การออกแบบตราสินค้าและบรรจุภัณฑ์ สำหรับผลิตภัณฑ์ผงโรยข้าวผักไชยา ชุมชนคลองน้ำใสวิทยาคาร จังหวัดสระแก้ว

ผู้แต่ง

  • จุฑามาศ เถียรเวช คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

DOI:

https://doi.org/10.60101/faraa.2024.267281

คำสำคัญ:

ตราสินค้า, บรรจุภัณฑ์, ผงโรยข้าวผักไชยา, ชุมชนคลองน้ำใสวิทยาคาร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลของชุมชนคลองน้ำใสวิทยาคาร จังหวัดสระแก้ว 2) เพื่อออกแบบตราสินค้าและบรรจุภัณฑ์ สำหรับผลิตภัณฑ์ผงโรยข้าวผักไชยา ชุมชนคลองน้ำใสวิทยาคาร จังหวัดสระแก้ว และ 3) เพื่อประเมินความพึงพอใจที่มีต่อการออกแบบตราสินค้าและบรรจุภัณฑ์ สำหรับผลิตภัณฑ์ผงโรยข้าวผักไชยา ชุมชนคลองน้ำใสวิทยาคาร จังหวัดสระแก้ว

ผลการวิจัยพบว่า ชุมชนคลองน้ำใสวิทยาคาร ร่วมกับโรงเรียนคลองน้ำใสวิทยาคาร จังหวัดสระแก้ว ได้ริเริ่มก่อตั้งชมรมแปรรูปอาหาร By ชายขอบขึ้นมา ทั้งนี้การก่อตั้งขึ้นเพื่อให้นักเรียนและคนในชุมชนได้มีโอกาสในการสร้างรายได้ และสร้างอาชีพ ผ่านการทำผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น โดยมีผลิตภัณฑ์ที่มีชื่อเสียง คือผงโรยข้าวจากผักไชยา ผู้วิจัยได้เข้าไปพัฒนาตราสินค้า แบรนด์ “ชายขอบ”  จำนวน 3 รูปแบบ แล้วนำไปคัดเลือกรูปแบบตราสินค้า จากผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบ จำนวน 3 คน พบว่า รูปแบบที่ 2 มีผลคะแนนสูงที่สุด อยู่ในระดับเหมาะสมมาก มีค่าอยู่ที่ (ค่าเฉลี่ย Mean =4.26, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน SD=0.46) ทั้งนี้บรรจุภัณฑ์โครงสร้าง ผู้วิจัยได้เลือกใช้กระปุกแก้วทรงสี่เหลี่ยม ฝาอลูมิเนียมสีดำ ขนาด 6.2X6.2X8.5 เซนติเมตร โดยบรรจุภัณฑ์แก้วนั้นมีข้อดี คือแก้วมีความเป็นกลาง ไม่ทำปฏิกิริยากับสารใด ๆ จึงมีความปลอดภัยต่อสินค้าหรืออาหารที่บรรจุมากที่สุด และผู้วิจัยได้ออกแบบฉลากสินค้า 2 รสชาติ คือรสกะเพราปลาป่นและรสลาบเห็ด ฉลากสินค้าจะมี 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ติดฝากระปุก ขนาด 4X4 เซนติเมตร และด้านหน้ากระปุกแก้ว ขนาด 5.5X5.5 เซนติเมตร พิมพ์สติ๊กเกอร์พลาสติกแบบกันน้ำ (PVC) ฉลากกาวในตัว โดยสติ๊กเกอร์พลาสติกหรือสติ๊กเกอร์กันน้ำ มีข้อดีคือไม่ลอกหลุดได้ง่าย หลังจากนั้นผู้วิจัยได้นำบรรจุภัณฑ์ต้นแบบไปประเมินความพึงพอใจที่มีต่อการออกแบบบรรจุภัณฑ์ จากผู้บริโภค จำนวน 100 คน พบว่า มีผลคะแนนอยู่ในระดับเหมาะสมมาก มีค่าอยู่ที่ (ค่าเฉลี่ย Mean=4.38, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน SD=0.63)

References

ก่อเกียรติ วิริยะกิจพัฒนา. (2561). การบรรจุภัณฑ์ PACKAGING. สำนักพิมพ์ วังอักษร.

จารุวรรณ แก้วมโน. (2556). บทเรียนชุมชนเข็มแข็ง แผนพัฒนาจังหวัด ฉบับเจ้าเมือง. สำนักพิมพ์ ส เจริญการพิมพ์ จำกัด

ชัยรัตน์ อัศวางกูร. (2550). ออกแบบให้โดนใจ คู่มือการออกแบบบรรจุภัณฑ์สำหรับผู้ประกอบการและนักออกแบบ. ทั้งฮั่วซินการพิมพ์.

ธัญปวีณ์ รัตน์พงศ์พร. (2555). การบรรจุภัณฑ์ PACKAGING. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

พงษ์ศักดิ์ ไชยทิพย์. (2547). เทคนิคการออกแบบงานกราฟิก. ซีเอ็ดยูเคชั่น.

ไพรฑูร วชิรวงศ์ภิญโญ และมนตรี ประจักจิต. (2556). การบรรจุภัณฑ์. สำนักพิมพ์เอมพันธ์.

มยุรี ภาคลำเจียก. (2560). คู่มือบรรจุภัณฑ์มาตรฐาน สำหรับผู้ประกอบการอาหาร SME. จินดาสาส์นการพิมพ์.

ศิริพรณ์ ปีเตอร์. (2549). ออกแบบกราฟิก. โอเดียนสโตร์.

สุภาภรณ์ ธีระจันทร์. (2559). การบรรจุภัณฑ์. สุภัชนิญค์ พริ้นติ้ง กรุ๊ป.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-24

How to Cite

เถียรเวช จ. (2024). การออกแบบตราสินค้าและบรรจุภัณฑ์ สำหรับผลิตภัณฑ์ผงโรยข้าวผักไชยา ชุมชนคลองน้ำใสวิทยาคาร จังหวัดสระแก้ว. วารสารศิลปกรรมศาสตร์วิชาการ วิจัย และงานสร้างสรรค์, 11(2), 188–203. https://doi.org/10.60101/faraa.2024.267281