การสร้างความหมายใหม่ : ภูมิทัศน์วัฒนธรรมนาข้าว

ผู้แต่ง

  • สุชีพ กรรณสูต วิทยาลัยการออกแบบ มหาวิทยาลัยรังสิต

คำสำคัญ:

มานุษยวิทยาทัศนา, ภาพถ่ายเชิงความคิด, การตีความ, การสร้างความหมายใหม, ภูมิทัศน์วัฒนธรรมนาข้าว

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการตีความหมายใหม่ภูมิทัศน์นาข้าวที่เกิดการเปลี่ยนแปลงด้วยแนวคิดมานุษยวิทยาทัศนา ภาพถ่ายเชิงความคิด การตีความ การประกอบสร้าง และการสร้างความหมายใหม่ 2) เพื่อสร้างสรรค์ผลงานภาพถ่ายเชิงความคิดที่มีความร่วมสมัยผ่านการมองแบบมานุษยวิทยาทัศนาที่แสดงถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพพื้นที่ วัตถุ และสภาพแวดล้อมนาข้าวไปสู่การสร้างความหมายใหม่ภูมิทัศน์นาข้าว ด้วยการศึกษาเอกสาร การสังเกตการณ์แบบมานุษยวิทยาทัศนาการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบเฉพาะเจาะลง การบันทึกภาพการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม วัตถุเพื่อนำไปวิเคราะห์ สังเคราะห์ไปสู่การสร้างความหมายใหม่ในงานภาพถ่ายร่วมสมัย

สรุปผล 1) การศึกษาพบว่าภูมิทัศน์วัฒนธรรมนาข้าวมีการปรับสภาพตัวเองเพื่อตอบสนองทุนนิยมทั้งรู้เท่าทัน และรู้ไม่เท่าทันการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อม วัตถุสิ่งของ และผู้คน เกิดการย้อนคิดการสร้างประสบการณ์ร่วมกันตั้งคำถามเรียกร้องกระบวนการคิดไปสู่ความเข้าใจกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกระตุ้นให้เกิดการสำรวจ จ้องมอง ทบทวน และตีความหมายใหม่นำไปสู่การสร้างความหมายใหม่ในมุมมองที่เหมือนกันและต่างกันเพื่อแสวงหามุมมองร่วม 2) การสร้างสรรค์พบว่าภาพถ่ายเป็นเครื่องมือการจับภาพช่วงเวลาความสัมพันธ์ของวัตถุสิ่งของ และผู้คนที่ช่วยสร้างมิติของมุมมองให้เห็นความไม่ลงรอยที่เชื่อมโยงสะท้อนภาพสิ่งที่เผชิญหน้ากัน การวางตัวและตำแหน่งของช่างภาพส่งผลต่อการมอง การต่อต้าน การต่อรองความหมายทำให้เกิดความต่างในแง่มุมต่าง ๆ ผสมผสานความรู้ สหวิทยาการข้ามศาสตร์สาขาฯ เป็นการก้าวข้ามกับดักทางความคิด วิธีคิดไปสู่การสร้างความหมายใหม่ที่พบความเป็นนามธรรมที่ซ่อนอยู่ในความเป็นรูปธรรมในภาพถ่ายก่อให้เกิดการปะทะ หยิบยืม ส่งผลต่อการต่อรองความหมาย การสร้างทัศนะต่อมุมมองชีวิต ประสบการณ์ ความทรงจำด้วยการอ่านภาพ และตีความนอกกรอบที่เรียกกว่ามุมมองหลังสมัยใหม่ด้วยการคัดเลือก ตัดต่อ ปรับเสริมเพิ่มลดแสวงหามุมมองร่วมก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่มีลักษณะร่วมให้เห็นถึงความหลากหลายทางวัฒนธรรมใหม่ที่ซ้อนทับกันอยู่ในภาพที่ต่างกันทั้งวิธีคิด การมอง รูปแบบ การแสดงออก วัสดุที่เลือกใช้ในการนำเสนอ และการจัดแสดงผลงาน กล่าวได้ว่า การนำภาพมาประกอบสร้างความหมายใหม่เป็นกระบวนการทำความเข้าใจเนื้อแท้ของการหักเหความงาม และสุนทรียภาพที่แสดงให้เห็นถึงสิ่งที่จับต้องไม่ได้ หรือมองเห็นได้ยากให้เกิดการรับรู้ท้าทายให้เกิดการปรับเปลี่ยนด้วยการก้าวข้ามวิธีการคิด และขีดจำกัดของการมองจากรูปแบบเดิมไปสู่มุมมองร่วมสมัยที่แสวงหาจุดร่วมกัน

References

กรรณ เกตุเวช. (2557). การสูญเสียคุณลักษณะของอินเด็กซ์ซิคอลลิตี้ในภาพถ่าย. [วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาสื่อศิลปะและการออกแบบสื่อ]. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

กษมาพร แสงสุระธรรม. (2554). การเมืองของการนําเสนอภาพความเป็นล้านนาในงานจิตรกรรมไทยร่วมสมัย. มองคน สะท้อนโครงสร้าง. รวมบทความวิชาการจากวิทยานิพนธ์ปริญญาโท

โครงการบัณฑิตศึกษา. คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. นครปฐม: มิสเตอร์ก๊อปปี้ (ประเทศไทย) จํากัด.

