การพัฒนาสิ่งทอย้อมสีธรรมชาติจากกากเมล็ดโกโก้กับแนวคิดแฟชั่นยั่งยืน

ผู้แต่ง

  • ศิวรี อรัญนารถ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

DOI:

https://doi.org/10.60101/faraa.2024.259603

คำสำคัญ:

สิ่งทอย้อมสีธรรมชาติ, โกโก้, แฟชั่นยั่งยืน

บทคัดย่อ

การพัฒนาสิ่งทอย้อมสีธรรมชาติจากกากเมล็ดโกโก้กับแนวคิดแฟชั่นยั่งยืน เป็นบทความวิชาการจากการสังเคราะห์ข้อมูลองค์ความรู้ที่เป็นส่วนหนึ่งของโครงการนวัตกรรมอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ไลฟ์สไตล์ จากจังหวัดน่านสู่สากล เพื่อการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ กรณีศึกษากลุ่มผ้าทอไทลื้อบ้านเก็ต อำเภอปัว จังหวัดน่าน ภายใต้โครงการการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอองค์ความรู้จากภูมิปัญญาท้องถิ่น อันนำไปสู่การสังเคราะห์แนวทางการพัฒนาสิ่งทอย้อมสีธรรมชาติจากกากเมล็ดโกโก้ด้วยแนวคิดแฟชั่นยั่งยืน ซึ่งเป็นการหลอมรวมระหว่างสิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจ ทั้งนี้การย้อมสีธรรมชาตินั้นเกี่ยวข้องกับมิติทางด้านสังคมชุมชน เนื่องจากพืชที่ให้สีนั้นเป็นพืชในท้องถิ่น ทำหรือผลิตขึ้นโดยคนในชุมชนซึ่งเกี่ยวข้องกับทรัพยากรธรรมชาติ และทรัพยากรมนุษย์ ผ่านสิ่งทอทุนวัฒนธรรม  และในด้านเศรษฐกิจนั้นสิ่งทอที่สร้างสรรค์ด้วยเทคนิคการย้อมสีธรรมชาติสามารถสร้างอาชีพและรายได้ให้กับคนในชุมชน ผ่านการแปรรูปเป็นสินค้าและผลิตภัณฑ์แฟชั่นไลฟ์สไต

References

กระทรวงวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี. (2560). ประมวลสารสนเทศพร้อมใช้เรื่องการย้อมสิ่งทอด้วยสีธรรมชาติ. สืบค้นเมื่อ 10 มกราคม 2564, จาก http://siweb.dss.go.th/index.php/th/information-repacking/5605-textile-dyeing-with-natural-dyes.

นิธิมา ศิริโภคากิจ. (2560). โอกาสการส่งออกไหม. สืบค้นเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2564, จาก http://www.arda.or.th/kasetinfo/silk.

ประภากร สุคนธมณี. (2564). สีสันจากพันธุ์พฤกษา. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร. ปีที่ 37 ฉบับที่ 3, 183-202.

พสุ เดชะรินทร์. (2563). แฟชั่น เสื้อผ้า กับสิ่งแวดล้อม. สืบค้นเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2564, จาก https://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/651339

พัดชา อุทิศวรรณกุล. (2562). การบริหารจัดการสินค้าแฟชั่น. กรุงเทพมหานคร: คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พัดชา อุทิศวรรณกุล, ศิวรี อรัญนารถ, สิรีรัตน์ จารุจินดา และกาวี ศรีกูลกิจ, (2562). รายงานฉบับสมบูรณ์การเพิ่มมูลค่านวัตกรรมสิ่งทอผลิตภัณฑ์แฟชั่นไลฟ์สไตล์จากฐานการผลิตจังหวัดน่านสู่ตลาดเมืองหลวงพระบาง. สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. (อัดสำเนา)

ภสรัณญา จิตต์สว่างดี. (2563). เพราะแฟชั่นสัมพันธ์กับเมือง. สืบค้นเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2564, จาก https://theurbanis.com/life/06/08/2020/2306

ภัทริยา พัวพงศกร. (2562). Future is craft. สืบค้นเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2564, จาก https://readthecloud.co/crafting-alison-welsh-th/.

ศิวรี อรัญนารถ. (2564). รายงานฉบับสมบูรณ์การพัฒนากลุ่มคลัสเตอร์สิ่งทอนวัตกรรมย้อมโกโก้ กลุ่มผ้าทอไทลื้อบ้านเก็ต อำเภอปัว จังหวัดน่าน ภายใต้โครงการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในประเทศไทย(พื้นที่จังหวัดน่าน). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

WGSN. (2021). Fashion Trend2021-22. สืบค้นเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2564, จาก http://www.wgsn.com.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-14

How to Cite

อรัญนารถ ศ. (2024). การพัฒนาสิ่งทอย้อมสีธรรมชาติจากกากเมล็ดโกโก้กับแนวคิดแฟชั่นยั่งยืน. วารสารศิลปกรรมศาสตร์วิชาการ วิจัย และงานสร้างสรรค์, 11(1), 1–10. https://doi.org/10.60101/faraa.2024.259603