บทบาทแขกแดงในการแสดงลิเกป่า

ผู้แต่ง

  • อภิชาติ แก้วกระจ่าง บัณฑิตศึกษา สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์
  • สุขสันติ แวงวรรณ บัณฑิตศึกษา สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์
  • ธีรภัทร์ ทองนิ่ม บัณฑิตศึกษา สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์

DOI:

https://doi.org/10.60101/faraa.2024.265003

คำสำคัญ:

บทบาทการแสดง, ลิเกป่า, แขกแดง, อัตลักษณ์การแสดง

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนท่าเต้นรวมทั้งวิเคราะห์เปรียบเทียบ อัตลักษณ์บทบาทแขกแดงในการแสดงลิเกป่า โดยกำหนดขอบเขตของการวิจัยของชายฝั่งทะเลตะวันออก คณะเด่นชัย สงวนศิลป์ จังหวัดพัทลุง และชายฝั่งทะเลตะวันตก คณะสิทธิ์วราภรณ์ รำมะนารักษาศิลป์ จังหวัดตรัง

ผลการศึกษาพบว่า กระบวนท่าเต้นแขกแดงทั้งสองคณะแบ่งออกเป็น 3 ช่วง คือ ช่วงที่ 1 การออกแขก ช่วงที่ 2 แขกแดงเกี้ยวยาหยี และช่วงที่ 3 แขกลาโรง การออกแขกแดงเป็นการแสดงตามธรรมเนียมก่อนเริ่มการแสดงเรื่องราวผู้แสดงแขกแดงจะไหว้ครู โดยการจุดเทียนถือออกมาพร้อมกับเต้นตามจังหวะ ซึ่งมีความเชื่อว่าการไหว้ครูนั้นทำให้การแสดงดำเนินไปอย่างราบรื่นโดยไม่มีอุปสรรคใด ๆ สำหรับกระบวนท่าเต้นของแขกแดงทั้งสองคณะมีความแตกต่างกัน ดังนี้ การออกแขกแดงของคณะเด่นชัย สงวนศิลป์ จังหวัดพัทลุง ตัวแขกแดงใช้ท่าย่าง 3 ขุม เน้นการก้าวเท้าเอนลำตัว ส่วนคณะสิทธิ์วราภรณ์ รำมะนา รักษาศิลป์ จังหวัดตรัง เน้นการใช้ลำตัว มือ และการร้องบท ใช้ท่าเต้นในลักษณะเป็นวงกลมเพื่อเรียกนางยาหยีออกมาหา ท่าเต้นแขกแดงเกี้ยวยาหยี ของคณะเด่นชัย สงวนศิลป์ จังหวัดพัทลุง จะเข้าเกี้ยวยาหยีทั้งสองคนในช่วงร้องบทและสลับพูดสนทนา เต้นกระโดดเตะเท้าสูง ๆ เพื่อแสดงออกถึงความดีใจ คณะสิทธิ์วราภรณ์ รำมะนา รักษาศิลป์ จังหวัดตรัง จะมีลักษณะของการเกี้ยวโดยตัวแขกแดงจะวิ่งอ้อมหลังสลับไปอยู่ทางซ้าย - ขวา ของนางยาหยี ร้องบทสลับพูดและใช้ท่ารำส่ายสองข้าง ส่วนกระบวนท่าเต้นแขกลาโรงของคณะเด่นชัย  สงวนศิลป์ จังหวัดพัทลุง จะใช้การไหว้ เรียกว่า “แขกไหว้” เป็นการบ่งบอกว่าการแสดงได้จบลงแล้ว คณะสิทธิ์วราภรณ์ รำมะนา รักษาศิลป์ จังหวัดตรัง จะถือเทียนไหว้เพื่อลาครูก่อนเข้าหลังม่าน อัตลักษณ์ของแขกแดงในการแสดงลิเกป่า ร้องบทโดยใช้ภาษาท้องถิ่นภาคใต้ แต่งกายพื้นบ้าน แบบชาวไทยมุสลิมสิ่งสำคัญที่แสดงถึงอัตลักษณ์ที่เด่นชัดของการเต้นแขกแดง คือ การเต้นโดยการโน้มเอนลำตัวและจังหวะกระโดดยกเท้าหรือเตะเท้าสูง ๆ ท่าเต้นกระฉับกระเฉง ในปัจจุบันพบว่าการแสดงลิเกป่ามีการปรับตัวให้เข้ากับสังคม มีรูปแบบการแสดงจึงเรียบง่ายตามแบบชาวบ้านอีกทั้งยังสะท้อนให้เห็นถึงวัฒนธรรมและวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนชายฝั่งทะเลตะวันออกและชายฝั่งทะเลตะวันตกของภาคใต้ได้เป็นอย่างดี

References

กลิ่น คงเหมือนเพชร. (2538). การศึกษาวิเคราะห์การแสดงพื้นบ้านลิเกป่าจังหวัดกระบี่. ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดกระบี่.

กิตติกร วิบูลย์ศรี. (2552). ศิลปะการแสดงลิเกป่าในแถบชายฝั่งทะเลตะวันตก : กรณีศึกษาจังหวัดกระบี่. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

กิติมา ทวนน้อย. (2551). ลิเกป่าคณะเด่นชัยสงวนศิลป์ตำบลปันแต จังหวัดพัทลุง. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

จารุนันท์ แก้วเข้ม, ประทีป ไชยแจ่มแจ้ง, และ เยาวลักษณ์ ศักดิ์ศรี. (2527). การศึกษาเกี่ยวกับลิเกป่า ศิลปการแสดงของภาคใต้. โครงการอบรมครูและบุคลากรทางการศึกษาประจำการ วิทยาลัยครูสุราษฎร์ธานี.

อุดม หนูทอง. (2542). ลิเกป่า สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคใต้ เล่ม 14. กรุงเทพฯ : สยามเพรสแมเนจเม้นท์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-26

How to Cite

แก้วกระจ่าง อ., แวงวรรณ ส., & ทองนิ่ม ธ. . . (2024). บทบาทแขกแดงในการแสดงลิเกป่า. วารสารศิลปกรรมศาสตร์วิชาการ วิจัย และงานสร้างสรรค์, 11(1), 159–174. https://doi.org/10.60101/faraa.2024.265003