การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์จากคำขวัญจังหวัดบุรีรัมย์ ชุดบุรีรัมย์ บุรีรมย์
DOI:
https://doi.org/10.60101/faraa.2024.266938คำสำคัญ:
การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์, จังหวัดบุรีรัมย์, บุรีรัมย์ บุรีรมย์บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์จากคำขวัญจังหวัดบุรีรัมย์ ชุดบุรีรัมย์ บุรีรมย์ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษารูปแบบและองค์ประกอบการสร้างสรรค์การแสดงจากการศึกษาคำขวัญจังหวัดบุรีรัมย์ ชุดบุรีรัมย์ บุรีรมย์ 2) เพื่อศึกษาแนวคิดที่ได้หลังจากการสร้างสรรค์นาฏยศิลป์จาก คำขวัญจังหวัดบุรีรัมย์ ชุดบุรีรัมย์ บุรีรมย์ 3) เพื่อค้นหาประสิทธิภาพของการสร้างสรรค์การแสดงในด้านความคิดสร้างสรรค์ ในด้านความเหมาะสมและความพึงพอใจของผู้ทรงคุณวุฒิที่ได้รับชมการแสดงก่อนการเผยแพร่สู่สังคม ดำเนินการวิจัยโดยการศึกษาหนังสือ เอกสารทางวิชาการ วารสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ร่วมกับการสัมภาษณ์ สังเกตการณ์ และประสบการณ์ส่วนตัวของผู้วิจัย เพื่อนำมาสร้างสรรค์ผลงานทางด้านนาฏยศิลป์
ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบของการสร้างสรรค์นาฏยศิลป์ในครั้งนี้แบ่งออกเป็น 8 องค์ประกอบ 1) บทการแสดง แบ่งออกเป็น 3 องก์ โดยได้แรงบันดาลใจจากคำขวัญจังหวัดบุรีรัมย์ 2) นักแสดง ใช้นักแสดงจำนวน 9 คน ที่มีทักษะความสามารถทางด้านนาฏยศิลป์ที่หลากหลาย 3) ลีลานาฏยศิลป์ ใช้รูปแบบการผสมหลายนาฏยจารีตเข้าด้วยกัน 4) เครื่องแต่งกาย ออกแบบโดยใช้ผ้าพื้นเมืองจังหวัดบุรีรัมย์มาเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องแต่งกาย 5) อุปกรณ์ประกอบการแสดง ออกแบบอุปกรณ์ที่ใช้ใน การสื่อความหมายทั้งทางตรงและทางอ้อม 6) เสียงและดนตรีประกอบการแสดง ใช้เครื่องดนตรีอีสานผสมผสานกับเครื่องดนตรีอิเล็กทรอนิกส์เพื่อให้เกิดความสนุกสนาน และสื่อถึงเอกลักษณ์ด้านวัฒนธรรมของจังหวัดบุรีรัมย์ได้อย่างชัดเจน 7) พื้นที่การแสดง ใช้พื้นที่การแสดงแบบเปิดกว้างและสื่อความหมายถึงจังหวัดบุรีรัมย์ 8) แสง ใช้แสงจากธรรมชาติเป็นหลัก นอกจากนี้ผู้วิจัยได้คำนึงถึงแนวคิดที่ได้หลังจากการสร้างสรรค์ผลงานนาฏยศิลป์ 4 ประการ ได้แก่ 1) ความคิดสร้างสรรค์ในงานนาฏยศิลป์ 2) การใช้สัญลักษณ์ในการสร้างสรรค์นาฏยศิลป์ 3) ทฤษฎีนาฏยศิลป์ ดุริยางคศิลป์ และทัศนศิลป์ และ 4) การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์ให้สอดคล้องกับคำขวัญจังหวัดบุรีรัมย์ อีกทั้งผู้วิจัยได้ค้นหาประสิทธิภาพของการสร้างสรรค์นาฏยศิลป์ในด้านความเหมาะสม และความพึงพอใจของผู้ทรงคุณวุฒิก่อนเผยแพร่สู่สาธารณชนจำนวน 5 ท่าน พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด
References
คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุในคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. (2542). วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์ และภูมิปัญญาจังหวัดบุรีรัมย์. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร.
จินตนา อนุวัฒน์. (2564). การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์ที่สะท้อนถึงคุณสมบัติของกรรมการในอุดมคติที่ใช้พิจารณาผลงานด้านนาฏยศิลป์. [วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
จุติกา โกศลเหมมณี. (2556). รูปแบบและแนวความคิดในการสร้างสรรค์งานนาฏยศิลป์ไทยร่วมสมัย ของนราพงษ์ จรัสศรี. [วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ณัฏฐ์พัฒน์ ผลพิกุล. (2561). การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์จากความหมายนามเต็มของกรุงเทพมหานคร. [วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เทศบาลเมืองบุรีรัมย์. (2561). ประกาศจังหวัดบุรีรัมย์ เรื่องการใช้คำขวัญจังหวัดบุรีรัมย์.
https://www.buriramcity.go.th.
ประวิทย์ ฤทธิบูลย์. (2562). การศึกษาสินค้าทางวัฒนธรรม สู่การออกแบบและสร้างสรรค์การแสดง. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
พัชรินทร์ ศิริอำพันธ์กุล. (2542). ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมท้องถิ่นจังหวัดบุรีรัมย์. บุรีรัมย์: ม.ป.ท.
ศริยา หงส์ยี่สิบเอ็ด. (2561). การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์ที่สะท้อนเปลือกนอกของคนในสังคมไทย. [วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สรร ถวัลย์วงศ์ศรี. (2559). การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์ร่วมสมัยจากแนวคิดความหลากหลายทางเพศ. [วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารศิลปกรรมศาสตร์วิชาการ วิจัย และงานสร้างสรรค์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.