก มีค่าอยู่ที่ ( =4.22, S.D.=0.68) 4) ผู้วิจัยได้นำตัวการ์ตูนสัญลักษณ์มาออกแบบเป็นสื่อประชาสัมพันธ์ออนไลน์ Facebook page ประกอบไปด้วย Profile Photo ขนาด 720 x 720 px, Cover Photo ขนาด 820 x 312 px และSquare Photo ขนาด 1200 x 1200 px เพื่อใช้ในการประชาสัมพันธ์บน Facebook page 5) ผู้วิจัยได้นำสื่อประชาสัมพันธ์ออนไลน์ Facebook page ที่ได้ออกแบบนำมาประเมินความพึงพอใจ ตามความคิดเห็นจากนักท่องเที่ยว จำนวน 100 คน พบว่า มีผลคะแนนอยู่ในระดับเหมาะสมมาก มีค่าอยู่ที่ ( =4.04, S.D.=0.73) 6) หลังจากนั้นผู้วิจัยได้ทดลองนำเอาตัวการ์ตูนสัญลักษณ์ น้องทุเรียน ไปออกแบบเป็นผลิตภัณฑ์ส่งเสริมการขาย เพื่อการประชาสัมพันธ์ เช่น หมวก เสื้อเชิ้ต เป็นต้น

 

คำสำคัญ : ตัวการ์ตูนสัญลักษณ์, ประชาสัมพันธ์, สวนผลไม้

References

เอกสารอ้างอิง

CC Club. (2557). Drawing Comic วาดการ์ตูน SD อย่างไรให้น่ารักสุดๆ. นนทบุรี: ไอดีซี พรีเมียร์.

Mimee. (n.d.). การตลาด 2.0 เลือกใช้ Social Media ให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายของคุณ. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

ประชิด สกุณะพัฒน์. (2554). 77 จังหวัด. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ ภูมิปัญญา.

แผนพัฒนาจังหวัดปราจีนบุรี. (2559). แผนพัฒนาจังหวัดปราจีนบุรี พ.ศ. 2561 – พ.ศ. 2564. ปราจีนบุรี: n.p.

เฟยเล่อเหนี่ยว. (2556). ภาพน่ารัก Q-Style วาดง่ายด้วยปากกาด้ามเดียว. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์เอ็มไอเอส.

สกนธ์ ภู่งามดี. (2554). การออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์ เพื่อผลิตงานโฆษณา. กรุงเทพฯ: นเรศการพิมพ์.

องอาจ ปทะวานิช. (2555). การโฆษณา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แสงดาว.

อรุณรัตน์ ชินวรณ์. (2553). สื่อประชาสัมพันธ์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อานัฐ ตันโช. (2556). ตำรา เกษตรธรรมชาติ ประยุกต์ 2556. พิมพ์ครั้งที่ 3. เชียงใหม่: สำนักพิมพ์ทรีโอแอคเวอร์ไทซิ่ง แอนด์ มีเดีย.

อารยะ ศรีกัลยาณบุตร. (2550). การออกแบบสิ่งพิมพ์. กรุงเทพฯ: วิสคอมเซ็นเตอร์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-30