การวิจัยละครสร้างสรรค์ในประเทศไทย สู่แนวทางการพัฒนาโมเดล ละครสร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมทักษะการจัดการความขัดแย้งของเยาวชน ในสถานพินิจคุ้มครองเด็กและเยาวชน

ผู้แต่ง

  • ลิขิต ใจดี คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
  • วรวิทย์ ทองเนื้ออ่อน คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

คำสำคัญ:

วิจัยละครสร้างสรรค์6-SCD, การจัดการความขัดแย้ง, เยาวชน, 9CM-CDL โมเดล, สถานพินิจคุ้มครองเด็กและเยาวชน

บทคัดย่อ

บทความวิชาการฉบับนี้เป็นการนำเสนอองค์ความรู้เกี่ยวกับละครสร้างสรรค์ที่เกิดขึ้นตั้งแต่ทศวรรษที่ 1920 ถือเป็นยุคแรกที่นักการศึกษาในสหรัฐอเมริกาได้ริเริ่มนำแนวคิดการศึกษามาใช้ร่วมกับกระบวนการละครภายในห้องเรียนเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ โดยแก่นแท้ของละครสร้างสรรค์มิได้มุ่งเน้นความบันเทิงแก่ผู้ชม แต่เป็นละครในรูปแบบของกิจกรรมที่มุ่งเน้นกระบวนการเรียนรู้ผ่านการเข้าร่วมกิจกรรมละครเป็นสำคัญ ที่ผ่านมามีงานวิจัยละครสร้างสรรค์ในประเทศไทยจำนวน 32 เรื่อง สะท้อนให้เห็นว่านักการละครสร้างสรรค์ในประเทศไทยได้ใช้ละครสร้างสรรค์เป็นเครื่องมือในการพัฒนาเด็กและเยาวชนได้หลากหลายมิติทั้งทางด้านพุทธิพิสัย ทักษะพิสัยและจิตพิสัย ซึ่งถือว่าเป็นองค์ความรู้ที่แสดงให้เห็นถึงคุณค่าและความสำคัญของการใช้ละครสร้างสรรค์เป็นเครื่องมือในการพัฒนาการเรียนรู้ของเด็กและเยาวชนในบริบทสังคมไทย นำไปสู่แนวทางการพัฒนา 9CM-CDL Model เพื่อส่งเสริมทักษะการจัดการความขัดแย้งของเยาวชนในสถานพินิจคุ้มครองเด็กและเยาวชน ที่ผสมผสานองค์ความรู้ด้านทักษะการจัดการความขัดแย้งอย่างสันติวิธี จำนวน 9 เทคนิค ได้แก่ ทักษะการเจรจาไกล่เกลี่ยโดยคนกลาง ทักษะการเจราจาต่อรอง ทักษะการใช้อนุญาโตตุลาการ ทักษะการนิติบัญญัติ ทักษะการเจรจาไกล่เกลี่ยข้ามวัฒนธรรม ทักษะการสานเสวนา ทักษะการไต่สวน ทักษะไม่ใช้ความร่วมมือ และทักษะการอารยะขัดขืน ประกอบเข้ากับองค์ความรู้ด้านละครสร้างสรรค์ผ่านกระบวนการวิจัยละครสร้างสรรค์แบบ 6-SCD โมเดลนี้เป็นองค์ความรู้ที่พัฒนาขึ้นผ่านการวิจัยละครสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาทักษะการจัดการความขัดแย้งของเยาวชนในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน

References

กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน. (2565). รายงานสถิติคดีประจำปี 2565. กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน. https://www.djop.go.th/navigations/รายงานสถิติคดีประจำปี

กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. 2542 ที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545. กรุงเทพฯ: องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

ธนสิน ชุตินธรานนท์. (2560). ละครการศึกษาในสังคมตะวันตกและสังคมไทย. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 37(4), 195-207.

ปาริชาติจึงวิวัฒนาภรณ์. (2547). ละครสร้างสรรค์สำหรับเด็ก. กรุงเทพฯ: พัฒนาคุณภาพวิชาการ(พว.) จำกัด.

พรรัตน์ ดำรุง. (2547). การละครสำหรับเยาวชน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์.

สำนักข่าว ไอ.เอ็น.เอ็น. (2555). เด็กสถานพินิจฯยกพวกตีกันเจ็บกว่า 45 ราย กรุงเทพฯ: บริษัท เทนเซ็นต์ (ประเทศไทย) จำกัด. https://www.sanook.com/news/1107267/.

สมิทธิรักษ์ จันทรักษ์. (2557). การพัฒนารูปแบบการสอนสันติศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาไทย.[วิทยานิพนธ์ดุษฏีบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

บุษบง ชัยเจริญวัฒนะ. (2561). การจัดการความขัดแย้ง ความรู้เบื้องต้นและกรณีศึกษา. สงขลา:พี. ซี พริ้นติ้ง.

สุชา จันทร์เอม (2522). ปัญหาการกระทำความผิดของเด็กและเยาวชนในกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: ภาควิชาสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ไทยรัฐ. (2559, 8 ตุลาคม).โจ๋สถานพินิจฯสงขลา ยกพวกตีกันเจ็บ 15 ราย เหตุเขม่นเพื่อนต่างถิ่น. กรุงเทพฯ: บริษัท วัชรพล https://www.thairath.co.th/news/local/south/747557

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-30