แนวทางการออกแบบเครื่องแต่งกายสตรีด้วยวัสดุเหลือใช้ สำหรับกลุ่มที่ต้องการสร้างผลกระทบเชิงบวก โดยใช้แนวคิดการนำกลับมาใช้ใหม

ผู้แต่ง

  • ศศิมา สุชินโรจน์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ศิวรี อรัญนารถ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

กลุ่มที่ต้องการสร้างผลกระทบเชิงบวก, แนวคิดการนำกลับมาใช้ใหม, วัสดุเหลือใช, แฟชั่น

บทคัดย่อ

แนวทางการออกแบบเครื่องแต่งกายสตรีด้วยวัสดุเหลือใช้สำหรับกลุ่มที่ต้องการสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสิ่งแวดล้อม (Reuse Revolutionaries) โดยใช้แนวคิดการนำกลับมาใช้ใหม่ (Upcycle Concept) เป็นการวิจัยเพื่อหาแนวทางในการใช้ประโยชน์จากวัสดุเหลือใช้ซึ่งได้จากการผลิตอุตสาหกรรมประเภทเครื่องหนัง และจะนำมาพัฒนาควบคู่ไปกับงานฝีมือเพื่อให้เกิดงานออกแบบที่สร้างสรรค์มากยิ่งขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นแนวทางในการสร้างตราสินค้าแฟชั่นโดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณควบคู่กับกระบวนการออกแบบสร้างสรรค์ให้สอดคล้องเหมาะสมกับสตรีกลุ่มที่ต้องการสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสิ่งแวดล้อมที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย เริ่มตั้งแต่การศึกษากลุ่มเป้าหมายถึงข้อมูลทั่วไปและพฤติกรรมการบริโภคสินค้าเพื่อให้เข้าใจถึงรูปแบบและหลักเกณฑ์ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกบริโภคสินค้า รวมถึงหาช่องทางที่กลุ่มเป้าหมายจะตัดสินใจเลือกบริโภค ตลอดจนการศึกษาถึงลักษณะแบรนด์สินค้าในปัจจุบันที่สามารถตอบโจทย์กลุ่มคนเป้าหมายได้ศึกษาแนวความคิดเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จากวัสดุเหลือใช้ด้วยการนำกลับมาใช้ใหม่ (Upcycle)
ผ่านแนวทางเทคนิคงานฝีมือให้ชิ้นงานมีมูลค่าและสวยงามมากขึ้น ตลอดจนมีการศึกษารูปแบบผลงานการใช้ประโยชน์จากวัสดุเหลือใช้ที่มีในปัจจุบันของศิลปินต่าง ๆ ศึกษารูปแบบงานฝีมือ ที่หลากหลายและแบบการปักเพื่อสร้างพื้นผิว เพื่อนำมาหาข้อสรุปและความเหมาะสมในการสร้างสรรค์งาน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามกลุ่มผู้บริโภคผู้หญิงที่อยู่กลุ่มเจเนอเรชั่นวาย มีอายุระหว่าง 25 - 35 ปีจำนวน 50 คน ผลจากการวิจัยพบว่าแฟชั่นเพื่อกลุ่มที่ต้องการสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสิ่งแวดล้อม (Reuse Revolutionaries) กับแนวความคิดการใช้ประโยชน์จากวัสดุเหลือใช้ด้วยการนำกลับมาใช้ใหม่ (Upcycle) สามารถมีแนวทางในการออกแบบร่วมกันได้โดยใช้เทคนิคการผสมผสานงานฝีมือที่หลากหลายเพื่อให้เกิดการลดปริมาณเศษหนังให้มากที่สุดและ เกิดการใช้งานอย่างคุ้มค่า โดยมีโอกาสการใช้สอยในรูปแบบของชุดลำลองที่สร้างสรรค์ (Creative Casual) โดยสามารถประยุกต์ใช้เพื่อตอบสนองความต้องการของกลุ่มผู้บริโภค ช่องว่างการตลาดสู่การสร้างสรรค์ตราสินค้าแฟชั่นที่มีการผสมผสานงานฝีมือและการใช้ประโยชน์จากวัสดุเหลือใช้

