บทประพันธ์เพลง “ลายชมทุ่ง” สำหรับไวโอลินและวิโอลา

ผู้แต่ง

  • นวเทพ นพสุวรรณ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  • จารุวรรณ สุริยวรรณ์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

คำสำคัญ:

บทประพันธ์เพลง, เพลงพื้นบ้านอีสาน, ลายชมทุ่ง

บทคัดย่อ

งานสร้างสรรค์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์ลักษณะทางดนตรีของบทเพลงเดี่ยวแคนลายชมทุ่ง ของนายสมบัติ สิมหล้า และเพื่อประพันธ์บทเพลง “ลายชมทุ่ง” สำหรับไวโอลินและวิโอลาผู้สร้างสรรค์เลือก“ลายชมทุ่ง”มาเป็นองค์ประกอบหลักในการสร้างสรรค์ ผลการสร้างสรรค์คือบทประพันธ์เพลงมีแนวทำนองและเสียงประสานอยู่ในบันไดเสียง G ไมเนอร์ เครื่องหมายประจำจังหวะบทเพลงนี้ คือ mceclip1.pngและ mceclip2.png เนื้อดนตรีบทเพลงนี้มีลักษณะเป็นแบบดนตรีประสานแนว หรือโฮโมโฟนีอัตราความเร็วที่ใช้ในบทเพลงนี้มีอยู่หลากหลาย แตกต่างกันไปในแต่ละท่อนเพลง สังคีตลักษณ์แบ่งออกเป็น 6 ท่อน ได้แก่ 1.ท่อนบทนำหรือเกริ่น 2.ท่อนเซิ้ง 1 3.ท่อนฟิวก์ 4.ท่อนนาข้าว 5.ท่อนเซิ้ง 2และ 6. ท่อนจบหรือเต้ยลา บทเพลงสร้างสรรค์ที่ประพันธ์ขึ้นนี้นอกจากมีความไพเราะ และมีการสอดแทรกสำเนียงเพลงพื้นบ้านอีสานแล้วนั้น ยังสามารถส่งเสริมและประชาสัมพันธ์ด้านการท่องเที่ยวภาคอีสานผ่านผลงานบทประพันธ์เพลงนี้ด้วย 

References

ณัชชา พันธุ์เจริญ. (2552). พจนานุกรมศัพท์ดุริยางคศิลป์ พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์เกศกะรัต.

ภูวไนย ดิเรกศิลป์ และสุรพล เนสุสินธุ์. (2563). แนวคิดและกระบวนการสร้างสรรค์ลายดนตรีพื้นบ้านอีสาน. วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 12(2). 128.

สนอง คลังพระศรี. (2549). ศิลปะการเป่าแคน มหัศจรรย์แห่งเสียงของบรรพชนไท. หจก. โพรเซสคัลเลอร์ ดีไซน์ แอนด์ พริ้นติ้ง.

สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน). (2564. 27 เมษายน). ISAN MUSIC NEVER DIE วิวัฒนาการเพื่ออยู่รอดของดนตรีอีสาน. https://www.cea.or.th/en/single-statistic/isan-music-never-die

สำนักหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร. (2551). ทรัพยากรสารสนเทศด้านดนตรี ประเภทสื่อสิ่งพิมพ์และสื่อโสตทัศน์ (การสำรวจ รวบรวม และจัดหา). บริษัท ทรงสิทธิวรรณ จำกัด

สิปปวิชญ์ กิ่งแก้ว. (2559). วัฒนธรรมดนตรีพื้นบ้านไทยสี่ภาค. โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร พระราชวังสนามจันทร์.

สุกรี เจริญสุข. (2561). เสียงใหม่ในอุษาคเนย์. หยินหยางการพิมพ์.

อัครวัตร เชื่อมกลาง. (2561). การเรียบเรียงเสียงประสานเพลงพื้นบ้านอีสานในรูปแบบดนตรีคลาสสิก สำหรับวงแชมเบอร์. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-28