อัตลักษณ์การฟ้อนแง้นของแม่ครูลำดวน สุวรรณภูคำ

ผู้แต่ง

  • เนตรทราย ย่อยพรมราช คณะศิลปนาฏดุริยางค์ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์
  • สุขสันติ แวงวรรณ คณะศิลปนาฏดุริยางค์ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์
  • อัควิทย์ เรืองรอง คณะศิลปนาฏดุริยางค์ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์

DOI:

https://doi.org/10.60101/faraa.2024.269504

คำสำคัญ:

อัตลักษณ์, ฟ้อนแง้น, การขับซอ

บทคัดย่อ

บทความเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอัตลักษณ์การฟ้อนแง้นของแม่ครูลำดวน สุวรรณภูคำ โดยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการศึกษาเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึกและการสังเกตการณ์ ภายใต้ผลการรับรองจริยธรรมวิจัยในมนุษย์เลขที่ ว.85/2564 ผลการศึกษาพบว่า อัตลักษณ์การฟ้อนแง้น ของแม่ครูลำดวน สุวรรณภูคำ มีการสืบทอดท่าหลักในการฟ้อนที่มีมาแต่เดิมและได้มีการสร้างสรรค์ ใส่ท่าเพิ่มเข้าไปเพื่อให้เป็นแบบแผนมากขึ้น กล่าวคือ กระบวนท่ารำหลัก คือท่าแง้นหรือท่าฟ้อนแอ่นที่เป็นอัตลักษ์เดิม ซึ่งได้มีการสืบทอดต่อ ๆ กันมา และได้เพิ่มท่าเริ่มต้นการฟ้อนและจบการฟ้อนด้วยท่าไหว้      เป็นต้น ทั้งนี้คณะฟ้อนของแม่ครูลำดวน สุวรรณภูคำ ได้กำหนดทำนองเพลงในการฟ้อนแง้นไว้ 4 ทำนอง ได้แก่ 1) ทำนองเพลงกล่อมนางนอน 2) ทำนองเพลงแม่หม้ายก้อม 3) ทำนองเพลงแม่หม้ายเครือ      และ 4) ทำนองเพลงเขมรปากท่อ (ทำนองเพลงภาคกลาง) การฟ้อนแง้นเป็นการฟ้อนประกอบกับวงดนตรีล้วน ไม่มีการขับร้อง หรือการฟ้อนประกอบดนตรีร่วมกับการขับร้อง ซึ่งเรียกการขับร้องนี้ว่า      การขับซอ ทั้งนี้กระบวนท่าฟ้อนแง้นมีสารัตถะสำคัญอยู่ที่นักฟ้อนหรือช่างฟ้อนจะต้องแสดงความสามารถพิเศษเฉพาะตัว ด้วยการทำตัวให้อ่อนไปด้านหลังคล้ายท่าสะพานโค้ง เรียกว่า “แง้น” และต่อมาได้พัฒนาทักษะท่าแง้นดังกล่าวเพื่อใช้เก็บรางวัล คือ ธนบัตร เป็นต้น โดยต้องใช้ปากคาบธนบัตรที่มีผู้มอบให้นั้นขึ้นมา 

References

กิติวัฒน์ กิ่งแก้ว. (2553). ขับซอล่องน่านของลำดวน คำแปน. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

คำเกี้ยว เมืองเอก และคณะ. (2542). วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญาจังหวัดแพร่. กระทรวงมหาดไทย: กระทรวงศึกษาธิการและกรมศิลปากร.

วรรณี แกมเกตุ. (2551). วิธีวิทยาการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 2). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สนั่น ธรรมธิ. (2549, 2 ตุลาคม). นาฏดุริยการล้านนา–ฟ้อนแง้น. สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. http://www. openbase.in.th/node/6979

สิปปวิชญ์ กิ่งแก้ว. (2558). กำสะล้อซอปินวรรณศิลป์แผ่นดินล้านนา ลำดวน สุวรรณภูคำ. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สิปปวิชญ์ กิ่งแก้ว. (2560). ดนตรีพื้นเมืองของไทย. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สุธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์. (2525). พจนานุกรมภาษาถิ่นใต้ พุทธศักราช 2525. สถาบันทักษิณคดีศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

อุทัย หิรัญโต. (2526). สารานุกรมสังคมวิทยา–มานุษยวิทยา. สํานักพิมพ์โอเดียนสโตร์.

อนุกูล โรจนสุขสมบูรณ์. (2549). แนวคิดทฤษฎีการฟ้อนล้านนาแบบใหม่. [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อำนาจ บุญอานนท์. (2550). การวิเคราะห์ การขับซอล้านนา วัฒนธรรมน่าน. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.

อมรา พงศาพิชญ์. (2534). วัฒนธรรม ศาสนา และชาติพันธุ์ : วิเคราะห์สังคมไทยแนวมานุษยวิทยา. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-25

How to Cite

ย่อยพรมราช เ., แวงวรรณ ส., & เรืองรอง อ. (2024). อัตลักษณ์การฟ้อนแง้นของแม่ครูลำดวน สุวรรณภูคำ. วารสารศิลปกรรมศาสตร์วิชาการ วิจัย และงานสร้างสรรค์, 11(1), 78–95. https://doi.org/10.60101/faraa.2024.269504