แนวทางการออกแบบเครื่องแต่งกายสำหรับกลุ่มอัลฟ่าเจเนอเรชัน ภายใต้แนวคิดนวัตกรรมการออกแบบที่สามารถขยายได้
DOI:
https://doi.org/10.60101/faraa.2024.264400คำสำคัญ:
อัลฟ่าเจเนอเรชัน, นวัตกรรมการออกแบบ, การขยาย, แฟชั่น, เครื่องแต่งกายเด็กบทคัดย่อ
การพัฒนาทางด้านกายภาพของเด็กส่งผลให้อุตสาหกรรมเครื่องแต่งกายสำหรับเด็กเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของการวิจัยเรื่องแนวทางการอกแบบเครื่องแต่งกายสำหรับกลุ่มอัลฟ่าเจเนอเรชัน ภายใต้แนวคิดนวัตกรรมการออกแบบที่สามารถขยายได้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อหาแนวทางการออกแบบสร้างสรรค์รูปแบบเครื่องแต่งกายสำหรับกลุ่มอัลฟ่าเจเนอเรชันด้วยนวัตกรรมการออกแบบที่สามารถขยายได้ ทั้งนี้ผู้วิจัยได้ใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นเองเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลองค์ประกอบการออกแบบเครื่องแต่งกายจากกลุ่มผู้บริโภคจำนวน 71 คน การเก็บรวบรวมข้อมูลการแต่งกายของกลุ่มผู้บริโภคด้วยเทคนิคเปเปอร์ดอลดาต้าเซ็ท (Paper doll data set) เพื่อเก็บรวมรวมข้อมูลรูปภาพและวิเคราะห์องค์ประกอบการแต่งกายที่ใช้ในการออกแบบสร้างสรรค์ และการทดลองสร้างสรรค์เทคนิค รายละเอียดตกแต่งภายใต้แนวคิดการออกแบบที่สามารถขยายได้ (Expandable)
ผลจากการศึกษาพบว่า ในการออกแบบคอลเลกชันเครื่องแต่งกายกลุ่มอัลฟ่าเจเนอเรชันต้องคำนึงถึงรูปแบบการแต่งกายและความต้องการของกลุ่มมิลเลนเนียลส์เจเนอเรชัน ซึ่งเป็นผู้ที่มีอิทธิพลในการเลือกซื้อเครื่องแต่งกายให้กับกลุ่มอัลฟ่าเจเนอเรชัน โดยมีองค์ประกอบการตัดสินใจซื้อคือรูปแบบของการออกแบบ ซึ่งแบ่งเป็นหมวดหมู่ดังนี้ 1) รูปแบบเครื่องแต่งกาย นิยมรูปแบบเรียบง่าย หรือแบบมินิมอล และรูปแบบสตรีท 2) รูปแบบโครงร่างเงาของเครื่องแต่งกาย นิยมรูปแบบทรงตรง หรือไอไลน์ (I-Line) และรูปแบบทรงเอ หรือเอไลน์ (A-Line) 3) รูปแบบสีของเครื่องแต่งกาย นิยมสีอ่อนแบบพาสเทล และสีสดใส 4) รูปแบบของการออกแบบเครื่องแต่งกายด้านการใช้สอยที่ได้รับความสนใจคือรูปแบบการปรับขยายตามสัดส่วนของร่างกาย รูปแบบการปรับเปลี่ยนได้ และรูปแบบการถอดประกอบ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของนวัตกรรมการออกแบบที่สามารถขยายได้ตามสัดส่วนของร่างกาย (Expandable Clothing) จากการทดลองสร้างสรรค์เทคนิครายละเอียดตกแต่งพบว่าการถัก (Knitting) ด้วยรูปแบบ Accordion Pleat มีการยืด หด ขยายได้ดีที่สุด ประกอบกับการเลือกใช้วัสดุ Eco Vero ที่ไม่ผสมกับวัสดุอื่นในการถัก (Knitting) ส่งผลให้มีผิวสัมผัสที่นิ่ม นุ่ม น้ำหนักเบา เนื้อผ้ามีความเย็นสบาย อีกทั้งขนาดเส้นด้ายที่เล็กและไม่ฟูเป็นขุยง่าย เหมาะสมกับการนำไปประยุกต์ใช้พัฒนาการออกแบบเครื่องแต่งกายสำหรับเด็กที่สามารถขยายได้
คำสำคัญ: อัลฟ่าเจเนอเรชัน, นวัตกรรมการออกแบบ, การขยาย, แฟชั่น, เครื่องแต่งกายเด็ก
References
ปรีดา ศรีสุวรรณ์. (2566, 19 มกราคม). นวัตกรรมแฟชั่นยั่งยืน. คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย
พงศ์สุข หิรัญพฤกษ์. (2565, 23 กันยายน). Fast Fashion อุตสาหกรรมเสื้อผ้าทำลายโลก. Beartai.https://fb.watch/lyAJqW87G1/
ศูนย์กุมารเวช โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์. (2562, 22 พฤษภาคม). เข้าใจพัฒนาการลูก จากทารกสู่วัยรุ่น. ศูนย์กุมารเวช โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์. https://www.bumrungrad.com/th/health-blog/may-2019/child-growth-and-development
สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์กรมหาชน). (2564, 1 กันยายน). Sustainable fashion เทรนด์แฟชั่นที่ยั่งยืน. สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์กรมหาชน). https://www.okmd.or.th/okmd-kratooktomkit/4419/
Hara, K. (2021, 3 December). 10 Questions with MUJI's Kenya Hara. Pacific Place. https://www.pacificplace.com.hk/en/entertainment/thestylesheet/muji-kenya-hara-interview-q4-2021
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารศิลปกรรมศาสตร์วิชาการ วิจัย และงานสร้างสรรค์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.