กระบวนแบบมังกรจีนในสมัยราชวงศ์ชิง
DOI:
https://doi.org/10.60101/faraa.2024.267861คำสำคัญ:
ลวดลายมังกรจีน, มังกรจีนสมัยราชวงศ์ชิงบทคัดย่อ
ภาพลวดลายมังกรดั้งเดิมที่ปรากฏในแผ่นดินจีนสะท้อนถึงถึงจิตสำนึกด้านสุนทรียศาสตร์อันเป็นเอกลักษณ์และแนวคิดด้านคุณค่าของชนชาติจีนที่สั่งสมมานานนับพันปี เป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่สำคัญและเกี่ยวพันกับประวัติศาสตร์การพัฒนาทางวัฒนธรรมของจีนตั้งแต่แรกเริ่มจวบจนทุกวันนี้ ลวดลายมังกรจึงเป็นจิตวิญญาณของชนชาติจีน ซึ่งลวดลายดังกล่าวได้ผ่านกระบวนการวิวัฒนาการที่ทั้งซับซ้อนและยาวนานจนกระทั่งค่อย ๆ ก่อตัวขึ้นจนกลายเป็นลวดลายดังเช่นในปัจจุบัน
ภายใต้กฎการวิวัฒนาการของลวดลายมังกรจีนในยุคราชวงศ์จีนโบราณ จากงานวิจัยนี้พบว่าเอกลักษณ์ของลวดลายมังกรบนเครื่องเคลือบของประเทศจีนในสมัยราชวงศ์ชิง เป็นความเจริญของอารยธรรมจีนที่มาถึงจุดสูงสุด ทั้งด้วยวัสดุสี เทคโนโลยี และอิทธิพลจากประเทศตะวันตก ลวดลายมังกรในสมัยจักรพรรดิคังซี มีลักษณะเรียบง่าย สง่างามและแข็งแรง น่าเกรงขาม และการใช้สีเป็นแบบฟามิลล์โรส(Famille rose) สีที่สดใส สีที่ใช้มี 5 สีได้แก่ สีเหลือง สีคราม สีน้ำตาล สีเขียว สีเทา ลวดลายมังกรในสมัยจักรพรรดิหย่งเจิ้ง มีลักษณะดูยิ่งใหญ่ ทรงพลัง มีความกระฉับกระเฉง ดูมีชีวิตชีวา การใช้สีเป็นสีพาสเทล(Pastel colors) สีที่ใช้มี 7 สีได้แก่ สีเหลือง สีคราม สีน้ำตาล สีเขียว สีเทา สีส้ม และสีแดง ลวดลายมังกรในสมัยจักรพรรดิเฉียนหลง เป็นการต่อยอดความเจริญรุ่งเรือง มีความละเอียดมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะที่ส่วนหัวมังกร เน้นความเหมือนจริง มีการนำเทคนิคการภาพวาดสีน้ำมันของตะวันตกมาผสมผาน ทำให้สีสันโดยภาพรวมมีความงดงามยิ่งขึ้น โดยเฉพาะการใช้คู่สีตรงข้าม (Complementary colors) ที่สามารถสร้างโดดเด่นและสมดุลให้กับลวดลาย
References
Manli Wang. (2566). กระบวนแบบมังกรจีนในสมัยราชวงศ์ซิง : การสืบทอดและสร้างสรรค์ในการออกแบบเซรามิกส์ร่วมสมัย. มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศิลปกรรมศาสตร์
Ning, G. (2013). Kang Yong Qian Jingdezhen Porcelain Kiln Design Art Research. Tsinghua University Press.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารศิลปกรรมศาสตร์วิชาการ วิจัย และงานสร้างสรรค์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.