ภูมิปัญญางานหัตถกรรมจักสานเตยปาหนันสะท้อนจิตวิญญาณชุมชน

ผู้แต่ง

  • อุทัยวรรณ ประสงค์เงิน คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • รัฐไท พรเจริญ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

DOI:

https://doi.org/10.60101/faraa.2024.268467

คำสำคัญ:

ภูมิปัญญา, เตยปาหนัน, จิตวิญญาณ, หัตถกรรมจักสานเตยปาหนัน

บทคัดย่อ

การศึกษาภูมิปัญญางานหัตถกรรมจักสานเตยปาหนันสะท้อนจิตวิญญาณชุมชน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและรวบรวมข้อมูลองค์ความรู้ด้านภูมิปัญญางานหัตถกรรมจักสานเตยปาหนันเพื่อค้นหาและแปลความหมายของจิตวิญญาณจากนามธรรมสู่รูปธรรม ด้วยวิธีการสืบค้นข้อมูลผ่านงานวิจัย หนังสือ ตำรา บทสัมภาษณ์และการลงพื้นที่สำรวจลักษณะสภาพแวดล้อม วิถีชีวิตและผลิตภัณฑ์ในพื้นที่ภาคใต้โดยการคัดเลือกพื้นที่ผลิตงานหัตถกรรมจักสานเตยปาหนันที่มีมาอย่างต่อเนื่อง คือจังหวัดกระบี่ จังหวัดตรัง จังหวัดพังงา และนำเข้าสู่กระบวนการวิเคราะห์ข้อมูล แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ 1) องค์ความรู้ในงานหัตถกรรมจักสานเตยปาหนัน เป็นการนำวัสดุธรรมชาติที่พบมากในชุมชนและนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์มีกระบวนการทำให้เส้นเตยที่นำมาจักสานนั้นมีความเงางาม เหนียว และไม่ขึ้นราเหมาะสมกับสภาพอากาศของพื้นที่เป็นอย่างดี ด้วยวิธีการใช้ความร้อนไล่ความชื้น 2) การแปลความหมายของจิตวิญญาณชุมชนผ่านงานหัตถกรรมจักสานเตยปาหนันผ่านคำสำคัญสรุปดังนี้ ความงามของงานหัตถกรรมเตยปาหนันถูกสร้างจากสิ่งที่อยู่ในธรรมชาติตามสภาพแวดล้อมในรูปแบบของงานสร้างสรรค์ขึ้นเพื่อการใช้สอยตามกรอบของประเพณี วัฒนธรรมชุมชน วิถีชีวิตของชาวมุสลิม นำมาซึ่งความภาคภูมิใจของการร่วมแรงร่วมใจของคนในครอบครัวช่วยกันในกระบวนการของทำเส้นเตยปาหนัน การทำมาหากินสร้างรายได้อย่างต่อเนื่องจนแพร่ขยายสู่เชิงพาณิชย์ทำให้เป็นที่รู้จักและยอมรับ การทำให้คนรุ่นใหม่ได้รับรู้ถึงความสำคัญของจิตวิญญาณนี้ คือสิ่งสำคัญในการส่งต่อภูมิปัญญาได้นำไปใช้สืบต่อกันไป

References

โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์. (2563). สุขภาพทางปัญญา: จิตวิญญาณ ศาสนาและความเป็นมนุษย์. สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ

ซีเราะห์ สือรี. (2554). สืบสานตำนานเตยปาหนัน เยาวชนบ้านร่าหมาด. โครงการบัณฑิตอาสา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

บุญเรือง สมประจบ. (2553). หัตถกรรมไม้แกะสลักภาคกลาง : การศึกษาภูมิปัญญาพื้นบ้านด้าน การผลิตและการพัฒนาเชิงพาณิชย์ [วิทยานิพนธ์ปริญญษดุษฎีบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, (2554). สืบสานตำนานเตยปาหนัน, https://dol.thaihealth.or.th/resourcecenter/sites/default/files/documents/suuebsaantamnaanetypaahnan_eyaawchnbaanraahmaa.pdf

ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ, (2563). จักสานเตยปาหนัน, https://www.sacit.or.th/uploads/items/attachments/ff2fd343aadac082034cc28e08000f82/_28f6e940db4f4097ccae214a2b258cd0.pdf

สุทธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์. (2545). ศิลปหัตถกรรมไทย : จากสายรากเก่าสู่กระแสโลกาภิวัตน์. วารสารสถาบันวิจัยศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 3(2), 5-10.

สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดตรัง, (2563), จักสานเตยปาหนัน OTOP จ.ตรัง ต่อยอดภูมิปัญญาบรรพบุรุษ สร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์จักสานส่งออก, https://trang.cdd.go.th/2020/06/15

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-24

How to Cite

ประสงค์เงิน อ., & พรเจริญ ร. (2024). ภูมิปัญญางานหัตถกรรมจักสานเตยปาหนันสะท้อนจิตวิญญาณชุมชน. วารสารศิลปกรรมศาสตร์วิชาการ วิจัย และงานสร้างสรรค์, 11(2), 49–64. https://doi.org/10.60101/faraa.2024.268467