การพัฒนาผลิตภัณฑ์วัฒนธรรม : ผ้าทอยกดอกลำพูน

ผู้แต่ง

  • ใจภักดิ์ บุรพเจตนา มหาวิทยาลัยชินวัตร

คำสำคัญ:

ผ้าทอยกดอกลำพูน, การพัฒนาผ้าทอ, ผลิตภัณฑ์วัฒนธรรม

บทคัดย่อ

การวิจัยมีจุดมุ่งหมายในการพัฒนาผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมประเภทผ้าทอยกดอกจังหวัดลำพูนเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาศักยภาพของชุมชนผ้าทอพื้นถิ่นและตอบสนองผู้บริโภคยุคใหม่ที่นิยมสินค้าเชิงวัฒนธรรม วัตถุประสงค์การวิจัยมีดังนี้ 1. ประเมินผู้บริโภคกลุ่มวัยทำงานตอนต้น (Generation M) ที่นิยมผลิตภัณฑ์ไลฟ์สไตล์จากผ้าทอพื้นถิ่นเพื่อนำผลการประเมินมาเป็นแนวทางการพัฒนาผ้าทอ 2. ออกแบบพัฒนาผ้าทอยกดอก ได้ศึกษาทดลองด้านวัสดุ การออกแบบโครงสร้างลายทอ ได้ข้อสรุปนำไปผลิตดังนี้ 2.1) ใช้วัสดุเส้นใยเรยอนในการทอด้ายพุ่งได้ผิวสัมผัสเป็นเงานุ่ม ช่วยลดต้นทุนการผลิตและใช้งานสะดวกมากกว่าเดิม 2.2) ออกแบบและผลิตลายผ้าทอยกดอกลำพูน 5 แบบ การออกแบบลายผ้าทอให้ใช้งานได้ทั้ง2 ด้าน และการทอแบบควบเส้นใยสีเงินสีทองผสมกับเส้นใยเรยอนทำให้ผ้าทอมีผิวสัมผัสแวววาว เหลือบสีสวยงาม ผลการประเมินภาพรวมมีความพึงพอใจต่อการออกแบบพัฒนาผ้าทอยกดอกลำพูนในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 4.43 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.26

References

สุธาสินีน์ บุรีคําพันธ. 2556. การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากผ้ายกดอกเพื่อการอนุรักษ์และส่งเสริมอาชีพของชุมชนกลุ่มแม่บ้านตําบลเวียงยองจังหวัดลําพูน. คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง. (รายงานวิจัย)

ปานฉัตร อินทร์คง. 2560. การออกแบบผลิตภัณฑ์วัฒนธรรม แนวคิด รูปแบบ และการวิเคราะห์. กรุงเทพฯ: บริษัทอัลลิมิต พริ้นติ้ง จำกัด.

พิพิธภัณฑ์ผ้าทอมือหริภุญชัย สถาบันผ้าทอมือหริภุญชัย, https://db.sac.or.th/museum/museumdetail/1530

เอกลักษณ์ผ้าไทย. ระบบสารสนเทศศูนย์อนุรักษ์ผ้าไหม สำนักอนุรักษ์และตรวจสอบมาตรฐานหม่อนไหมกรมหม่อนไหม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. สืบค้น 15 ธันวาคม 2561,จาก https://qsds.go.th/silkcotton

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-29