การศึกษาผลสัมฤทธิ์การขับร้อง 2 แนว โดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือสำหรับผู้เรียนอายุ 17-18 ปี

ผู้แต่ง

  • ปาริฉัตร สุ่มมาตย์ คณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • ภัทรภร ผลิตากุล คณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

คำสำคัญ:

การขับร้อง 2 แนว, การเรียนรู้แบบร่วมมือ, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ของการจัดการเรียนรู้การขับร้อง 2 แนวโดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือสำหรับผู้เรียนอายุ 17 - 18 ปี ก่อนเรียนและหลังเรียนของกลุ่มทดลอง 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ของการจัดการเรียนรู้การขับร้อง 2 แนวสำหรับผู้เรียนอายุ 17-18 ปี ระหว่างกลุ่มทดลองที่ใช้แผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือและกลุ่มควบคุมที่ใช้การจัดการเรียนรู้แบบปกติ เป็นการวิจัยกึ่งทดลองโดยการศึกษาสองกลุ่มวัดสองครั้ง มีผู้เข้าร่วมวิจัยในครั้งนี้คือนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 5 แผนการเรียนศิลป์ทั่วไป โรงเรียนมาบตาพุดพันพิทยาคาร จำนวน 40 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบทดสอบการขับร้อง 2 แนวแบบประเมินการปฏิบัติทักษะขับร้อง 2 แนว

ผลการวิจัยพบว่า 1) หลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์การขับร้อง 2 แนว (M = 18.40,
SD = 0.50) สูงกว่าก่อนเรียน (M = 8.00, SD = 0.79) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) หลังทดลอง
กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์การขับร้อง 2 แนว (M = 18.40,  SD = 0.50) สูงกว่ากลุ่มควบคุม (M = 16.50,
SD = 0.68) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

คัคนางค์ มณีศรี. (2556). จิตวิทยาทั่วไป (General Psychology). (พิมพ์ครั้งที่ 3). สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ณรุทธ์ สุทธจิตต์. (2560). วิธีวิทยาการสอนดนตรี (พิมพ์ครั้งที่2). สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พรเทพ วิชชุชัยชาญ. (2563). แนวทางการสอนขับร้องประสานเสียงด้วยบทเพลงภาษาไทยระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. จุฬาลงกรลงกรณ์มหาวิทยาลัย. http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76671

สุรางค์ โคว้ตระกูล. (2559). จิตวิทยาการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 12). สํานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อธิชัย ตระกูลเดช. (2556). การแสดงเดี่ยวด้านการอำนวยเพลงสำหรับคณะนักเรียนประสานเสียง; อันโตนิโอ วิวาลดี

โวลฟ์กัง อมาเดอุส โมสาร์ท เดวิด แบลคเวล โรเบิร์ต เดอคอร์มิเยร์ และ ไกวัล กุลวัฒโนทัย.

[วิทยานิพนธ์ดุริยางคศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Brown, C., Katz, M. (2011). Cooperative learning & Music. Kagan Publishing.

Brown, C., Katz, M. (2011). Match Mine Music. Kagan Publishing.

Cunningham, L. (2007). Kagan and 4th Graders Make Beautiful Music Together. San Clemente. Kagan Online Magazine.

Duval, R. (2021). But What About My Shy Students. Kagan Publishing.

Emily, L. The Use of Kagan Cooperative Learning Structures in Music Education To Promote Rhythm Skills and Knowledge. Northwestern College.

Graham, F. W. (1994). “The Assessment Of Singing.” Psychology of music 22, 3-19.

Jolliffe, W. (2007). Cooperative Learning In The Classroom. Paul Chapman.

Kagan, S., Kagan, M. (2009). Kagan Cooperative Learning. Kagan Publishing.

McCarthy, M. (2002). The New Handbook Of Research On Music Teaching And Learning. Oxford University Press.

McCoy, S. (2014). Singing Pedagogy In The Twenty-Frist Century: A Look Toward the Future. In Scott D. Harrison, Jessica O’Bryan. Teaching Singing in the 21st Century, (13-20). www.springer.com.

Osborn, R. L. (1929). Ensemble Singing In The Senior High School, Music

Suppervisors Journal, 1929(2), 53-77. https://www.jstor.org/stable/3383559

Phillips, K. H. (1985) “Training the Child Voice.” Music Educators Journal 35, no.4 (1985):19-22, 57-58.

Slavin, R. E. (1985). An Introduction To Cooperative Learning Research. Springer. https://doi.org/10.1007/978-1-4899-3650-9

Sukrajh, V. (2018). The Use Of Peer Teaching To Promote Active Learning Amongst Senior Medical Students (Doctor dissertation, Stellenbosch University).

Vygotsky, L. S. (1978). Mind In Society: The development Of Higher Psychological Processes. Cambridge, MA: Harvard University Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-30