อินเทอร์แลนด์ ผจญภัยในโลกอินเทอร์เน็ต : การสร้างสรรค์ละครเวทีสำหรับเด็ก เพื่อส่งเสริมการรับสื่ออย่างปลอดภัยรู้เท่าทัน และป้องกันภัยจากสื่อสังคมออนไลน์

ผู้แต่ง

  • รัชนีกร จันทหาร คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • ดลย พละแสน คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • ปัณณพร ศิลปะรายะ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • พลพล แก้วดอนรี คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • โสภางค์พิศ ภูแลสี คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • อรชพร นันท์ศิริ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

DOI:

https://doi.org/10.60101/faraa.2024.264829

คำสำคัญ:

การสร้างสรรค์, ละครเวทีสำหรับเด็ก, การป้องกันภัยจากสื่อออนไลนื, ละครประยุกต์

บทคัดย่อ

บทความนี้อภิปรายการดำเนินงานและข้อค้นพบจากกระบวนการ การสร้างสรรค์ละครเวทีสำหรับเด็ก เรื่อง อินเทอร์แลนด์ ผจญภัยในโลกอินเทอร์เน็ต เพื่อส่งเสริมการรู้เท่าทันและป้องกันภัยจากสื่อสังคมออนไลน์ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างสรรค์ละครเวทีสำหรับเด็ก ที่สามารถส่งเสริมทักษะการรู้เท่าทันในการใช้สื่อออนไลน์อย่างเหมาะสมได้ และค้นหาวิธีการสร้างสรรค์ละครเวทีสำหรับเด็ก เพื่อนำเสนอประเด็นการรู้เท่าทันสื่อออนไลน์ แก่ผู้ชมกลุ่มเป้าหมายเด็กอายุ 6-9 ปี โดยใช้วิธีการสร้างสรรค์งานด้วยกระบวนการดีไวซ์ (Devised) โดยที่ผู้มีส่วนร่วม ร่วมกันสร้างสรรค์และพัฒนางาน โดยแบ่งเป็น 3 ส่วน ได้แก่ 1.การสร้างสรรค์บทและกำกับการแสดง 2.กระบวนการสร้างสรรค์ตัวละครและพัฒนาตัวละคร และ 3.การวางแผนและอำนวยการผลิต อันเป็นองค์ปะกอบสำคัญในการสร้างสรรค์ผลงาน

ผลการดำเนินงานพบว่า 1. การนำเสนอละครเวทีสำหรับเด็ก มุ่งเน้นการเสริมสร้างทักษะการรู้เท่าทัน ด้วยเนื้อหาที่สอดแทรกสาระสำคัญที่สื่อสารประเด็นสำคัญคือ การรู้เท่าทันอันเป็นเกราะป้องกันภัยร้ายในสื่อออนไลน์ต่าง ๆ ได้ 2. บทละครที่สร้างสรรค์จากการนำข้อมูลสาระสำคัญเกี่ยวกับประเด็น การรู้เท่าทันและภัยจากสื่อออนไลน์ มาปรับใช้ในบทละคร สร้างและพัฒนาตัวละคร โดยการนำเสนอผ่านตัวละครหลัก ‘ต้นกล้า’ และ ‘ฟิชชิ่ง’ ตัวละครตรงข้าม นำเสนอและสื่อสารประเด็นการรู้เท่าทันสื่อออนไลน์ไปยังกลุ่มเป้าหมายอายุ 6-9 ปี

References

จุฬาลักษณ์ เอกวัฒนพันธ์. (2564). การทดลองสร้างงานนาฏศิลป์ร่วมสมัยจากแนวคิดการใช้กระบวนการละครแบบร่วมสร้าง. วารสารศิลปกรรมบูรพา, 24(1), 705-707.

พรรัตน์ ดำรุง. (2547). การละครสำหรับเยาวชน. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พรรัตน์ ดำรุง. (2557). ละครประยุกต์:การใช้ละครเพื่อการพัฒนา. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มนวิภา วงรุจิระ. (2561). การเข้าถึงเนื้อหาสื่อใหม่ที่ไม่เหมาะสมของเด็กและเยาวชน.

ศูนย์ประสานงานขับเคลื่อนการส่งเสริมและปกป้องคุ้มครองเด็กและเยาวชนในการสื่อออนไลน์. (2561, 10 สิงหาคม). แนวทางปกป้องคุ้มครองเด็กจากภัยออนไลน์. http://www.thatoomhsp.com/userfiles/แนวทางปกป้องคุ้มครองเด็กจากภัยออนไลน์.pdf)

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2560, 10 สิงหาคม). 5 องค์ประกอบของการรู้เท่าทันสื่อ. https://www.thaihealth.or.th/5-องค์ประกอบของการรู้เท-2/)

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2562, 10 สิงหาคม). Fake News ลวงให้เชื่อ หลอกให้แชร์. https://www.etda.or.th/th/Useful-Resource/knowledgesharing/articles/IFBL/FakeNews.aspx)

Bitdefender. (2021, 10 Aug). ฟิชชิง (Phishing) คืออะไร. https://www.bitdefender.co.th/post/phishing/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-24

How to Cite

จันทหาร ร. . . ., พละแสน ด., ศิลปะรายะ ป., แก้วดอนรี พ., ภูแลสี โ., & นันท์ศิริ อ. (2024). อินเทอร์แลนด์ ผจญภัยในโลกอินเทอร์เน็ต : การสร้างสรรค์ละครเวทีสำหรับเด็ก เพื่อส่งเสริมการรับสื่ออย่างปลอดภัยรู้เท่าทัน และป้องกันภัยจากสื่อสังคมออนไลน์. วารสารศิลปกรรมศาสตร์วิชาการ วิจัย และงานสร้างสรรค์, 11(2), 91–109. https://doi.org/10.60101/faraa.2024.264829