กิตติคุณ มูลเดิน. (2561) การทำความเข้าใจคนอื่น. นักมานุษยวิทยา กับ คนไท : การศึกษาผ่านภาพถ่าย. แสง สิ่งของและการมองเห็น : ภาพถ่าย สิ่งของจากภาคสนาม. พิพิธภัณฑ์ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.บริษัท ปาป้า พริ้นต์ ติ้ง เฮาส์ จำกัด

กาญจนา เหล่าโชคชัยกุล. (2554). จากผืนนาสู่สวนปาล์ม จากชาวนาสู่ : ความเปลี่ยนแปลงและการพัฒนา สู่ทางเลือกทางเศรษฐกิจและอาชีพของชาวนาที่ปากพนัง มองคน สะท้อนโครงสร้าง. รวมบทความวิชาการจากวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโท โครงการบัณฑิตศึกษา คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. นครปฐม: มิสเตอร์ก๊อปปี้ (ประเทศไทย) จํากัด.

ขจิตขวัญ กิจวิสาละ. (2564) ศาสตร์การเล่าเรื่องในสื่อสารศึกษา. วารสารศาสตร์ปีที่ 14 ฉบับที่ 3 (2021) กันยายน-ธันวาคม ฉบับแปลเรื่องเล่าด้วยใจเธอ คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชนมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

จักรกริช สังขมณี. (2559). บทแนะนำหนังสือ Karen Strassler, Refracted Visions: Popular Photography and National Modernity in Java. ออนไลน์ https://www.academia.edu/22806090/%E0%B9%81%E0%B8%99%E0%B8%B0%E0%B8%99%E0%B9%8D%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B7%E0%B8%AD_Karen_Strassler_Refracted_Visions_Popular_Photography_and_National_Modernity_in_Java_Durham_and_London_Duke_University_Press_2010

จักรวาล นิลธรรมรงค์. (2564). หนังทดลอง : กรุงเทพฯ เรือนแก้วการพิมพ์.

ชูพงษ์ แสงเพชร และเวฬุรีย์ เมธาวีวินิจ. (2562). อุตสาหกรรมประสานศิลป์: ทวิภพ (2547) และ

พี่มากพระโขนง (2556) สุนทรียภาพแบบหลังสมัยใหม่ในภาพยนตร์รีเมกแนวทบทวนวิพากษ์. นัทธนัย ประสานนาม บรรณาธิการ. อุตสาหกรรมประสานศิลป์: วรรณกรรม วัฒนธรรมสกรีน และการเดินทางข้ามสื่อ. กองทุนส่งเสริมศิลปะร่วมสมัย สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน).

พรรณราย โอสถาภิรัตน์. (2545). สื่อทางด้านภาพกับความรู้ทางมานุษยวิทยา. สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม.

ภูมิกมล ผดุงรัตน์. (2555) เกี่ยวกับคำว่าภาพถ่ายเชิงความคิด. ออนไลน์ http://stabbytwo.blogspot.com/2012/04/chapter-15.html

วารี ฉัตรอุดมผล. (2561). ความอ่อนแอของภาพถ่าย: ความจริงในภาพถ่ายจากยุคฟิล์มถึงยุคโซเชียลมีเดีย. วารสารศาสตร์ฉบับก้าวที่ย่างอย่างสื่อสารศึกษา. ปีที่ 11 ฉบับที่ 1 เดือน มกราคม–เมษายน 2561. คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ. (2561) การมองเห็นทางมานุษยวิทยา, ภาพถ่าย และปัญหาในการทำความเข้าใจคนอื่น. แสง สิ่งของและการมองเห็น : ภาพถ่าย สิ่งของจากภาคสนามและการทำความเข้าใจคนอื่น. พิพิธภัณฑ์ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. บริษัท ปาป้า พริ้นต์ ติ้ง เฮาส์ จำกัด.

สมสุข หินวิมาน. (2561). ทฤษฎีจัดจะปฏิบัติอย่างไร? : แนวทางการประยุกต์ใช้ทฤษฎีในศาสตร์ความรู้ด้านสื่อสารศึกษา. วารสารศาสตร์ ฉบับเรื่องเก่า ๆ กับมุมมองใหม่ๆ. ปีที่ 11 ฉบับที่ 2 เดือน พฤษภาคม–สิงหาคม 2561. บทความพิเศษ คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สุธี คุณาวิชยานนท์. (2561). ศิลปะสมัยใหม่และร่วมสมัย : ตะวันตกและไทย. โครงการหนังสือและตำราทฤษฎีศิลป์ สาขาวิชาทฤษฎีศิลป์ คณะจิตรกรรม ประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. กรุงเทพฯ: J Print.

อนุสรณ์ ติปยานนท์. (2562). ข้าว การกิน การอยู่ และการเป็นข้าว food fun frame.สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-30