กระบวนการถ่ายทอดวิธีการบรรเลงซออู้ประกอบการแสดงละคร เรื่อง ขุนช้างขุนแผน ตอนพระไวยแตกทัพ

ผู้แต่ง

  • สุนันทา พันธุกูล วิทยาลัยนาฏศิลป สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์

DOI:

https://doi.org/10.60101/faraa.2024.267299

คำสำคัญ:

กระบวนการถ่ายทอด, ซออู้, ขุนช้างขุนแผน, พระไวยแตกทัพ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อศึกษาการบรรเลงซออู้ประกอบการแสดงละคร 2. เพื่อศึกษากระบวนการถ่ายทอดวิธีการบรรเลงซออู้ประกอบการแสดงละครเรื่องขุนช้างขุนแผน ตอนพระไวยแตกทัพ โดยการวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร การสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูล สร้างข้อสรุปแบบอุปนัย และเสนอเป็นความเรียง

ผลการวิจัยพบว่า ความสำคัญของการบรรเลงซออู้ประกอบการแสดงละคร คือ 1. ทำให้การบรรเลงประกอบการแสดงมีเสียงที่ไพเราะนุ่มนวลขึ้น 2. ช่วยให้ผู้ขับร้องมีเสียงที่แม่นยำมากขึ้น และ 3. การสื่ออารมณ์ผ่านตัวละคร ด้านกระบวนการถ่ายทอดผู้สอนพิจารณาตามความสามารถของผู้เรียน สอนแบบโบราณ เน้นทักษะปฏิบัติ โดยกระบวนการถ่ายทอด แบ่งเป็น 1. เพลงที่มีการขับร้อง ใช้ดำเนินเรื่อง แบ่งเป็น 6 ขั้น คือ ศึกษาบทละคร ต่อเพลง กลวิธีการสีซออู้ บันไดเสียง แปรทำนอง และสีคลอร้อง 2. เพลงที่ไม่มีการขับร้อง ใช้ประกอบอากัปกิริยา แบ่งเป็น 6 ขั้น คือ ศึกษาเพลงหน้าพาทย์ ต่อเพลง กลวิธีการสีซออู้ บันไดเสียง แปรทำนอง จังหวะหน้าทับ ซึ่งผู้ถ่ายทอดให้ความสำคัญกับทักษะการใช้กลวิธีการบรรเลง และการถ่ายทอดตามแนวทางของครูอาจารย์ วิทยาลัยนาฏศิลป ที่ได้รับมาจากครูอาจารย์หลาย ๆ ท่าน โดยผ่านการวิเคราะห์ สังเคราะห์ จนตกผลึกเป็นการถ่ายทอดการบรรเลงที่เป็นระบบและมีประสิทธิภาพ

References

กรกฎ วงศ์สุวรรณ. (2549). การศึกษากระบวนการถ่ายทอดดนตรีไทยของปราชญ์ชาวบ้านในมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ภมรศักดิ์ เกื้อหนองขุ่น. (2558). การศึกษากระบวนการถ่ายทอดการบรรเลงซออู้ ของครูฉลวย จิยะจันทร์. วารสารศิลปกรรม, 7(2), 43-62.

วิมาลา ศิริพงษ์. (2534). การสืบทอดวัฒนธรรมดนตรีไทยในสังคมไทยปัจจุบัน ศึกษากรณีสกุลพาทยโกศลและสกุลศิลปบรรเลง [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วิศวะ ประสานวงศ์. (2556). การศึกษาการถ่ายทอดการบรรเลงระนาดเอกของครูอุทัย แก้วละเอียด (ศิลปินแห่งชาติ). วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา OJED, 8(1), 543- 554.

สงัด ภูเขาทอง. (2534). ประชุมบทความทางวิชาการดนตรี. เรือนแก้วการพิมพ์.

สงัด ภูเขาทอง. (2539). การดนตรีไทยและทางเข้าสู่ดนตรีไทย. เรือนแก้วการพิมพ์.

สุเทพ บันลือสินธุ์. (2537). พื้นฐานการดนตรีสำหรับครูประถมศึกษา. สุวิริยาสาสน์.

สุเมธ สุขสวัสดิ์ และ บรรพต โปทา. (2558). วิธีการบรรเลงซออู้ในวงปี่พาทย์ไม้นวมประกอบการแสดงของครูนิรมลตระการผล. วารสารศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2(2), 1-12.

เอกวิทย์ ณ ถลาง (2540). ภูมิปัญญาชาวบ้านสี่ภาค : วิถีชีวิตและกระบวนการเรียนรู้ของชาวบ้านไทย. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-24

How to Cite

พันธุกูล ส. (2024). กระบวนการถ่ายทอดวิธีการบรรเลงซออู้ประกอบการแสดงละคร เรื่อง ขุนช้างขุนแผน ตอนพระไวยแตกทัพ. วารสารศิลปกรรมศาสตร์วิชาการ วิจัย และงานสร้างสรรค์, 11(2), 204 – 218. https://doi.org/10.60101/faraa.2024.267299