References

ฐานเศรษฐกิจ. (2563). ส่องวงการแฟชั่นสเปนเมื่อเทรนด์ธุรกิจแฟชั่นเพื่อความยั่งยืนมาแรง. สืบค้นเมื่อ 1 เมษายน 2562 จาก https://www.thansettakij.com/content/world/419719

ปรีดา ศรีสุวรรณ์. (2561). นวัตกรรมแฟชั่นยั่งยืน. ศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต. คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ผู้จัดการออนไลน์. (2563). จากเศษหนังเหลือทิ้งสู่สินค้าโกอินเตอร์“THAIS” แบรนด์สินค้าหนังรีไซเคิลตีตลาดต่างประเทศ.สืบค้นเมื่อ 19 พฤษภาคม 2563จากhttps://mrgonline.com/smes/detail/ 9630000051856

ภัทราพร ยาร์บะระ. (2561). แฟชั่นที่ดีต้องยืนยาวและไม่เอาเปรียบโลก-ปรัชญาแฟชั่น ‘ยั่งยืน’ แบบ Eileen Fisher สืบค้นเมื่อ 19 พฤษภาคม 2563จากhttp://thestandard.co/eileen-fisher/

มนุษย์และสังคม. (2562). แฟชั่นแบบยั่งยืนหรือแบบยั่งยืนคืออะไร. สืบค้นเมื่อ 19 พฤษภาคม 2563จากhttps://th.milanospettacoli.com/835-what-is-sustainable-or-sustainable-fashion

ราวิน รุ่งสว่าง และศิวรี อรัญนารถ. (2564). การสร้างสรรค์ตราสินค้าแฟชั่นจากนวัตกรรมการนำกลับมาใช้ใหม่เพื่อเพิ่มมูลค่า. วารสารศิลปกรรมศาสตร์วิชาการ วิจัย และงานสร้างสรรค์. ปีที่ 8 ฉบับที่ 1(มกราคม-มิถุนายน).

ศศิมา สุชินโรจน์. (2563). นวัตกรรมสร้างสรรค์ตราสินค้าเครื่องแต่งกายสตรีด้วยวัสดุเหลือใช้สำหรับกลุ่มที่ต้องการสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสิ่งแวดล้อม โดยใช้แนวคิดการนำกลับมาใช้ใหม่. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักข่าวผู้จัดการออนไลน์. (2562). พาณิชย์เผย Upcycle มาเเรงในแคนาดาแนะผู้ส่งออกไทยเร่งศึกษา. สืบค้นเมื่อ 6 เมษายน 2562 จาก https://mgronline.com/smes/detail/9620000014559

Caro Ramsey. (2020). Textile Artist[Online]. Reference: https://www.caroramsey.co.uk/?fbclid=IwAR1TdUZrKIUV9P1KPWJuhbPV1Sm62z1ZKKcjG7AT0OXUrXQSxawfJF-yWI0

Claudia Henriquez. (2020). 3 Reasons Why Craftmanship Still Matters. Reference: https://www.washein.com/blogs/the-washein-journal/3-reasons-why-craftsmanship-stillmatters

DECK. (2557). Eco Fashion คืออะไร. แปลจาก Magaly Fuentes-Sagan. สืบค้นเมื่อ 19 พฤษภาคม 2563จากhttps://deckmag.wordpress.com/2013/10/15/eco-fashion/

Dolores Monet. (2021). Boho Clothing : Fashion History and Bohemian Style. Reference: https://bellatory.com/fashion-industry/BohoTheFashionHistoryof BohemianClothes

Maria Coronado Robles. (2020). Reuse is the New Recycle. 2 May 2020 Reference: https://blog.euromonitor.com/reuse-is-the-new-recycle/ [2 May 2020]

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-30